ผู้เขียน หัวข้อ: หนังบู๊ไทย นอกจากจะนิยมตั้งชื่อที่เกี่ยวกับนักเลงแล้ว ชื่อที่เกี่ยวกับ เสือ สิงห  (อ่าน 2905 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
        หนังบู๊ไทย นอกจากจะนิยมตั้งชื่อที่เกี่ยวกับนักเลงแล้ว ชื่อที่เกี่ยวกับ เสือ สิงห์ ก็มีมากไม่น้อยหน้ากัน อาจเป็นเพราะบทพระเอกบางทีก็เป็นโจรที่ปล้นคนรวย ช่วยคนจน หรือไม่ชื่อพระเอกในหนังก็จะชื่อ เสือ หรือ สิงห์ไปเลย หรือไม่ก็จะเป็นฉายาที่ชาวบ้านร่ำลือถึงความเก่งกาจ เป็นต้น

        ผมลองไล่นับชื่อหนังไทยที่ชื่อหนังมีคำว่า เสือ รวมอยู่ในชื่อหนังตั้งแต่ปี 2501 – 2541 มีอยู่ประมาณ 89 เรื่อง (นี่ผมยังไม่อยากนับรวมหนังที่ใช้ชื่อว่า พยัคฆ์/สมิง หรือ ราชสีห์ อะไรทำนองนี้นะครับเพราะมีอยู่เยอะพอสมควรเหมือนกัน) โดยในปี 2527 มีหนังที่ใช้ชื่อเสือมาเกี่ยวข้องรวม 8 เรื่อง ตามมาด้วยปี 2520 ซึ่งเป็นยุคทองของหนังบู๊ไทย มีมากถึง 7 เรื่อง นอกนั้นจะเฉลี่ยปีละประมาณ 4-5 เรื่อง ถ้านับเฉพาะช่วงปี 2519 – 2524 มีหนังไทยที่ฮิตใช้ชื่อเสือรวมกันมากถึง 28 เรื่อง มีบางเรื่องที่เสือกับสิงห์มาอยู่ในชื่อหนังร่วมกัน เช่น สิงห์สาวเสือ/สองเสือใจสิงห์/เสือโค่นสิงห์ ซึ่งนับได้ว่ามีรวม 14 เรื่อง

        พระเอกที่แสดงนำในหนังที่ชื่อเสือ มากสุดคงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากน้าแอ๊ดสมบัติ เมทะนี แสดงรวม 26 เรื่อง ตามมาด้วยพี่เอก สรพงษ์ แสดงรวม 18 เรื่อง น้าเอ็ด กรุง ศรีวิไล ก็เล่นไปไม่น้อย 11 เรื่อง พระเอกมิตร ชัยบัญชาเล่นรวม 7 เรื่อง

        เพื่อนๆท่านใดหรือคุณมนัสฯกูรูผู้หยั่งรู้หนังไทย ถ้ามีข้อมูลเพิ่มเติมก็ช่วยเสริมได้เลยครับ คราวหน้าเราจะมาพูดถึงหนังที่เกี่ยวกับ สิงห์ดูบ้าง ว่าจะมีเยอะสู้หนังเรื่องเสือหรือไม่

เครดิตภาพ เว็บไทยฟิล์ม และ อินเตอร์เน็ต

ปี 2501 – ชาติเสือ(มิตร-เรวดี)/ทหารเสือกรมหลวงชุมพร(อมรา-พันคำ-ส.อาสนจินดา)/ลบลายเสือ(ประจวบ-พงษ์ลดา)/เสือซ่อนเล็บ
ปี 2502 – นางสิงห์เมืองเสือ(วิไลวรรณ)/รอยเสือ(สุรสิทธิ์-ลือชัย)/สิบทหารเสือ(อมรา-ทักษิณ)/ไอ้เสือมือเปล่า(สุรสิทธิ์-พิมพ์ใจ)
ปี 2503 – เสือเฒ่า(พันคำ-ลือชัย)
ปี 2504 – ศักดิ์ไอ้เสือ(สุรสิทธิ์-สมจิตต์)
ปี 2506 – กลางดงเสือ(ไชยา-เมตตา-ทักษิณ)/ล้างถิ่นเสือ(ชาย ชัชวาลย์-เมตตา)/ศึก 5 เสือ(ไชยา-ทักษิณ-อาคม-แมน)/เสือเก่า(พิศมัย-ชนะ)
ปี 2507 – เสือไม่ทิ้งลาย
ปี 2508 – เกียรติศักดิ์ทหารเสือ(ไชยา-พิศมัย-สมบัติ)/นางเสือดาว(แมน-ปรียา)/วังเสือ(มิตร-เพชรา)/ศึกเสือไทย(สมบัติ-โสภา-สุรสทธิ์)/เสือข้ามแดน(มิตร-เพชรา)
ปี 2509 – เสือสั่งถ้ำ(มิตร-เพชรา-ชนะ)/เสือเหลือง(มิตร-เพชรา-ทักษิณ)
ปี 2510 – 9 เสือ(มิตร-เพชรา)
ปี 2511 – ลูกชาติเสือ(มิตร-เพชรา)/สิงห์เหนือเสือใต้(เกชา-ไชยา)
ปี 2512 – พยัคฆ์เหนือ-เสืออีสาน-ยมบาลใต้(สมบัติ-อรัญญา-เกชา-ภาวนา)/เสือภูพาน(สมบัติ-อรัญญา)
ปี 2513 – สิงห์สาวเสือ(สมบัติ-อรัญญา)
ปี 2514 – สุภาพบุรุษเสือใบ(ครรชิต-เพชรา)/เสือขาว(สมบัติ-เพชรา)
ปี 2515 – แควเสือ(ครรชิต-สุทิศา-ชนะ)
ปี 2516 – เสือหยิ่งสิงห์ผยอง(ไพโรจน์-ปริศนา)
ปี 2518 – ชายชาติเสือ(นาท-กรุง-อรัญญา)/เสือพี่น้องสิงห์(ไพโรจน์-ศศิมา)
ปี 2519 – ชุมเสือ(กรุง-ทัศวรรณ-ไพโรจน์)/เมียเสือ(สมบัติ-อรัญญา)/สามสิงห์ดงเสือ(สมบัติ-ยอดชาย-ไพโรจน์)/เสือ 4 แคว(สมบัติ-กรุง-นัยนา)
ปี 2520 – เขี้ยวเสือเล็บสิงห์(สมบัติ-นาท-ไพโรจน์)/ทางเสือผ่าน(กรุง-นาท-สรพงษ์)/ศึก 5 เสือ(สมบัติ-อรัญญา-ครรชิต)/สองเสือใจสิงห์(กรุง-ชินอิจิ ชิบะ-เนาวรัตน์)/หน้าเนื้อใจเสือ(สมบัติ-ภาวนา-ไพโรจน์)/แหย่หนวดเสือ(สมบัติ-อรัญญา)/อีเสือ(กรุง-รุ้งลาวัลย์)/
ปี 2521 – พ่อเสือลูกสิงห์(กรุง-ไชยา-พิศมัย-เนาวรัตน์)/ลบลายเสือ(สมบัติ-อรัญญา)/เสือ สิงห์ กระทิง แรด(กรุง-พิศมัย)/เสือเผ่น(กรุง-สรพงษ์-ไพโรจน์)
ปี 2522 – พี่น้องสองเสือ(สมบัติ-ไชยยัณห์)/เสือภูเขา(สรพงษ์-จารุณี)/เสือสะเออะปล้น(สมบัติ-นัยนา)/อยู่อย่างเสือ(สรพงษ์-นาท-ลลนา)/สุภาพบุรุษเสือไทย(สมบัติ/รสลิน)
ปี 2523 – ชายชาติเสือ(สมบัติ-นันทนา-ไพโรจน์)/ด่านเสือเต้น(สมบัติ-นาท-ปิยะมาศ)/บ้านหนองเสือ(ปฐมพงศ์-นันทนา)/มันมือเสือ(สรพงษ์-นาท-จารุณี)/เสือน้อย(สมบัติ-สรพงษ์-เนาวรัตน์)
ปี 2524 – สามเสือสุพรรณ(สรพงษ์-พิศาล-ไกรสร)/เสือมังกร(สรพงษ์-มนตรี-เนาวรัตน์)/เสือเฒ่า สิงห์หนุ่ม(สมบัติ-วาสนา)/เสือโค่นสิงห์(สมบัติ-ลักษณ์-เนาวรัตน์)
ปี 2525 – พระเจ้าเสือ พันท้ายนรสิงห์(สมบัติ-สรพงษ์-พิศมัย)
ปี 2526 – เกียรติศักดิ์ทหารเสือ(ทูน-โกวิทย์-อนุสรณ์)/คำสั่งเสือ(สรพงษ์-สมบัติ-นาท)/
ปี 2527 – ครูเสือ(พิศาล-สุพรรษา)/ผู้ใหญ่สิงห์ กำนันเสือ(สมบัติ-ทูน-สินจัย)/เสือกัดสิงห์(ล็อต๊อก-สมพงษ์)/เสือตกถัง(ดี๋-พรพรรณ)/เสือลากหาง(สรพงษ์-เนาวรัตน์)/เสือล่าสิงห์(ทูน-อภิรดี-ทวนธน)/เสือไบ(ไชยยัณห์-สมบัติ)/อีเสือเทียน(สรพงษ์-นรีรัตน์)
ปี 2528 – ทับพญาเสือ(สรพงษ์-สมบัติ-กรุง)/นางเสือดาว(วรรณวิษา-ยุรนันท์)/เหยียบถิ่นเสือ(ไชยยัณห์-พัชนี)/หักด่านเสือ(สรพงษ์-นีรนุช-นาท)
ปี 2529 – เสือภูพาน(สรพงษ์-กรุง)
ปี 2530 – ฉลามเสือวังตะเพียน(ฉัตรชัย-นรีรัตน์)/รอยเสือ(สรพงษ์-อภิชาติ)
ปี 2531 – ดงพญาเสือ(สรพงษ์-ไชยยัณห์)
ปี 2532 – เหยียบเสือท้าสิงห์(สรพงษ์-ไชยยัณห์)
ปี 2533 - อาถรรพ์เสือสมิง(พันนา)
ปี 2534 - สิงห์เหนือเสืออีสาน(พันนา)
ปี 2536 - ยอดคนเสือภูเขา(พันนา)
ปี 2537 - กำนันเสือบางนกแขวก(สรพงษ์)/เสือล่าเสือ(ลิขิต-พันนา)
ปี 2541- เสือ โจรพันธ์ุเสือ(อำพล-ดอม)


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
เท่าที่อ่านมาทั้งหมดที่หนังไทยที่กับ เสือ ดูยังไม่หมดและยังที่ไม่ใด้ดูหลายเรื่องครับ
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
       จากกระทู้ที่แล้ว รวมหนังไทยที่มีคำว่า “เสือ” และ “สิงห์” เกือบ 150 เรื่อง เป็นบทสรุปของรายชื่อหนังไทย โดยเฉพาะหนังบู๊ แอ็กชั่น ซึ่งนิยมสร้างกันมากโดยที่เสือ เอาชนะสิงห์ไปแบบหายห่วง แต่ยังคงมีหนังไทยอีกบางส่วนที่ไม่ได้ใช้ 2 ชื่อนี้ แต่ความหมายเหมือนกัน นั่นคือ พยัคฆ์/สมิง (หมายถึงเสือ) และ ราชสีห์ (หมายถึงสิงห์) เราจึงขอเก็บตกหนังไทยที่มี 3 ชื่อนี้รวมอยู่ในชื่อหนัง เพื่อให้ไตรภาคเสือสิงห์จบลงโดยสมบูรณ์

       ผมลองไล่นับชื่อหนังไทยที่ชื่อหนังมีคำว่า “พยัคฆ์/สมิง หรือ ราชสีห์” รวมอยู่ในชื่อหนังตั้งแต่ปี 2501 – 2535 มีอยู่ประมาณ 52 เรื่อง (เยอะเหมือนกันแฮะ) โดย ปี 2526 ยุคทองของพี่เอก สรพงษ์ และพี่บ๊อบบี้ ทูน หิรัญทรัพย์ มีหนังที่ใช้ชื่อพยัคฆ์และราชสีห์มากที่สุด รวม 8 เรื่อง นำทัพมาโดยหนังดังอย่าง “พยัคฆ์ยี่เก” ตามมาด้วยปี 2507 และ 2510 ซึ่งเป็นยุคของพระเอกมิตร ชัยบัญชา ปีละ 4 เรื่อง โดยที่หนังที่ใช้ชื่อ พยัคฆ์ นำโด่งมาด้วยจำนวน 33 เรื่อง ตามด้วยสมิง 14 เรื่อง และ ราชสีห์รวม 5 เรื่อง มีหนังเรื่อง “สมิงบ้านไร่” และ “สมิงจ้าวท่า” ที่มีการสร้างเรื่องละ 2 ครั้ง เป็นที่น่าสังเกตว่ายุคทองของหนังบู๊ไทยในช่วงปี 2518-2522 กลับไม่ค่อยใช้คำเหล่านี้กับชื่อหนัง โดยนับรวมกันได้เพียง 6 เรื่องเท่านั้น

       พระเอกที่แสดงนำมากสุดยังคงเป็นแชมป์หน้าเดิม (แชมป์ 3 สถาบันเลยนะนี่) นั่นคือน้าแอ๊ดสมบัติ เมทะนี แสดงรวม 15 เรื่อง เป็นพระเอกคนเดียวที่แสดงในหนังครบทั้ง 3 ชื่อ (แยกเป็น พยัคฆ์ 9 เรื่อง สมิง และ ราชสีห์ อย่างละ 3 เรื่อง) ตามมาด้วย พี่เอก สรพงษ์ แสดงรวม 12 เรื่อง (พยัคฆ์ 11 เรื่อง/ราชสีห์ 1 เรื่อง) ตามมาติดๆพระเอกมิตร ชัยบัญชา แสดงรวม 10 เรื่อง(พยัคฆ์ 4 เรื่อง และสมิง 6 เรื่อง) กรุง-ทูน และ พันนา เล่นคนละ 4 เรื่อง แต่ถ้าแยกตามชื่อฉายา พี่เอกสรพงษ์ คือ โคตรพยัคฆ์หรือหมายถึง เป็นพระเอกที่แสดงหนังชื่อพยัคฆ์มากที่สุด มิตร ชัยบัญชา คือจ้าวสมิงตัวจริง ส่วนน้าแอ็ดสมบัติ คือ จ้าวแห่งราชสีห์

       รวมชื่อหนังไทย เสือ-สิงห์-พยัคฆ์-สมิง-ราชสีห์ ทั้งหมดกว่า 200 เรื่องเลยทีเดียว เป็นอันว่าจบไตรภาคกระทู้ชื่อหนังไทยตระกูลเจ้าป่าดงพงไพร โดยสมบูรณ์แบบแล้วนะครับ คอยตามดูกันต่อว่าเราจะมาเก็บสถิติหนังไทยประเภทไหนกันต่อไปครับ

เครดิตภาพใบปิด เว็บไทยฟิล์ม และ อินเตอร์เน็ต

ปี 2502 – ชาติสมิง(อมรา-สุรสิทธิ์)
ปี 2506 – 7 สมิง(ประจวบ-ทักษิณ-พันคำ)/สมิงสาว(รัตนาภรณ์-สมบัติ)/นางสมิงพราย(มิตร-ปรียา)
ปี 2507 – จ้าวพยัคฆ์(สมบัติ-เพชรา-ชนะ)/ยอดรักพยัคฆ์ร้าย(ลือชัย-ทักษิณ)/ราชสีห์กรุง(สมบัติ-รสลิน-ชนะ)/สมิงบ้านไร่(มิตร-เพชรา-ประจวบ)
ปี 2508 – 5 พยัคฆ์ร้าย(มิตร-เพชรา-สมบัติ-ชนะ)/ลูกพยัคฆ์(เสกสรร สัตยา)
ปี 2509 – 4 สมิง(มิตร-เพชรา-สุรสิทธิ์)
ปี 2510 – 5 พยัคฆ์สาว(มิตร-เพชรา-สุรสิทธิ์)/พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร(มิตร-รักชนก)/พยัคฆ์เดี่ยว(สมบัติ-กรุณา)/สาวจ้าวสมิง(มิตร-เพชรา-แมน)
ปี 2511 – สมิงดง(มิตร-เพชรา)
ปี 2512 – พยัคฆ์เหนือ-เสืออิสาน-ยมบาลใต้(สมบัติ-อรัญญา-เกชา-ภาวนา)/สมิงจ้าวท่า(มิตร-เพชรา)
ปี 2513 – 2 สิงห์จ้าวพยัคฆ์(มิตร-อรัญญา-ลือชัย)
ปี 2515 – เพลงรักพยัคฆ์สาว(สมบัติ-ปริศนา)
ปี 2516 – 2 ชาติสมิง(ไพโรจน์-กรุง-ภาวนา)/เขาสมิง(อุเทน-ภาวนา)/พยัคฆ์พันลาย(สมบัติ-เพชรา)
ปี 2518 – พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ(สมบัติ-อรัญญา-ไพโรจน์)/สาวเจ้าพยัคฆ์(สรพงษ์-สุริยา-ศศิมา)/หัวใจราชสีห์(สมบัติ-อรัญญา)
ปี 2520 – 9 พยัคฆ์ราช(กรุง-ยอดชาย-อุเทน-ภาวนา)/ราชสีห์ดง(สมบัติ-อรัญญา-ไพโรจน์-เนาวรัตน์)
ปี 2522 – สมิงบ้านไร่(สมบัติ-ปิยะมาศ)
ปี 2523 – 2 พยัคฆ์(สรพงษ์-จารุณี)/สิงห์จ้าวพยัคฆ์(ไชยยัณห์-สุพรรษา)
ปี 2525 – พยัคฆ์ร้าย 6 แผ่นดิน(สรพงษ์-เนาวรัตน์-เยิ่นต๊ะหัว-ว่านจื่อเหลียง)/สมิงจ้าวท่า(ทูน-สมบัติ-เนาวรัตน์-สุพรรษา-อรัญญา-พิศมัย)
ปี 2526 – พยัคฆ์ยี่เก(สรพงษ์-เดวิดเจียง-ฉีเส้าเฉียน)/พยัคฆ์ทมิฬ(สรพงษ์-อภิรดี-นาท)/พยัคฆ์ร้าย191(ทูน-จารุณี-ทวนธน)/พยัคฆ์สาวใจเพชร(ทูน-สาวิตรี)/ยอดพยัคฆ์นักเพลง(สรพงษ์-มล.สุรีวัลย์)/ลูบคมพยัคฆ์(สรพงษ์-นันทิดา)/ล่าพยัคฆ์(ทูน-สมบัติ-นาท)/สัญชาติราชสีห์(สรพงษ์-สินจัย-กรุง-อุเทน)
ปี 2528 – หกสี่เอี่ยว พยัคฆ์เหนือเมฆ(สรพงษ์-นีรนุช-รณ)
ปี 2530 – พยัคฆ์ร้ายสวาท60(สรพงษ์-นาถยา)/พยัคฆ์สาวเนื้อทอง
ปี 2531 – พยัคฆ์นางพญา(ยุรนันท์-ธิดา)/เพชรพยัคฆราช(สรพงษ์-สมบัติ-กรุง)/ราชสีห์หน้าเซ่อ(พร้อมพงษ์-อภิชาติ)
ปี 2532 – สมิงดงดิบ(บิณฑ์-พันนา)/พยัคฆ์ภูพาน(สรพงษ์-มาริษา)
ปี 2533 – พยัคฆ์สาวเห่าไฟ(สามารถ-พิมพิไล)/อาถรรพ์เสือสมิง(พันนา-แพรว)
ปี 2534 – พยัคฆ์ภูผา(สามารถ-พันนา)/พยัคฆ์ร้ายเชี่ยงชุน(พันนา-บิณฑ์)
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..