ทำความรู้จักกับ “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
(https://zeawleng.files.wordpress.com/2013/04/movie-film.jpg?w=620)
ในขณะที่ “พี่มาก.. พระโขนง” กำลังทำเงินมาแรงแซงทางโค้งไปเรื่อยๆ ล่าสุดก็ผ่านหลัก 500 ล้านไปแล้ว กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ท่ามกลางตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่เอง ก็คงทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมตัวเลขที่รายงานจึงต้องมีหมายเหตุว่า “เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่” เท่านั้น แล้วตัวเลขรายได้ในต่างจังหวัดละ และนี่ไม่ใช่แค่พี่มากเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ก็มักรายงานเฉพาะตัวเลขใน กทม. ปริมณฑล และเชียงใหม่เช่นกัน ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะในการดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ในไทยไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของผู้ผลิตและโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมีผู้จัดจำหน่ายหรือที่เราเรียกกันว่า “สายหนัง” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
สายหนังคืออะไร
สายหนัง ถ้าเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ “ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์” ถ้าเทียบง่ายๆ สายหนังก็ไม่ต่างจากยี่ปั๊วหรือพ่อค้าคนกลางที่รับสินค้าจากผู้ผลิตมาขายต่อให้ร้านค้าอีกทีหนึ่ง โดยสายหนังถือเป็นหนึ่งตัวละครสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซึ่งประกอบด้วย
- ผู้ผลิต
- ผู้จัดจำหน่าย
- โรงภาพยนตร์
ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองก็ได้ ตัดบทบาทของพ่อค้าคนกลางไป ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ลักษณะนี้ในไทยจะใช้กับในเขต กทม. เป็นหลัก โดยผู้ผลิตจะดีลกับโรงภาพยนตร์โดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันเป็นสัดส่วนที่แน่นอน (ส่วนใหญ่ก็ 50-50) คำนวณจากตั๋วที่ขายได้ ตัวเลขรายได้ก็จะสะท้อนความสำเร็จของภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง แต่ปัญหาคือการดีลโดยตรงก็เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ผลิตเช่นกัน เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ติดต่อเอง ผู้ผลิตยังต้องส่ง Checker ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนที่แจ้งมาจริงๆ หรือไม่ ซึ่งผู้ผลิตภาพยนตร์ในไทยเองก็ไม่ได้ทุนสูงขนาดนั้น จึงใช้ระบบดีลโดยตรงกันแค่ในเขต กทม. (และเชียงใหม่ที่เป็นเมืองใหญ่) เท่านั้น
ตรงนี้ทำให้สายหนังเข้ามามีบทบาท เพราะจะเป็นผู้รับหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้ผลิตไปขายต่อเองในต่างจังหวัด ลดภาระผู้ผลิตลงไป สำหรับเหตุที่เรียกว่าสายหนัง ก็เพราะผู้จัดจำหน่ายในต่างจังหวัดไม่ได้มีเพียงเจ้าเดียว แต่แบ่งออกไปตามภูมิภาคต่างๆ เป็นสายๆ ไป สายหนังแต่ละเจ้าจะมีเขตของตน ห้ามขายหนังข้ามเขตกัน ระบบสายหนังนี้มีมานานแล้ว (น่าจะตั้งแต่เริ่มมีการฉายภาพยนตร์ในเชิงพาณิชย์) ความที่อยู่มานานทำให้ระบบสายหนังมีลักษณะคล้ายสัมปทานและกึ่งผูกขาดไม่น้อย แถมยังมีอิทธิพลเยอะไม่น้อย โดยเฉพาะสมัยก่อนที่สายหนังบางเจ้ามีอำนาจในการกำหนดทิศทางภาพยนตร์ไทยไ์ด้ การตั้งชื่อภายพนตร์ก็ต้องตั้งให้ถูกใจสายหนัง หรือบางเรื่องถึงขนาดมีตอนจบที่ต่างจากการฉายใน กทม. เพื่อจูงใจให้สายหนังซื้อไปฉายให้ได้
สายหนังในไทยมีกี่สาย
สายหนังในไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 6 สาย ประกอบด้วย