ผู้เขียน หัวข้อ: ปลุกวิญญาณ ให้พิพิธภัณฑ์ฟื้นคืนชีพอีกครั้งใน Night at the Museum: Secret of the  (อ่าน 158 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย

       หากสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในพิพิธภัณฑ์มีชีวิตขึ้นมาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ ฉะนั้นอะไรๆ ก็เป็นไปได้ การเปลี่ยนความเป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ต้องอาศัยสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ และแทบจะครึ่งหนึ่งของเรื่อง Night at the Museum: Secret of the Tomb ต้องอาศัยเทคนิคดิจิตอล

       ฉากหนึ่งที่น่าตื่นตาสุดในหนังเกิดขึ้นในรูปพิมพ์หินของศิลปินนักเขียนชาวดัชที่มีชื่อเสียง เอ็ม.ซี. เอสเชอร์ เขามีชื่อเสียงจากลายไม้ที่ได้แรงบันดาลใจจากหลักคณิตศาสตร์ พิมพ์หิน และการแกะสิ่งพิมพ์ที่รวมถึงสิ่งก่อสร้างและการสำรวจมากมาย ระหว่างที่ฉากนี้ต้องอาศัยวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์หลายอย่าง แต่ก็มีหลายส่วนที่ถ่ายทำจริงด้วยกล้อง และอาศัยทักษะความรู้ของทีมผู้สร้างฯ

       เลวี่และผู้เขียนต้องการใช้กติกาเดิมจากหนังเรื่องก่อนสู่ระดับใหม่ พวกเขาจึงสร้างฉากที่แลร์รี่ เท็ดดี้ และแลนสล็อตตกลงไปในพิมพ์หินของเอสเชอร์ “Relativity” เป็นจุดเริ่มต้นของฉากไล่ล่าที่น่าจะแปลกที่สุดในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ มันเป็นการไล่ล่าผ่านโลกอันเหลือเชื่อ มีเครื่องบินหลายลำ แรงโน้มถ่วง 3 ระดับ และเรื่องเหลือเชื่ออีกหลายอย่าง


       เลวี่เล่าว่า “เอสเชอร์สร้างพิมพ์หิน ภาพวาด ผลงานศิลป์ขึ้นมาเพื่อให้เราเข้าใจถึงแรงโน้มถ่วง มิติ และระเบิดไอเดียเหล่านั้นออกมาอย่างเต็มที่ ‘ทฤษฎีความสัมพันธ์’ เป็นผลงานที่มีชื่อเสียงของเขามากที่สุด มีการใช้เครื่องบินที่มีแรงโน้มถ่วงต่างกัน 3 ระดับ นำทุกอย่างมาอยู่ในโลกที่มีกฎระเบียบของตัวเอง ไม่เกี่ยวกับความสมจริงในโลกของเรา”

       เพื่อวางตำแหน่งการถ่ายทำฉากนี้ ผู้ออกแบบฉาก มาร์ติน วิสต์ ต้องสร้างโมเดล 3 มิติที่สร้างรูปทรงเรขาคณิตและสถาปัตยกรรมออกมา เลวี่และหัวหน้าแผนกของเขาต้องช่วยกันระดมความคิดนานหลายเดือนเพื่อทำการพัฒนา จากนั้นทีมจำลองภาพแอนิเมชั่นจะสร้างภาพคร่าวๆ ในหนังขึ้นมา เลวี่เล่าถึงตอนนั้นว่า “เราผ่านมาอย่างน้อย 6 เวอร์ชั่นก่อนที่เราจะถ่ายทำทีละช็อต โดยใช้ภาษี่จะถ่ายทอดเรื่องราวที่สัมผัสได้ถึงความสร้างสรรค์และดูดี แต่ต้องไปยากเกินไปจนผู้ชมหลงประเด็น มีฉากหนึ่งที่อาศัยเทคนิคเยอะมาก อุปสรรคอย่างหนึ่งคือต้องไม่ให้ส่วนสำคัญในฉากนั้นคลาดสายตาไป”


       การคิดสร้างสรรค์และถ่ายทำฉากนั้นเหมือนกับการต่อจิ๊กซอว์ที่มีความซับซ้อนเข้ากัน “ทุกภาพจะมีหลายระดับและมีเครื่องบินที่ระดับแรงโน้มถ่วงต่างกัน นั่นคือ 60 ฉาก” เลวี่กล่าว “เป็นการถ่ายทำ 60 ฉากคูณด้วย 3 เท่า มีองค์ประกอบหลายส่วนและต้องถ่ายทอดกันอย่างแนบเนียนเหมือนเป็นหนึ่งเดียวกัน ฉากนั้นต้องใช้จังหวะอย่างน่าเหลือเชื่อ มีการโฟกัสไปที่ความรู้สึกและความจงรักภักดี แต่ผมคิดว่าผลลัพธ์ที่ได้คุ้มกับความพยายาม และผู้ชมจะรู้สึกต่างจากที่พวกเขาเคยเจอมาก่อน”

       เอริค แนช ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่เคยเข้าชิงรางวัล Academy Awards สามครั้ง (I, Robot, Real Steel, Iron Man 3) เคยมีผลงานในหนังฟอร์มยักษ์หลายเรื่อง เขาเล่าว่า “ผมไม่เคยเห็นอะไรแบบนี้มาก่อนเย ครั้งแรกที่ผมอ่านบท ฉากของเอสเชอร์มีความโดดเด่นมาก มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นฉากที่ผู้ชมไม่เคยวเห็นมาก่อน”


       Night at the Museum: Secret of the Tomb ไนท์ แอท เดอะ มิวเซียม ความลับสุสานอัศจรรย์ 25 ธันวาคมนี้ พบความหฤหรรษ์กันได้ในโรงภาพยนตร์เท่านั้น   

————————-



สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได