ผู้เขียน หัวข้อ: 6 มกราคม 2562 ร่วมไว้อาลัย สอาด เปี่ยมพงษ์สานติ์  (อ่าน 209 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
RIP. สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์
เสียชีวิตแล้ว ด้วยโรคหัวใจ ในวัย 86ปี
เมื่อเวลา 08.04 น. ของวันที่ 6 มกราคม

         6 ม.ค.62 -วงการบันเทิงสูญเสีย สะอาด เปี่ยมพงศ์สานต์ นักแสดงอาวุโส ผู้กำกับฯ นักพากย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (โทรทัศน์-ภาพยนตร์) ประจำปี พ.ศ.2557 เสียชีวิตแล้ว เมื่อเวลา 08.04 น. ของวันที่ 6 มกราคม เนื่องจากหัวใจล้มเหลว หลังเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลวชิระตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 สิริรวมอายุ 88 ปี

         ศพตั้งที่ วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน ศาลา กุฏิ 2000 ฝั่งเจดีย์ ส่วนกำหนดรดน้ำศพ อยู่ระหว่างติดต่อขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบต่อไป

         สอาด มีชื่อเล่นว่า เล็ก เกิดที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เรียนจบชั้น ม.6 จากโรงเรียนบพิตรพิมุข สอบเทียบชั้น ม. 8 ได้ทุนไปเรียนต่อด้านภาพยนตร์และโทรทัศน์ที่ประเทศญี่ปุ่น เริ่มเข้าทำงานเมื่อปี 2496 โดยการชักชวนของคุณจำนงค์ รังสิกุล ให้เป็นพนักงานจัดรายการของสถานีโทรทัศน์ ช่อง 4 บางขุนพรหม เริ่มแสดงละครโทรทัศน์ครั้งแรกเมื่อปี 2498 ในเรื่อง ดึกเสียแล้ว ของ คณะชื่นชุมนุมศิลปิน จากนั้นก็มีผลงานละครโทรทัศน์เป็นที่รู้จักมากมายโดยเฉพาะในบทบาท “ผู้ร้ายผู้ดี” ซึ่งระหว่างนั้น สอาดก็ยังพากย์หนังทีวี แปลบทพากย์ เขียนบทโทรทัศน์และยังได้กำกับการแสดงละครอีกด้วย

         เพราะความมีชื่อเสียงอย่างมากในวงการแสดงโทรทัศน์ ทำให้ “ภาพยนตร์ไทยไตรมิตร” ของ คุณแท้ ประกาศวุฒิสาร นำสอาดมาแสดงภาพยนตร์จอเงินเป็นครั้งแรกในเรื่อง เจ้าหญิง (สมบัติ-อรัญญา) ในบทบาท “หลวงสรเดชฯ” ซึ่งสอาดก็ไม่ทำให้แฟนภาพยนตร์ผิดหวัง เจ้าหญิง เข้าฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2512 ที่โรงหนังเอ็มไพร์ จากนั้นชื่อของสอาด ก็ปรากฏในภาพยนตร์อีกหลายเรื่องเช่น ปราสาททราย (2512 มิตร-เพชรา) โทน (2513 ไชยา-อรัญญา) วิมานสีทอง (2514 ไชยา-เพชรา) แม่ศรีไพร (2514 นาท-เพชรา) แก้วขนเหล็ก (2514 ครรชิต-เพชรา) มนต์กากี (2515 สมบัติ-เพชรา) เจ้าลอย (2515 สมบัติ-อรัญญา) น้ำผึ้งพระจันทร์ (2515 สมบัติ-เพชรา) หัวใจป่า (2515 นาท-เพชรา) รักต้องห้าม (2515 สมบัติ-พิศมัย) ลูกชู้ (2515 ไพโรจน์-สุทิศา) กล้าสิบทิศ (2515 ครรชิต-เพชรา) ยอดหญิง (2515 สมบัติ-ลักษมี) แม่อายสะอื้น (2515 สมบัติ-ทัศน์วรรณ) คุ้มนางฟ้า (2515 ครรชิต-เพชรา) ดรุณีผีสิง (2516 ไพโรจน์-สุทิศา) กุหลาบไฟ (2516 ครรชิต-เพชรา) มารรัก (2516 ไพโรจน์-มยุรฉัตร) บ้า (2516 สมบัติ-พิศมัย) แก้วตาขวัญใจ (2516 สมบัติ-อรัญญา) อีสาน (2517 สมบัติ-เพชรา) ทุ่งใหญ่อินทนนท์ (2517 สมบัติ-อรัญญา) มัจจุราชสีน้ำผึ้ง (2517 สมบัติ-พิศมัย) อย่ารักฉัน (2517 สมบัติ-อรัญญา) ตลาดอารมณ์ (2517 สมบัติ-อรัญญา)

         บทบาทของสอาดที่ปรากฏในภาพยนตร์นั้น มักจะเป็นบทดาวร้ายมาดผู้ดีซึ่งเวลาร้ายก็จะร้ายสุดๆ ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล แห่งอัศวินภาพยนตร์ จะสร้างเรื่อง “น้ำผึ้งขม” ซึ่งต้องใช้พระเอกที่มีอายุมาก รูปร่างหน้าตาไม่ถึงกับจะต้องหล่อ แต่ออกจะดูห้าวๆ สักหน่อย แถมบางครั้งยังต้องกักขฬะและดุดัน ตามคาเรตเตอร์ของ “ปุริม พิษณุการ” ซึ่งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล ก็เลือกสอาดให้รับบทนี้ แม้จะมีเสียงท้วงว่า “เอาผู้ร้ายมาเป็นพระเอก” แต่เพื่อความสมจริง ไม่หลอกคนดู สอาดจึงได้เป็นพระเอกภาพยนตร์ครั้งแรกและแสดงคู่กับนางเอกหน้าใหม่ นฤมล นิลวรรณ ซึ่งต่อมากลายเป็นตำนาน “น้ำผึ้งขม..ที่แสนหวาน”

         น้ำผึ้งขม นำแสดงโดย นฤมล นิลวรรณ-สอาด เปี่ยมพงษ์สานต์-สุทิศา-บุศรา-ภัทราวดี-อมรา-สายัณห์ บทประพันธ์ของ กฤษณา อโศกสิน เข้าฉายเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2517 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมไทย แต่สำหรับผู้สร้างทั่วไป ก็ยังยินดีที่จะเห็นสอาดในบทผู้ร้ายผู้ดีมากกว่า ทำให้สอาดมีผลงานภาพยนตร์ในลักษณะนั้นเรื่อยมา เช่นเรื่อง เหยื่ออารมณ์ (2518 กรุง-อรัญญา) จำเลยสวาท (2518 สมบัติ-อรัญญา) ลูกผู้ชาย (2518 กรุง-ไพโรจน์) พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ (2518 สมบัติ-อรัญญา) เผ็ด (2518 สมบัติ-อรัญญา) นางเอก (2518 นาท-ภัทราวดี) ขุนศึก (2519 สมบัติ-นัยนา) สุดขอบฟ้า (2519 กรุง-นฤมล) ขยะ (2519 กรุง-นัยนา) ชะตาชีวิต (2519 ยอดชาย-เพชรา) เสือกเกิดมาจน (2519 กรุง-นัยนา) ลุย (2520 สมบัติ-สรพงศ์) ห้าแฉก (2520 กรุง-นาท) ลูกขวาน (2520 สมบัติ-อรัญญา) แหกค่ายนรกเดียนเบียนฟู (2520 สมบัติ-นาท) ขยี้มือปืน (2520 กรุง-ไชยา) สามร้อยยอด (2521 กรุง-สรพงศ์) เขาใหญ่ (2521 กรุง-สรพงศ์) มันส์เขาละ (2521 สมบัติ-นัยนา) ฆ่าอย่างเดียว (2521 สมบัติ-อรัญญา) นักล่าผาทอง (2521 กรุง-สรพงศ์) ตลกร้องไห้ (2522 ล้อต๊อก-นิภาพร) สายทิพย์ (2522 นันทนา-ปฐมพงศ์) พี่น้องสองเสือ (2522 สมบัติ-ไชยยัณห์) ผ่าปืน (2523 สมบัติ-เนาวรัตน์) 2 พยัคฆ์ (2523 สรพงศ์-จารุณี) ดอกแก้ว (2523 สรพงศ์-สุพรรษา) สนับมือ (2524 สรพงศ์-พิศาล) ผีตาโบ๋ (2524 พอเจตน์-เนาวรัตน์)ขังแดง (2524 สรพงศ์-นิดา) อินทรีบ้านดอน (2525 สรพงศ์-นาท) 4 คิงส์ (2525 สรพงศ์-พอเจตน์) นักฆ่าขนตางอน (2525 สรพงศ์-หมีเซียะ) เกียรติศักดิ์ทหารเสือ (2526 ทูน-สุดารัตน์) นักเลงตราควาย (2526 สรพงศ์-มนฤดี)ผู้ใหญ่บ้านกลองยาว (2526 ทูน-เนาวรัตน์) ดวงนักเลง (2526 สรพงศ์-พิศาล) อีสาวบ้านไร่ (2526 สรพงศ์-ปิยะมาศ)เพชรตัดเพชร (2527 สรพงศ์-โกวิท) เสือลากหาง (2527 สรพงศ์-เนาวรัตน์) 100 เสน่หา (2527 สรพงศ์-ลินดา) นักร้องปืนโหด (2528 สายัณห์-นันทิดา) พ่อจอมยวน แม่จอมยุ่ง (2529 จินตหรา-ธเนศ) สะพานรักสารสิน (2530 จินตหรา-รอน) อย่าบอกว่าเธอบาป (2530 ศรันยู-สินจัย) ยิ้มนิดคิดเท่าไร (2532 สันติสุข-จินตหรา) สุริโยไท (2544) ชื่อชอบ ชวนหาเรื่อง (2546 สิทธา-ดาราวัลย์) ความสุขของกะทิ (2552) นาคปรก (2553) ฯลฯ

         นอกจากนี้ สอาด เคยเป็นผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง มารรัก (2516 ไพโรจน์-มยุรฉัตร) ฆ่าอย่างเดียว (2521 สมบัติ-อรัญญา) ปี 2523 สอาดได้รับรางวัลสุพรรณหงส์เงินบทต่อสู้ดีเด่น จากเรื่อง ผ่าปืน ปี 2530 ได้รับรางวัลสุพรรณหงส์ผู้แสดงประกอบชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง สะพานรักสารสิน


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..