ผู้เขียน หัวข้อ: บทสัมภาษณ์, “มนัส กิ่งจันทร์ จากฝันกลางแปลงถึงวันเกษียณที่หอภาพยนตร์”  (อ่าน 151 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
         ได้อ่านบทสัมภาษณ์, “มนัส กิ่งจันทร์ จากฝันกลางแปลงถึงวันเกษียณที่หอภาพยนตร์” โดยพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู ใน จดหมายข่าวหอภาพยนตร์ ปีที่ ๑๒  ฉบับที่ ๗๑ กันยายน-ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๕ หน้า ๑๒-๑๓ และ จากผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการสู่นักจดหมายเหตุ, “สำหรับคนที่ชอบหนังจริงๆ เวลาเราขัดข้องหมองใจในการทำงานเรามาดูหนัง มันจะทำให้เราลืมทุกข์เพราะมันเป็นเรื่อวการปลดทุกข์ของเรา” จากคนที่ชอบหนังจริงๆคนหนึ่ง เคยหนีโรงเรียนไปดูหนังเรื่อง ซาโยนาระ (๒๕๑๒) รอบบ่าย และเคยหนีไม่ได้บอกพ่อว่าไปดูหนังรอบค่ำ เรื่องศึกบางระจัน (๒๕๐๙) รอบแรก


"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2815
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
          ผู้ที่ชื่นชอบหนังไทยหลายคนคงคุ้นเคยกับ มนัส กิ่งจันทร์ ผู้รอบรู้เรื่องหนังไทยอย่างหาตัวจับได้ยาก และถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ในชื่อชุด "ชุมทางหนังไทยในอดีต" มายาวนาน ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่มนัสได้เกษียณอายุจากการทำงานที่หอภาพยนตร์(องค์การมหาชน) นับเป็นเจ้าหน้าที่คนแรกที่อยู่จนครบวาระดังกล่าว
จดหมายข่าวฯ ฉบับนี้จึงชวน "พี่มนัส" ของซาวหอภาพยนตร์ นั่งคุยกันในชั่วโมงสุดท้ายของการทำงาน เพื่อรำลึกความหลัง รวมทั้งฝากข้อความถึงคนที่ยังต้องขับเคลื่อนหอภาพยนตร์ต่อไปในอนาคต

จุดเริ่มต้นที่ทำให้ชอบหนังไทย

          จริง ๆ มันก็ไม่รู้ตัวว่าชอบตอนไหน เกิดมาพอจำความได้ ตั้งแต่เป็นเด็กอยู่ที่สุรินทร์ ก็ดูหนังกลางแปลงเป็นหลัก มันเป็นมหรสพอย่างเดียวที่มีอยู่ ลิเกเราก็ไม่ชอบดู หนังกลางแปลงมันเป็นสิ่งที่ทันสมัยที่สุดในความคิดเรา สมัยนั้นทีวีไม่มี บ้านเราไม่มีไฟฟ้า ฉะนั้นเมื่อหนังกลางแปลงมา มีเสียงลำโพงดัง เราดูแล้วก็เลยชอบ

เคยฝันถึงการทำงานเกี่ยวกับหนังบ้างไหม

          อยากเป็นคนฉายหนังไง คอยเก็บเศษฟิล์มหนังมาทำเครื่องสไลด์ประดิษฐ์เครื่องฉายหนัง ๘ มม. เองจากไอ้ที่เขาส่องดูฟิล์ม ๘ มม. แล้วมีเพื่อนเราที่พ่อทำบริการสมยศภาพยนตร์ที่สุรินทร์มาชวนไปฉายหนัง เราก็เลยตามเขาไปฉายหนังกลางแปลงตั้งแต่ ม.ศ.๓ ช่วงปิดเทอมก็ไปกับเขาเลย เขาไปเร่กัน

          ผมหัดตั้งแต่ตั้งจอหนัง ทำทุกอย่าง มาตำแหน่งสุดท้ายคือเป็นโฆษกที่ฝันที่สุด คืออยากเป็นนักพากย์หนัง แต่โทนเสียงมันยังเด็ก เราก็ได้แค่ฝันแล้วก็ฝันว่าถ้าเราเรียนจบแล้วจะไปตั้งหน่วยหนังกลางแปลง แต่พอเราเข้ากรุงเทพฯ มาเรียนกฎหมายที่รามคำแหง ปี ๒๕๒๔ พอปี ๒๕๒๗ วิดีโอมันบูมเพื่อนก็บอกว่าวิดีโอมันตีหนังกลางแปลงจนอยู่ไม่ได้แล้ว

ทำไมถึงเลือกเรียนกฎหมาย

          ทีแรกเราเลือกคณะศึกษาศาสตร์ แต่พี่เขยที่เรามาอาศัยเขาอยู่ด้วยบอกว่าบ้านเอ็งเป็นครูเยอะแล้ว เราเลยเลือกนิติศาสตร์ เพราะมันใช้อุปกรณ์น้อยที่สุดคือประมวลกฎหมายเล่มเตี่ยว เรียนไปเพราะว่าต้องการเรียนแค่ให้
มันจบ ไม่ได้อยากเป็นอะไรหรอก แต่พอจบแล้วก็มาเป็นทนายความ

เริ่มสะสมหนังไทยตอนไหน

          ประมาณปี ๒๕๒๗ ที่เริ่มเป็นทนาย ก็สะสมวิดีโอ ระหว่างนี้ก็สะสมหนังสือดาราสมัยก่อนไปด้วย ตามซื้อจากตลาดของเก่าบ้าง ขอเพื่อนบ้างหอสมุดแห่งชาติก็เคยไปถ่ายสำเนามา เพื่ออ่านเรื่องย่อ ทบทวนความจำเพราะหนังทุกเรื่องเราดูมันตั้งแต่เด็กกันหมดแล้วไง แต่เราลืมมันแต่ก่อนผมทำบัญชี ว่าเรามีหนังเรื่องนี้ ปีอะไร แล้วตอนที่ผมมาเจอคุณโดมที่หอภาพยนตร์ครั้งแรก ผมยื่นบัญชีให้คุณโดมดู คุณโดมตกใจ

มารู้จักหอภาพยนตร์ได้อย่างไร

          ผมมากรุงเทพา ได้สักพัก ก็รู้ว่ามีทอกาพยนตร์แล้ว อยู่ที่ถพนเจ้าฟ้า แต่ไม่เคยมา เขาจะพูดกันจำทอภาทยนตร์มีหนังไทยทุกเรื่อง
ไปคลองถมเขาก็บอก ผมไม่กล้ามาเพราะว่าเราทำงาน เวลาไม่ตรงกันพอทอกาพยนตร์ฉายหนังตอนงาน ด00 ปี ภาพยนตร์ไทย น่าจะปี ๒๕๔o
มีการพิมพ์โรเนียวแจกรายชื่อหนัง มันก็มาถึงเรา ผมก็โทรมาถามข้ดมูล เช่นเพชรตัดเพชร ที่จายพี่รุ่นสรพงค์หรือรุ่นมิตร ตอบนั้น สำนักงานทนายความ
ผมอยู่ตรงท่าช้าง เลิกงานแล้วผมก็ไม่กลับบ้าน ไปดูหนังที่เราไม่มีให้เขาฉ่ายฟิล์มหมดเลย ที่โรงหนังยลังการ เจ้าฟ้า จะมีคนดูที่เป็นแก๊ง
หอภาพยนตร์ เวลาพวกนี้เขายืนคุยกัน ผมจะชอบไปยืนข้าง ๆ อยากรู้เขาคุยเรื่องหนังอะไร เพราะเราชอบฟัง

          พอหอภาพยนตร์ย้ายมาที่ศาลายา ก็ถูกชักชวนให้มา เราก็ไม่เคยอยากมา มันไกล จนสุดท้ายจริง ๆ ที่เขาเอาหนังที่เราอยากดูมาถายไกลขนาดไหนก็ไปเถอะวะ ต้องห่อข้าวมากินต่อมา พอคุณโดมแกเริ่มรู้จักผมแล้ว แกบอกว่ามีความรู้อย่างนี้ไปนั่งตอบกระทู้คนที่ถามในเว็บบอร์คไทยฟิล์มของมูลนิธิหนังไทยดีกว่าเขาคุยเรื่องหนังเก่ากัน แกก็สอนเรา ผมเลยเขียนที่เว็บไทยฟิล์ม จนมีหนังสือเขาเห็น ก็เลยชวนไปเขียน มี Cinemax เขียนอยู่หลายปี แล้วก็ Fitm & Stars หนังสือพิมพ์อีกตั้งเยอะ จำชื่อไม่ได้

แล้วมาทำประจำที่หอภาพยนตร์ได้อย่างไร

          คือหลังจากนั้นเราก็มาที่ศาลายาตลอด บางทีก็เสาร์ บางทีก็อาทิตย์แล้วแต่กิจกรรม พอเริ่มสนิทกับเจ้าหน้าที่ก็ช่วยเขานำชมพิพิธภัณฑ์บ้างเพราะเราจำทุกอย่างได้หมดแล้ว บางทีก็ฉายหนังแทนเขา พอหนังจบเราก็เล่นกับคนดู เพราะคนดูคิดว่าเราเป็นเจ้าหน้าที่แล้ว คุณโดมแกก็เลยบอกว่ามีความรู้อย่างนี้น่าจะมาช่วยกันนะ ผมบอกก็มาแล้วไงครับเสาร์-อาทิตย์เขาบอกว่าไม่ใช่ ก็ไม่ต้องเป็นทนาย มาช่วยผมที่นี่

          ตอนนั้นประมาณปี ๒๕๔๘-๒๕๔๙ ผมก็มาสมัคร เขามีแต่รับวุฒิ ม.ศ.๕ เป็นลูกจ้างชั่วคราว ตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ พอเดือนถัดไปตำแหน่งนักจดหมายเหตุว่าง ก็เลยสมัครและได้มาอยู่ตรงนี้

คุยกับครอบครัวอย่างไร ตอนที่ออกจากอาชีพทนายมาเป็นลูกจ้างชั่วคราว

          ผมกับเมียทะเลาะกันตั้งแต่เรื่องเก็บหนังอยู่แล้ว คือผมอยู่ห้องเช่าแล้วผมก็เรียงม้วนวิดีโอ เรียงหนังสือไว้ตามผนัง ปูเสื่อนอนตรงกลางนอนดูมันอย่างนี้ พอวันเสาร์-อาทิตย์ เราก็จะออกไปหาหนัง หิ้ววิดีโอเข้าบ้านทั้งถุงใหญ่ ๆ สองถุงเป็นประจำ วันหนึ่ง เมียผมก็บอกว่า ถ้าวันนี้ไปคลองถมนะ กลับมาของในนี้อาจจะหายหมดก็ได้ เราก็ยัวะเลย บอกว่า เธอ
คิดให้ดีนะ พวกนี้มันมาก่อนเธอ ถ้าเธอทำให้มันหายไป เธอก็จะหายไปกับมันด้วย เขาก็เลยไม่คุยกับผมเรื่องหนังอีกเลยทั้งชีวิต

          แต่พอพฤษภาทมิฬ ผมไปประท้วงกับเขา เกือบถูกยิ่ง กลับบ้านด้วยความพ่ายแพ้ มาคิดได้ว่าถ้าเราตายลูกเมียเราจะอยู่อย่างไร ก็เลยบอกเมียว่าต่อไปเขาพูดอะไร เราก็จะไม่เถียงสักคำ แต่เขาก็ไม่เคยห้ามเราเรื่องสะสมหนัง เขาก็ปล่อยเรา เพราะฉะนั้นที่มาทำที่หอภาพยนตร์ก็ไม่ต้องบอกเลย เขาให้เราตัดสินใจ ถ้าเธอเลือกอย่างไรเธอก็ไปเถอะ

ทำหน้าที่อะไรบ้างที่หอภาพยบตร์

          ตอบยังเป็นหน่ายงานราชการ ตำแหน่งที่เราเป็นนักจดหมายเหตุ แต่เราทำเกี่ยวกับจัดโปรแกรมฉายหนังถ้าคารามาก็คุยกับลารา เป็นแบบนี้ตลอด ไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยว
กับคารซ่อมฟิล์ม การเทเลซีนหรือห้องสมุด ยุ่งแต่กิจกรรมอย่างเดียว

          พอหอภาพยนตร์ออกมาเป็นองค์การมหาชนใหม่ ๆปี ๒๕๕๒ ก็เป็นนักวิจัยก่อนเป็นนักวิจัยได้ไม่ทันข้ามคืนมั้งเขาก็ย้ายไปเป็นเลขาคุณโดมได้แป็บเดียว ก็ย้ายไปเป็นหัวหน้าระชาสัมพันธ์ สักพักหนึ่งก็ย้ายไปเป็นหัวหน้าอำนวยการ ระหว่างนี้ก็ดูแลงานลานดาราด้วย แล้วก็ไปเป็นหัวหน้าศูนย์ข้อมูลข่าวสาร สุดท้ายถึงมาทำภาพยนตร์ผู้สูงอายุ เป็นงานที่ทำไห้ผมมีความสุขในการทำมาก เพราะผมได้กลับไปเป็นคนฉายหนังเหมือนเดิมแล้วแต่ก่อนทำงานเอกสารผมจะเครียด มันวุ่นวายมาก

ประกับใจเรื่องอะไรมากที่สุด

          ที่ผมประทับใจคือเจ้าหน้าที่รอบข้าง มันมีความรู้สึกนะว่าคนที่อยู่รอบข้างเราเป็นผู้ช่วยเราได้ทุกคน คือเราอยู่กับเขาจนเราเห็นความสามารถของเขาบางทีเราเห็นแต่คนอื่นไม่เห็น เรามีความสุขว่าเราไม่ได้ยืนอยู่คนเดียวทำงานโดดเดี่ยว แต่เรามีทีมรอบข้าง มีคนที่พร้อมจะช่วยเราตลอดเวลา

          เรามีความสุขที่ได้มาทำงานที่นี่ตอนนั้นมีความสุขโดยที่ไม่รู้ว่าตัวเองเงินเดือนเท่าไรนะ แต่มีความสุขที่ทำ แล้วไม่เคยรู้สึกเสียดายที่ว่า ทำไมไม่ไปทำทนาย มีเพื่อนไปเป็นผู้พิพากษา ก็พยายามดึงเรากลับไป แต่เราบอกว่าเราไม่ชอบวิธีทำงานแบบนั้น พวกเขาก็เสียดายที่ว่า หัวเราทางกฎหมายเราสามารถเขียนตำราได้ ทำไมเอามาเขียนตำราหนัง แต่เราบอกว่า ตำราหนังกับตำรากฎหมายก็ตำราเหมือนกัน มันก็เลยบอก เออ มึงบ้าของมึงอย่างนี้ก็อยู่ไปอย่างนี้ เหมือนตอนนี้ที่เราเกษียณ เพื่อน ๆ ที่เห็นเราบ้าหนังกลางแปลงตั้งแต่เด็กก็บอกว่า ดีนะ มันยังเกษียณกับจอหนังที่มันชอบ

ในฐานะเจ้าหน้าที่คนแรกที่เกษียณอายุ อยากฝากอะไรถึงคนที่ยังทำงานอยู่

          การเกษียณของเรามันทำให้เราทำงานที่นี่ต่อไม่ได้โดยอายุของมันห่วงที่นี่ไหม ก็ห่วง อยากให้มีแบบเราบ้างไหม อยาก แต่เราก็รู้ว่าแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราก็อยากบอกแต่ว่า อยากให้เขาอยู่จนเกษียณเหมือนเราบ้างเพราะนี่คือสถานที่ทำงานที่เราคิดว่าดีที่สุดสำหรับคนที่ชอบหนังจริง ๆ เวลาเราขัดข้องหมองใจในการทำงาน เรามาดูหนัง มันจะทำให้เราลืมทุกข์ เพราะหนังมันเป็นเรื่องการปลดทุกข์ของเรา ก็อยากให้น้อง ๆ ที่อยู่ตรงนี้ทุกคนทำงานให้มีความสุข และอยู่จนเกษียณเหมือนเรานะ
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..