ทำความรู้จัก Dolby Atmos
มาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางใหม่ เพื่อการรับชมภาพยนตร์ Dolby Atmos "Hear The Whole Picture" เทคโนโลยีความบันเทิงด้านภาพและเสียงในปัจจุบัน ก้าวสู่ยุคที่ข้ามขีดจำกัดเดิม สู่มาตรฐานใหม่ที่ตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้นกว่าอดีต ในส่วนของภาพ เป็นที่แน่ชัดว่าเราจะได้สัมผัสกับรายละเอียดความคมชัดสูงระดับ 4K/UHD กันแน่นอน แล้วในส่วนของเสียงล่ะ คงไม่มีสิ่งใดเรียกความสนใจได้มากไปกว่าระบบเสียง “Dolby Atmos” !! การรับชมภาพยนตร์ “เสียง” มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาพ หากยกระดับประสิทธิภาพการถ่ายทอดเสียงของภาพยนตร์ได้ อรรถรสของการรับชมย่อมเพิ่มสูงขึ้น ในจุดนี้ ท่านที่ใช้งานซิสเต็มโฮมเธียเตอร์ล้วนมีเป้าหมายเพื่ออรรถรสจากการรับชมภาพยนตร์สูงสุด ซึ่งเป้าหมายนี้ก็ไม่ต่างจาก “พันธกิจ” ของ Dolby ที่ต้องการสร้างมาตรฐานการรับชมภาพยนตร์ด้วยระบบเสียงที่สมจริงกว่าเคย พิสูจน์ได้จากการมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานระบบเสียงใหม่ Dolby Atmos และเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในต่างประเทศเมื่อเดือนเมษายน ปี 2012... สำหรับประเทศไทย ช่วงเวลา 1 – 2 ปีที่ผ่านมาหลายท่านน่าจะได้สัมผัสระบบเสียงใหม่นี้ในโรงภาพยนตร์กันบ้างแล้ว (1) และขณะที่ท่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ระบบเสียง Dolby Atmos Home Theater พร้อมสำหรับใช้งานในบ้านพักอาศัยแล้วเช่นกัน เพื่อมิให้เสียเวลา เราจะมาทำความรู้จักกับ Dolby Atmos ว่าจะให้ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง Welcome To A New World Of Sound คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Dolby กับบทบาทผู้กำหนดมาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางในโรงภาพยนตร์ที่เราๆ ท่านๆ รับชมกันอยู่ทุกวันนี้ ถึงแม้ในแวดวงโฮมเธียเตอร์ที่ผ่านมา รัศมีของ Dolby ถูกบดบังลงไปมาก เนื่องด้วยมาตรฐานการรับชมภาพยนตร์ในบ้านพักอาศัยผ่านระบบเสียง HD ที่บันทึกมากับฟอร์แม็ตบลูเรย์ มักจะเป็นระบบเสียงจากทางฝั่งของ DTS (Digital Theater Systems) เสียมาก (2) แต่ถึงกระนั้นบทบาทของ Dolby ในแวดวงการผลิตภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นน้ำ ในขั้นตอน Post Production ในสตูดิโอบันทึกเสียง ไปจนถึงปลายน้ำอย่างการนำเสนอมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์นั้น มิได้ลดลงเลย นับจากวันเปิดตัว Dolby Atmos ถูกคาดหวังให้เป็นมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ยุคใหม่ ที่จะส่งมอบประสบการณ์รับชมภาพยนตร์สมจริงยิ่งกว่าเคย จากประสิทธิภาพถ่ายทอดสนามเสียงรายล้อมที่จะปฏิวัติระบบเสียงในอดีตไปอย่างสิ้นเชิง… อะไรที่ทำให้ Dolby Atmos แตกต่างจากระบบเสียงเซอร์ราวด์ของโรงภาพยนตร์ทั่วไป? คำตอบคงต้องย้อนกลับไปดูมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ทั่วไปในปัจจุบันก่อนว่าเป็นเช่นไร -- Dolby Atmos in The Cinema -- เป็นที่ทราบกันว่า ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ซับซ้อนแตกต่างจากระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้งานในบ้านพักอาศัยอยู่หลายประการ ที่เห็นได้ชัด คือ ขนาดสเกลของระบบที่ใหญ่กว่ามาก อย่างไรก็ดีในแง่การถ่ายทอดเสียงรอบทิศทางนั้น โรงภาพยนตร์และโฮมเธียเตอร์หาได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ โดยพื้นฐานยังคงอิงการถ่ายทอด “ช่องสัญญาณเสียง” ตามมาตรฐาน 5.1 หรือ 7.1 แชนเนล เหมือนกัน ระบบเสียงโรงภาพยนตร์ทั่วไปในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นระบบ Dolby Atmos จะอิงมาตรฐานการถ่ายทอด "ช่องสัญญาณเสียง" แบบหยาบๆ ตามระบบ 7.1 (หรือ 5.1) ประกอบไปด้วยลำโพงคู่หน้า (L/R), เซ็นเตอร์ (C), ซับวูฟเฟอร์ (LFE), เซอร์ราวด์ (Lss/Rss) และเซอร์ราวด์แบ็ค (Lrs/Rrs) ดังนี้ถึงแม้จำนวนลำโพงในโรงภาพยนตร์จะมีมากกว่า แต่โดยพื้นฐานก็ไม่ต่างจากระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้ลำโพง 7.1 (หรือ 5.1 แชนเนล) [/center]
ด้วยขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่า ความท้าทายของระบบเสียงในโรงภาพยนตร์นั้นอยู่ที่ จะดำเนินการอย่างไรให้สามารถถ่ายทอดเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางจากช่องสัญญาณเสียงเพียง 5.1/7.1 แชนเนล ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่รับชม (ที่มีมากมายนับร้อยที่นั่ง) เหตุนี้จำนวนลำโพงเซอร์ราวด์ด้านข้างและด้านหลังจำนวนมาก จึงถูกติดตั้งจัดวางเรียงรายต่อเนื่องโอบล้อมเป็นพื้นที่กว้าง เพื่อขยายขอบเขตสนามเสียงจากช่องสัญญาณเสียงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็คนี้ให้ครอบคลุมทุกตำแหน่งแถวที่นั่งนั่นเอง ลำโพงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็คที่ถูกเสริมเข้ามาเป็นจำนวนมากในโรงภาพยนตร์ จึงมิได้ให้ผลลัพธ์ในแง่แจกแจงรายละเอียดตำแหน่งทิศทางเสียงที่ชัดเจนมากกว่าระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้งานลำโพงเซอร์ราวด์ และเซอร์ราวด์แบ็คเพียงอย่างละคู่ จากรายละเอียดข้างต้น แม้จำนวนลำโพงในโรงภาพยนตร์จะมีมาก แต่ด้วยช่องสัญญาณเสียงที่จำกัดเพียง 5.1 หรือ 7.1 แชนเนล การจะถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์โอบล้อมรอบทิศทางอันละเอียดลออจากภาพยนตร์ ยังห่างไกลกับคำว่า “สมจริง” อยู่มากนัก และข้อจำกัดอีกประการของระบบ 5.1/7.1 เดิม คือ ลำโพงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็ค ยังต้องทำหน้าที่ควบรวมการถ่ายทอดบรรยากาศด้านสูง (Upper Hemisphere) ด้วย (3) นอกเหนือจากหน้าที่หลักคือสร้างสนามเสียงโอบล้อมด้านหลัง แต่ด้วยตำแหน่งลำโพงที่ไม่ได้อยู่เหนือศีรษะผู้ฟังตรงๆ ก็แน่นอนว่าผลลัพธ์การถ่ายทอดมิติด้านสูงของลำโพงเซอร์ราวด์ และลำโพงเซอร์ราวด์แบ็ค ยังไม่ลงตัวดีนัก ช่องว่างของการถ่ายทอดมิติเสียงด้านสูงนี้เอง จึงเป็น "โอกาส" ให้ Dolby สร้างสรรค์ระบบเสียงใหม่ขึ้นมา คือ Dolby Atmos! อ้างอิง(1) โรงภาพยนตร์ในประเทศไทยเริ่มให้บริการระบบเสียง Dolby Atmos มาได้สักระยะหนึ่ง แต่ยังจำกัดโรงฯ อยู่
(2) ที่คุ้นเคยกันดี คือ DTS-HD Master Audio ซึ่งจำนวนคอนเทนต์ในตลาดมีมากกว่า Dolby TrueHD อยู่หลายเท่าตัว
(3) นี่คือเหตุผลว่าทำไม Dolby จึงแนะนำให้ติดตั้งลำโพงเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1/7.1 สูงกว่าระดับหูของผู้ฟังOverhead Sound ด้วยข้อจำกัดด้านการถ่ายทอดมิติเสียงด้านสูงของระบบ 5.1/7.1 เดิม ทาง Dolby จึงพัฒนาระบบ Atmos ขึ้น โดยเสริมลำโพงด้านสูง หรือ Top Surround Speakers ติดตั้งไว้ 2 แถว ฝั่งซ้ายซ้ายและขวาเหนือศีรษะ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะการถ่ายเสียงเอฟเฟ็กต์ที่มาจากด้านบน หมายเหตุ: ที่ผ่านมา เคยมีระบบเสียงเสริมสำหรับโฮมเธียเตอร์ (Upmix Surround) ที่ (เสมือน) เพิ่มเติมลำโพงด้านสูงเข้ามา ซึ่งหลายท่านน่าจะเคยทดลองใช้งานกันมาบ้าง อาทิ Dolby Prologic IIz และ Audyssey DSX โดยทั้ง 2 ระบบ จะใช้การประมวลผลทางดิจิทัล (DSP - Digital Signal Processing) จำลองช่องสัญญาณเสียงสำหรับลำโพงด้านสูง (Front Height และอาจรวมถึง Front Wide สำหรับระบบ Audyssey DSX) เพิ่มเติมจากสัญญาณเสียงรอบทิศทางปกติ พูดไปแล้วก็เหมือนระบบฯ "มโน" ช่องสัญญาณเสียงด้านสูงขึ้นมาเอง หากเปรียบเทียบกับมาตรฐาน Dolby Atmos ที่มาจากกระบวนการมิกซ์เสียงในสตูดิโอแท้ๆ ก็เรียกได้ว่า Atmos เป็นหนังคนละม้วนเลยครับ Multidimensional Sound ถึงแม้จุดเด่นชัดของ Dolby Atmos คือ Top Surround ทว่ารากฐานสำคัญที่ทำให้ Dolby Atmos เป็นระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ที่มีศักยภาพสูง เหนือกว่ามาตรฐานอื่นใดในอดีต คือ “ความยืดหยุ่น” อันมีส่วนช่วยให้บริหารจัดการระบบเสียงรอบทิศทางในโรงภาพยนตร์ที่มีลำโพงมากมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ศักยภาพของ Dolby Atmos ในโรงภาพยนตร์ รองรับจำนวนลำโพงสูงสุดถึง 64 แชนเนล ทั้งหมดทำหน้าที่อิสระ ทั้ง Screen Channel, Surround Channel และที่ขาดไม่ได้ คือ Top Surround Channel (เส้นประสีฟ้าในรูป) บวกกับลำโพงเสริมอื่นๆ อาทิ Left/Right Center (สีขียว), Side Surround (สีน้ำเงิน) และ Surround Subwoofer (สีม่วง)การเติมเต็มประสบการณ์รับฟังเสียงรอบทิศทางของ Atmos จึงสมบูรณ์แบบยื่งขึ้น หากเปรียบเทียบระบบเสียงในอดีตที่อาศัยเทคนิคตายตัวแบบ Channel-based Audio นอกจากจำนวนแชนเนลลำโพงมีจำกัดและไม่ยืดหยุ่นแล้ว ระบบ Dolby Atmos ที่อาศัยเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า Object-based Audio สามารถแจกแจงทิศทางเสียงจากแชนเนลลำโพงที่มีมากกว่า ได้ละเอียดลออกว่าเดิมมาก (ดังรูปขวา)
สรุปข้อเปรียบเทียบ Dolby Atmos กับระบบเสียง 5.1/7.1 รูปแบบเก่า
ผลลัพธ์ในแง่ของคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นเป็นผลจากระบบจัดการลำโพงที่ดีกว่าเดิม[/i]
จำนวนแชนเนลลำโพงในอดีตที่แบ่งได้หยาบๆ แค่ 5.1/7.1 แชนเนล การมาของ Dolby Atmos จึงปฏิวัติมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ด้วยจำนวนแชนเนลลำโพงรอบทิศทาง แยกหน้าที่อิสระถึง 64 แชนเนล การกำหนดหน้าที่ของแชนเนลลำโพงจำนวนมากที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัวนี้
นอกจากการแจกแจงทิศทางเสียงได้ละเอียดลออขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้การติดตั้ง ทั้งจำนวนและตำแหน่งหน้าที่ของลำโพงสามารถปรับเปลี่ยน ขยับขยายเพิ่มเติม หรือลดทอนให้สัมพันธ์กับขนาดของโรงภาพยนตร์ (ที่ไม่ตายตัว) ได้ง่าย อันจะเป็นผลดีอย่างมากสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์
ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม อาทิ โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ติดตั้งจอฉายขนาดความกว้างมากกว่า 12 ม. สามารถเพิ่มเติมลำโพง
Left Center และ
Right Center เพื่ออุดช่องโหว่จากระยะห่างระหว่างลำโพงหน้าซ้าย-ขวา และเซ็นเตอร์ ที่อาจห่างกันมากเกินไปได้ด้วย
นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเติม Side Surround ที่ผนังด้านข้างส่วนหน้า ช่วงระหว่าง Screen Channels และ Surround Channels เพื่อช่วยให้การแพนเสียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังได้รับการเติมเต็ม เพิ่มความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่เสริมลำโพงซับวูฟเฟอร์ให้กับลำโพงเซอร์ราวด์ (Surround Subwoofer) จากเดิมที่ลำโพงซับวูฟเฟอร์จะติดตั้งไว้เพียงจุดเดียวที่ส่วนล่างของจอฉายเท่านั้น การเติมเต็มเสียงย่านความถี่ต่ำให้กับเสียงเอฟเฟ็กต์เซอร์ราวด์จึงสมจริงยิ่งขึ้น ในขณะที่หากเป็นการใช้งานในโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก หรือเป็นการใช้งานในบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด (จะกล่าวถึงต่อไป ช่วง Dolby Atmos at Home) ด้วยศักยภาพของ
Dolby Atmos สามารถลดทอนจำนวนลำโพงลงได้ตามความเหมาะสม โดยที่ประสิทธิภาพการถ่ายทอดเสียงยังคงครบถ้วนทุกหน้าที่ อันเป็นผลจากการผสมผสานเทคนิค
Object-oriented mixing layers ในขั้นตอนบันทึกเสียง เข้ากับกระบวนการเล่นกลับโดยอาศัยโปรเซสเซอร์ถอดรหัสและประมวลผลข้อมูลเสียงให้สัมพันธ์กับจำนวน และลักษณะการติดตั้งลำโพงในขณะนั้น
อะไรคือ Object-based Audio? กระบวนการสร้างสรรค์ระบบเสียงรอบทิศทางของ Dolby Atmos ที่มีศักยภาพสูง มีพื้นฐานเริ่มจากเทคนิคในขั้นตอนมิกซ์เสียงเอฟเฟ็กต์ภาพยนตร์แบบใหม่ ที่เรียกว่า Object-oriented mixing layers พัฒนาการทางเทคนโลยีที่ก้าวหน้า การบันทึกเสียงรอบทิศทางจึงได้รับการปฏิวัติด้วยระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อันซับซ้อน ทว่าควบคุมดำเนินการได้อย่างง่ายดาย หลักการของ Object-base audio คือ เสียงเอฟเฟ็กต์ที่ใช้ประกอบในภาพยนตร์ อาทิ เสียงปืน เสียงสนทนา ฯลฯ ที่ถูกบันทึกเสียงแยกมานั้น จะถูกกำหนดให้เป็น "วัตถุ" (ดูรูปประกอบด้านล่าง Object แทนด้วยวงกลมสีเหลืองในภาพ รองรับการมิกซ์พร้อมๆ กันได้มากสุดถึง 128 objects) จากนั้นด้วยโปรแกรมมิกซ์เสียงของ Dolby สามารถปรับแต่งวัตถุเสียงเหล่านั้นได้อย่างอิสระ และประยุกต์เอฟเฟ็กต์ได้หลากหลาย อันรวมไปถึงการกำหนดทิศทางที่ดำเนินไปในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งทิศทางที่กำหนดให้กับวัตถุเสียงเหล่านี้ เป็นแบบ "3 มิติ" กล่าวคือ นอกจากทิศทางในแนวระนาบแล้ว ยังรวมถึงการกำหนดระดับความสูงด้วย เมื่อกระบวนการมิกซ์เสร็จสิ้น ข้อมูลทางเสียงทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสไปพร้อมกับคอนเทนต์ จากนั้นในขั้นตอนเล่นกลับ โปรเซสเซอร์ (เช่น CP850) จะทำการถอดรหัส และเรนเดอร์ประมวลผลข้อมูลเสียงไปยังลำโพง แต่ในระหว่างการประมวลผลนั้น ระบบฯ จะนำข้อมูลการติดตั้งอย่างจำนวนและลักษณะของลำโพงที่ใช้ ไปจนถึงการชดเชย Bass Management และสภาพอะคูสติกไปอ้างอิง เพื่อให้การถ่ายทอดสนามเสียงสัมพันธ์กับลำโพงที่ติดตั้งใช้งานในสภาพแวดล้อมขณะนั้น ศักยภาพที่ยืดหยุ่นจาก Object-oriented mixing layers นี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งลำโพงจำนวนมาก หรือบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก จำนวนลำโพงน้อย จึงยังคงได้รับประสบการณ์จากระบบ Dolby Atmos อย่างเท่าเทียม Object-based Audio หัวใจหลักของ Dolby Atmos โดยในกระบวนการมิกซ์จะอ้างอิงเสียงเอฟเฟ็กต์เหมือนเป็นวัตถุที่สามารถกำหนดทิศทางได้อิสระแบบ 3 มิติ ช่วยสร้างสรรค์การถ่ายทอดเสียงรอบทิศทางของภาพยนตร์[/b]
ให้มีความสมจริง ใกล้เคียงอุดมคติยิ่งขึ้น
Dolby Atmos System Flow Dolby Atmos Cinema Processor CP850อุปกรณ์สำคัญสำหรับโรงภาพยนตร์ระบบเสียง Dolby Atmos ที่มิได้มีหน้าที่เพียงแค่ถอดรหัสเสียง แต่ยังรวมถึงฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่ยืดหยุ่น อาทิ การกำหนดหน้าที่ของลำโพงรอบทิศทางที่มีมากมาย สูงสุด 64 แชนเนล จำนวนนี้รวมถึง Top Surround และลำโพงเสริมอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งชดเชยเสียงของลำโพงแต่ละตัว เพื่อแก้ไขปัญหาทางอะคูสติก และกำหนดจุดตัดความถี่เสียง สำหรับ
Bass Management ที่เที่ยงตรง เป็นต้น[/color]