ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพวาดหนังที่ลงโรงฉายตั้งหน้าโรงหนังบอกเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับหนังไทย  (อ่าน 509 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
      สวัสดีครับ..ภาพซ้ายมือ.. เป็นภาพถ่ายที่นายเจริญ สาดา อยู่จังหวัดขอนแก่น นำภาพมาโพสไว้ที่เฟซบุ๊กของผม แต่ว่าเฟซบุ๊กนั้น ผมไม่ได้เขียนเรื่องราวอะไรเกี่ยวกับหนังไทย ผมก็เลยย้ายภาพมาไว้รวมกันที่เฟซบุ๊ก "กลุ่มชุมทางหนังไทยในอดีต" ซึ่งผมเขียนประจำแทน.. อาจารย์เจริญบอกว่า เป็นโรงหนังขอนแก่นภาพยนตร์ ขณะกำลังฉายเรื่อง จอมโจรมเหศวร มิตร-เพชรา ครับ ภาพวาดมิตรใหญ่ๆ นั้นก็เกี่ยวกับอาจารย์และเพื่อนๆ เพราะเป็นคนวาดครับ.. พวกเราเห็นหน้าโรงหนังเก่าๆ แบบนี้ จะคิดถึงอะไรบ้างครับ.. ส่วนภาพขวามือ เป็นภาพจากหน้าปกหนังสือบันเทิงสมัยก่อน ลงภาพ มิตร-เพชรา ดาราคู่ขวัญที่คนดูสมัยนั้นชื่นชอบกันมากๆ ..

 ผมชอบบรรยากาศโรงหนังสมัยก่อนครับ จะมีภาพวาดหนังที่ลงโรงฉายตั้งหน้าโรงหนังแบบในภาพ แล้วก็จะมีรายชื่อหนังโปรแกรมถัดๆไปที่รอลงโรงฉาย ติดอยู่ด้านข้าง ผมชอบเดินผ่านหน้าโรงหนังบ่อยๆครับ คอยมาดูว่าจะมีหนังอะไรเข้า ดาราคนไหนแสดงนำ ชอบเดินไปดู ไปเตร่ๆ แถวๆ หน้าโรงหนัง บางครั้งก็ฟลุ๊คมีผู้ใหญ่พาเข้าดูหนังฟรีๆ

ภาพที่อาจารย์เจริญ โพสไว้ครับ สมัยนั้น หนังเรื่องไหนเต็งๆ ดังๆ เขามักจะวาดภาพคัทเอ๊าท์ใหญ่ๆ ครับ  ภาพวาดหน้าโรงหนังหรือป้ายคัทเอ๊าท์ขนาดใหญ่ๆ แบบนี้นั้น เชื่อว่า มีการทำไว้เกือบทุกๆ โรง..แล้วแต่หน้าหนังว่า ดังหรือไม่ดังด้วยครับ.. เพียงแต่ว่า ตอนนั้นยังไม่มีใครคิดถ่ายภาพไว้นะครับ ภาพนี้อาจารย์เจริญท่านคิดถ่ายภาพไว้ เราจึงได้มีโอกาสย้อนไปเห็นนะครับ..

อาจารย์เจริญเขียนเล่าเรื่องโรงหนังตามภาพข้างบนไว้ดังนี้ครับ... สร้างพ.ศ.2501และฉายมาถึง 2520 เปลี่ยนเจ้าของเป็น โรงหนังร่วมจิตร ถึงพ.ศ.2530 เลิกกิจการ ปัจจุบันดัดแปลงเป็นอาพาทเม้นท์ อยู่ถนนศรีจันทร์ มีอีกโรงชื่อ บันเทิงจิต ถนนเดียวกัน รับหนังสายวัชร เมือ พ.ศ.2506 ผมไปดูชั้น1 ราคา 7บาท 5บาท 4บาท รับหนังสายเฉลิมไทยจากโคราช ผมไปอยู่ 2513 -14 เขียนทั้งรูปและหนังสืออยู่ 2 คนกับพี่กุ้ง ช่างวาดคนเก่า สมัยนั้นนอกจากฉายหนังแล้ว ยังมีวงดนตรีหลายคณะ มีบ่อยมากมาสลับวันฉาย เวลาแห่หนังรอบค่ำ ผมจะว่างไปประกาศโฆษณา ต่อมาก็เกิดโรงหนังอื่นๆ เช่น รามา 2510, ราชา, เจ้าพระยา, สยาม, แก่นคำ, ปริ้น, แองการา (บันเทิงจิตเดิม) ชาญเธียเตอร์ สร้างได้ 70% เลิกสร้าง ผมก็ไปช่วยเขาวาดเกือบทุกโรงแหละครับ อาศัยดูหนังฟรี ผมถนัดวาดสีน้ำมากกว่า... ลุงเกิดทัน ก็เลยเคยได้เห็นบ้าง..ตอนเด็กๆ ชอบไปดูช่างวาดเขาวาดด้วย ตอนเด็กๆ ก็อยากจะเป็นช่างวาดรูปเหมือนกัน แต่มือไม่ถึง วาดไม่สวย





"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..