ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 47 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวมภาพชุด นิทรรศการ มิตร ชัยบัญชา 181 รูป
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: บทที่ 47 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวมภาพชุด นิทรรศการ มิตร ชัยบัญชา 181 รูป (อ่าน 309 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ฉัตรชัยฟิล์มshop
Thaicine Movie Team
Moderator
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 11695
พลังใจที่มี 441
เพศ:
รักการฉายด้วยฟิล์ม
บทที่ 47 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวมภาพชุด นิทรรศการ มิตร ชัยบัญชา 181 รูป
«
เมื่อ:
19 กรกฎาคม 2013, 18:09:26 »
บทที่ 47
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
รวมภาพชุด นิทรรศการ มิตร ชัยบัญชา 181 รูป
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 8 พฤษภาคม 2556)
"มิตร ชัยบัญชา"
เกิดปี 2477 เข้าสู่วงการภาพยนตร์จากเรื่อง
"ชาติเสือ (2501 มิตร-เรวดี)"
มิตร ได้รับพระราชทานรางวัลดาราทองและได้รับโล่พระราชทานในฐานะดาราคู่ขวัญมิตร-เพชรา จาก
หนังทำเงินสูงสุดเรื่อง เงิน เงิน เงิน (2508 มิตร-เพชรา)
และเมื่อเรื่อง
มนต์รักลูกทุ่ง (2513 มิตร-เพชรา)
ออกฉาย ก็เพิ่มความโด่งดังให้ มิตร-เพชรา มากยิ่งขึ้น แต่มิตรก็มาเสียชีวิตเมื่ออายุได้เพียง 36 ปี ขณะกำลังทำหน้าที่เป็นผู้แสดงและผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง
อินทรีทอง (2513 มิตร-เพชรา)
ในช่วงเวลา 12 ปีที่
มิตร ชัยบัญชา
แสดงเป็นพระเอกอยู่นั้น บรรดาผู้อำนวยการสร้างแทบไม่กล้าจะเปลี่ยนตัวพระเอกเลย ทำให้มิตรมีภาพยนตร์แสดงล้นมือกว่า 300 เรื่อง (นับเฉพาะที่สร้างเสร็จก่อนเสียชีวิตและได้ออกฉายตามโรงภาพยนตร์มี 266 เรื่อง) ซึ่งเป็นภาพยนตร์ 16 มม.พากย์สดๆ จำนวน 250 เรื่อง ที่เหลืออีก 16 เรื่องเป็นภาพยนตร์ 35 มม.บันทึกเสียงพากย์ไว้ในฟิล์ม มิตร แสดงเป็นพระเอกคู่กับนางเอกมาประมาณ 29 คน แต่
เพชรา เชาวราษฎร์
เป็นนางเอกที่แสดงคู่กับมิตรมากที่สุดถึง 172 เรื่อง
เรียกว่าแสดงจนชื่อ
มิตร-เพชรา
ติดปากชาวบ้านเรื่อยมา อาจจะไม่เป็นธรรมนัก ที่นักเขียนนักวิจารณ์ในสมัยนั้นกล่าวกันว่า
มิตร ชัยบัญชา
เป็นตัวถ่วงให้วงการภาพยนตร์ไทยไปสู่มาตรฐานโลกไม่ได้
(เพราะมิตร ชัยบัญชา เป็นดาราแม่เหล็กของวงการภาพยนตร์ 16 มม.)
เห็นว่า เป็นการมองแต่เพียงเปลือกนอกว่า ถ้าถ่ายหนังด้วยฟิล์ม 35 มม.แล้วจะเป็นมาตรฐานโลกเพราะเมื่อถึงวันนี้ ก็พิสูจน์ได้แล้วว่า ลำพังแต่อุปกรณ์อย่างเดียว ก็มิได้ช่วยให้ต่างประเทศยอมรับภาพยนตร์ไทยเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างไร
ในทางตรงกันข้ามสิ่งที่ช่วยให้
มิตร ชัยบัญชา
เป็นที่นิยมอยู่ในวงการภาพยนตร์ไทยได้ยาวนาน แม้จะมีอยู่หลายปัจจัย แต่บุคลิกภาพส่วนตัวของ
มิตร ชัยบัญชา
นั่นเองเป็นแรงบวกอย่างสำคัญ จึงเป็นที่ยอมรับของประชาชนในยุคนั้น ๆ เห็นได้ชัดจากภาพยนตร์บางเรื่องที่มิตรรับแสดง แม้ว่าบทที่ได้รับจะไม่เหมาะสมกับตัวมิตรเลย บางเรื่องมิตรต้องแสดงในบทพ่อ แต่แฟนภาพยนตร์ของเขา ก็ยังยอมรับสิ่งนั้นได้ จึงทำให้สายหนังต่างจังหวัดและผู้อำนวยการสร้างไม่กล้าเสี่ยงที่จะหาดาราท่านอื่นมาเล่นแทน จึงแสดงให้เห็นว่า
มิตร ชัยบัญชา
เป็นดารายอดนิยมในยุคนั้นจริงๆ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของ มิตร ชัยบัญชา
ในวันที่ 8 ตุลาคม 2513
กลายเป็นข่าวช็อคไปทั้งประเทศ ภาพคลื่นมหาชนในวันรดน้ำศพ
มิตร ชัยบัญชา
ที่
วัดแค นางเลิ้ง
และภาพของผู้คนที่ไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพใน
วันที่ 21 มกราคม 2514 ที่วัดเทพศิรินทราวาส
จึงประจักษ์เป็นประวัติศาสตร์แก่คนทั่วไปได้ดีว่า มีคนรัก มิตร ชัยบัญชา มากแค่ไหน ดังนั้น เมื่อนำความเป็นดารายอดนิยมดังกล่าวบวกเข้ากับปริมาณภาพยนตร์ 16 มม. ที่
มิตร ชัยบัญชา
แสดงไว้ในจำนวนที่มากกว่าดาราท่านอื่นๆ มาประกอบเข้าด้วยกันแล้ว จึงกล่าวได้ว่า
มิตร ชัยบัญชา
เป็นราชาหนัง 16 มม. ตอนที่ มิตรเสียชีวิตนั้น ผมยังเรียนอยู่ชั้น ป.2 ได้ยินแต่พ่อแม่พูดกันว่า มิตรตายแล้ว..
มิตรตกเครื่องบินตาย..
ไปทางไหนก็เห็นแต่คนร้องห่มร้องไห้พูดถึงเรื่องมิตรตาย โรงหนังประจำจังหวัดที่ผมอยู่ก็กลับไปนำหนังมิตรมาฉายให้ดูอีก ส่วนหนังเร่ หนังขายยา หนังกลางแปลงก็จะฉายแต่หนังมิตรกันทั้งนั้น จำได้ว่าอีกไม่นาน พ่อก็พาไปดูหนังเรื่อง
"อินทรีทอง"
พ่อบอกว่า เป็นหนังที่ทำให้มิตรตาย ผมก็ไปดูตามประสาเด็กๆ ที่เห็นว่า เป็นหนังสนุกและตื่นเต้นไปกับเนื้อหาของหนัง แต่พอหนังใกล้จะจบถึงฉากที่มิตรวิ่งออกไปโหนบันไดลิงของเฮลิคอปเตอร์ เสียงคนดูในโรงหนังก็ตะโกนขึ้นมาพร้อม ๆ กันว่า มิตรอย่าไปๆๆ อย่าปีนๆๆ แต่หนังก็คือ หนัง มิตรยังคงทำหน้าที่พระเอกของเรื่องไปตามบทบาท หนังก็จบลงตรงที่มือมิตรหลุดจากบันไดเชือก ผมเห็นร่างมิตรร่วงลงสู่พื้นดินพร้อมกับเสียงหวีดร้องของคนดูดังลั่นโรงแล้วก็ตามมาด้วยเสียงสะอึกสะอื้นเมื่อมีการฉายหนังงานศพมิตรให้ดูต่อ..
นั่นเป็นความรู้สึกแรกๆ ที่ผมได้ร่วมรับรู้ถึงเรื่องราวของการสูญเสีย
มิตร ชัยบัญชา พระเอกขวัญใจประชาชน
จากนั้นผมก็มีโอกาสได้ดูหนังมิตรอีกหลายเรื่องที่มีการวนเวียนนำกลับมาฉายให้ดูติดต่อกันอยู่หลายปีจนกระทั่งหมดยุคหนัง 16 มม.เข้าสู่หนัง 35 มม.จอกว้าง ก็ไม่มีใครฉายหนังมิตรให้ดูอีกเลย เรื่องราวของมิตรในความรู้สึกของผมก็เลยต้องหยุดไปโดยปริยาย.. ผมวนเวียนอยู่กับงานรำลึก
มิตร ชัยบัญชา
จนได้รู้จักกับคนที่รักมิตรอีกหลายๆ คน ได้รู้ได้ฟังเรื่องราวของมิตรในหลากหลายรูปแบบ ได้ดูได้เห็นภาพถ่ายเก่า ๆ ของมิตรที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งแม้จะดีใจ แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าสักวันหนึ่งคนที่รักมิตรจะต้องลดจำนวนลงเพราะแต่ละคนก็อายุมากๆ แล้ว อะไรที่จะทำให้คนรุ่นเก่ารุ่นใหม่จดจำ มิตร ชัยบัญชาได้ตลอดไป คิดว่ามีเพียงอย่างเดียวคือ ต้องมีหนังที่มิตรแสดงออกมาเผยแพร่ให้ได้มากที่สุด…
อย่างที่บอกไว้งานมิตรทำให้ผมรู้จักคนที่รักมิตร แต่ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเพียงผู้ที่สะสมเรื่องราวของมิตรในรูปแบบหนังสือหรือภาพถ่าย ไม่เคยมีใครมองไปถึงเรื่องการค้นหาหนังมิตรออกมาฉายหรือทำเป็นวีดีโอ ทุกคนรอความหวังจากสิ่งที่มองไม่เห็น ฉะนั้น จึงไม่แปลกเลยที่พอถึงวันที่ 8 ตุลาคมจะมีแต่หนังมิตรเรื่องเดิมๆ ออกมาฉายซ้ำอีก หลายคนเคยสงสัยว่า มิตรแสดงหนังมาเกือบ 300 เรื่อง แต่ทำไมหนังมิตรจึงหาดูได้ยากจัง ความจริงจากหลักฐานที่ตรวจพบมีหนังมิตรออกฉาย 266 เรื่อง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นหนัง 16 มม.ซึ่งจะหาฟิล์มกลับมาฉายอีกไม่ได้แล้ว.. มีคนเคยถามผมว่า ทำไมชอบพูด ชอบเขียนถึง
มิตร ชัยบัญชา
ผมก็มักจะถามกลับไปว่า ถ้าคุณคิดถึงหนังไทย คุณจะคิดถึงหนังเรื่องอะไร คนอื่นผมไม่รู้..
แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดถึง
มนต์รักลูกทุ่ง
ผมว่าเป็นหนังที่ไม่เคยตายไปจากความรู้สึกแม้จะผ่านมานานถึง 43 ปีแล้ว ยิ่งเมื่อเข้าไปรู้ไปเห็นการทำวีซีดีหนังมิตรแล้ว ก็ยิ่งทำให้รู้ซึ้งถึงความยากลำบากที่จะได้หนังมิตรแต่ละเรื่องกลับมาสู่ประชาชน หนังมิตรเวลานี้จึงมิใช่เป็นเพียงแค่ความบันเทิง แต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ให้กับวงการหนังไทยและมีผลทำให้คนกลุ่มหนึ่งหันกลับมาสนใจหนังไทยมากขึ้น สำหรับผมแล้วบอกได้เลยว่าหนังมิตรเป็นต้นแบบของหนังไทยที่จุดประกายให้ผมรักและภาคภูมิใจในความเป็นหนังไทย...
นี่แหละครับ มิตร ชัยบัญชา ที่ผมคิดถึง...
ดูภาพเพิ่มเติม...
https://www.facebook.com/media/set/?set=oa.156390671207665&type=1
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 กุมภาพันธ์ 2014, 22:16:50 โดย นายเค
»
บันทึกการเข้า
ฉัตรชัย สุวรรณโสภา
88/1 ม.4 ต.บางโตนด อ.โพธาราม จ.ราชบุรี 70120
E-mail
chatchai_suw@hotmail.com
โทร 081-7636195
ต่อพงศ์ภาพยนต์ ระบบ 35 ม.ม. ฉัตรชัยภาพยนตร์ กลางแปลงย้อนยุค 16 ม.ม.
ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาบิ๊กซีราชบุรี ชื่อบัญชี ฉัตรชัย สุวรรณโสภา หมายเลขบัญชี 940-202235-1
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 47 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย รวมภาพชุด นิทรรศการ มิตร ชัยบัญชา 181 รูป