ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ข้อมูลภาพยนตร์โดย นักพากย์ย้อนยุค
»
ข้อมูลทั่วไป
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
นักพากย์ภูธรย้อนยุค
) »
“สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย (อ่าน 760 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นายเค
Thaicine Movie Team
Moderator
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 3814
พลังใจที่มี 616
เพศ:
“สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
«
เมื่อ:
28 มีนาคม 2015, 10:46:11 »
ทำความรู้จักกับ “สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย
ในขณะที่
“พี่มาก.. พระโขนง”
กำลังทำเงินมาแรงแซงทางโค้งไปเรื่อยๆ ล่าสุดก็ผ่านหลัก 500 ล้านไปแล้ว กลายเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำเงินสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ท่ามกลางตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่เอง ก็คงทำให้หลายคนอดสงสัยไม่ได้ว่า ทำไมตัวเลขที่รายงานจึงต้องมีหมายเหตุว่า
“เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเชียงใหม่”
เท่านั้น แล้วตัวเลขรายได้ในต่างจังหวัดละ และนี่ไม่ใช่แค่พี่มากเท่านั้น ภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ก็มักรายงานเฉพาะตัวเลขใน กทม. ปริมณฑล และเชียงใหม่เช่นกัน ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะในการดำเนินธุรกิจภาพยนตร์ในไทยไม่ได้เป็นเพียงเรื่องของผู้ผลิตและโรงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ยังมีผู้จัดจำหน่ายหรือที่เราเรียกกันว่า “สายหนัง” เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
สายหนังคืออะไร
สายหนัง
ถ้าเรียกอย่างเป็นทางการก็คือ
“ผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์”
ถ้าเทียบง่ายๆ สายหนังก็ไม่ต่างจากยี่ปั๊วหรือพ่อค้าคนกลางที่รับสินค้าจากผู้ผลิตมาขายต่อให้ร้านค้าอีกทีหนึ่ง โดยสายหนังถือเป็นหนึ่งตัวละครสำคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ซึ่งประกอบด้วย
ผู้ผลิต
ผู้จัดจำหน่าย
โรงภาพยนตร์
ทั้งนี้ ผู้ผลิตอาจทำหน้าที่เป็นผู้จัดจำหน่ายเองก็ได้ ตัดบทบาทของพ่อค้าคนกลางไป ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ผลิตได้รายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่า ลักษณะนี้ในไทยจะใช้กับในเขต กทม. เป็นหลัก โดยผู้ผลิตจะดีลกับโรงภาพยนตร์โดยตรง และตกลงแบ่งรายได้กันเป็นสัดส่วนที่แน่นอน
(ส่วนใหญ่ก็ 50-50)
คำนวณจากตั๋วที่ขายได้ ตัวเลขรายได้ก็จะสะท้อนความสำเร็จของภาพยนตร์ได้อย่างแท้จริง แต่ปัญหาคือการดีลโดยตรงก็เป็นการเพิ่มภาระให้กับผู้ผลิตเช่นกัน เพราะนอกจากจะต้องเป็นผู้ติดต่อเอง ผู้ผลิตยังต้องส่ง Checker ไปตรวจสอบที่โรงภาพยนตร์ว่าขายตั๋วได้ตามจำนวนที่แจ้งมาจริงๆ หรือไม่ ซึ่งผู้ผลิตภาพยนตร์ในไทยเองก็ไม่ได้ทุนสูงขนาดนั้น จึงใช้ระบบดีลโดยตรงกันแค่ในเขต กทม.
(และเชียงใหม่ที่เป็นเมืองใหญ่)
เท่านั้น
ตรงนี้ทำให้สายหนังเข้ามามีบทบาท เพราะจะเป็นผู้รับหน้าที่นำภาพยนตร์จากผู้ผลิตไปขายต่อเองในต่างจังหวัด ลดภาระผู้ผลิตลงไป สำหรับเหตุที่เรียกว่าสายหนัง ก็เพราะผู้จัดจำหน่ายในต่างจังหวัดไม่ได้มีเพียงเจ้าเดียว แต่แบ่งออกไปตามภูมิภาคต่างๆ เป็นสายๆ ไป สายหนังแต่ละเจ้าจะมีเขตของตน ห้ามขายหนังข้ามเขตกัน ระบบสายหนังนี้มีมานานแล้ว (น่าจะตั้งแต่เริ่มมีการฉายภาพยนตร์ในเชิงพาณิชย์) ความที่อยู่มานานทำให้ระบบสายหนังมีลักษณะคล้ายสัมปทานและกึ่งผูกขาดไม่น้อย แถมยังมีอิทธิพลเยอะไม่น้อย โดยเฉพาะสมัยก่อนที่สายหนังบางเจ้ามีอำนาจในการกำหนดทิศทางภาพยนตร์ไทยไ์ด้ การตั้งชื่อภายพนตร์ก็ต้องตั้งให้ถูกใจสายหนัง หรือบางเรื่องถึงขนาดมีตอนจบที่ต่างจากการฉายใน กทม. เพื่อจูงใจให้สายหนังซื้อไปฉายให้ได้
สายหนังในไทยมีกี่สาย
สายหนังในไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 6 สาย ประกอบด้วย
สายแปดจังหวัด
ได้รับสิทธิจำหน่ายในพื้นที่ 8 จังหวัดรอบเขต กทม. ได้แก่ นครปฐม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม
สายภาคกลาง-เหนือ
ได้รับสิทธิจำหน่ายในพื้นที่ภาคกลางทั้งหมด ตั้งแต่พระนครศรีอยุธยาขึ้นไป ยกเว้นสระบุรี และภาคเหนือทั้งหมด สายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ “ธนารุ่งโรจน์” จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “สายธนา” และยังเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์หลายแห่งในเขตนี้ภายใต้ชื่อ “ธนาซีนีเพล็กซ์” ในช่วงปี 2540 เป็นต้นมา สายธนาได้ขยายธุรกิจของตัวเอง มาเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ด้วย ภายใต้ชื่อ “พระนครฟิลม์” แต่ตอนนี้รู้สึกจะเลิกผลิตภาพยนตร์ไปแล้วมั้ง
สายอีสาน
ได้รับสิทธิจำหน่ายในจังหวัดภาคอีสานทั้งหมด รวมถึงสระบุรี สายนี้มีสายหนังอยู่หลายเจ้า หลักๆ คือ
สายสหมงคล (เครือเดียวกับค่ายสหมงคลฟิล์มนั่นแหละ) ได้สิทธิในแถบอีสานเหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ของสหมงคลฟิล์มเอง
สาย Nevada ได้สิทธิในแถบอีสานใต้ (แบ่งเขตกับสายสหมงคล) ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์ของสหมงคลฟิล์ม Nevada ยังมีโรงภาพยนตร์ของตัวเองภายใต้ชื่อ “Nevada” ด้วย
สายไฟว์สตาร์ (เครือเดียวกับค่ายไฟว์สตาร์) จำหน่ายทั่วทั้งอีสาน มีทั้งภาพยนตร์ของค่ายไฟว์สตาร์เอง รวมถึงภาพยนตร์ต่างประเทศส่วนใหญ่ก็จะเป็นของสายนี้
สายตะวันออก
ได้รับสิทธจำหน่ายในภาคตะวันออกทั้งหมด สายนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ “สมานฟิล์ม” ซึ่งนอกจากจะทำธุรกิจสายหนังแล้ว ยังเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์หลายแห่งในเขตภาคตะวันออก และต่อมายังได้รุกตลาดโรงภาพยนตร์ Multiplex ใน กทม. และทั่วประเทศ ภายใต้ชื่อ “เครือ SF Cinema” ตัวย่อ SF ก็คือย่อมาจากสมานฟิล์มนั่นเอง
สายใต้
ได้รับสิทธิจำหน่ายในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ทั้งหมด รวมถึงประจวบคีรีขันธ์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของ “Coliseum” ที่ก่อตั้งโดยคุณ คมน์ อรรฆเดช หนึ่งในบุคคลสำคัญของวงการภาพยนตร์ไทย Coliseum ยังมีโรงภาพยนตร์ของตัวเองภายใต้ชื่อ Coliseum Multiplex อีกด้วย
สายชานเมือง
ได้รับสิทธิจำหน่ายในพื้นที่นนทบุรี และโรงภาพยนตร์ชั้น 2 ใน กทม. โดยสายนี้ส่วนใหญ่จะรับฟิล์มจากโรงภาพยนตร์ Multiplex ใน กทม. ที่หมดโปรแกรมแล้ว มาฉาย แต่ก็มีบางเรื่องที่ฉายชนกับโรงใหญ่ก็มี
ลักษณะการทำธุรกิจของสายหนัง
เมื่อภาพยนตร์จัดทำเป็นที่เสร็จสมบูรณ์ ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการจัดจำหน่าย ถ้าเป็นโรงภาพยนตร์ Multiplex ใน กทม. ปริมณฑล และเชียงใหม่ ก็ใช้ระบบดีลโดยตรง แต่ถ้าในส่วนของสายหนังจะใช้วิธีประมูลซื้อภาพยนตร์จากผู้ผลิต (ก็ไม่เชิงประมูลหรอก เพราะสายหนังแต่ละเจ้าก็ผูกขาดพื้นที่ในเขตตัวเองอยู่แล้ว) การซื้อขายหนังของผู้ผลิตกับสายหนังจะเป็นไปในลักษณะ “ซื้อขาด” โดยราคาจะขึ้นอยู่กับตัวภาพยนตร์ แนวโน้มการทำเงิน และจำนวนก๊อปปี้ที่ซื้อไป เมื่อซื้อขายขาดแล้ว รายได้ของผู้ผลิตก็คือเงินที่ได้จากการซื้อขายนั้น ขณะที่รายได้จากการขายตั๋ว ก็จะตกเป็นของสายหนังไป โดยจะแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลงกับโรงภาพยนตร์ที่สายหนังเอาไปขายให้
ลักษณะเช่นนี้ มองในแง่ดี ผู้ผลิตสามารถลดต้นในการจ้าง Checker ไปตรวจจำนวนตั๋วที่ขายได้ตามโรงต่างๆ และลดต้นทุนในการเข้าถึงพื้นที่ต่างจังหวัด ขณะเดียวกันก็สามารถประกันความเสี่ยงในกรณีเกิดหนังเจ๊งขึ้นมาได้ เพราะผู้รับภาระก็คือสายหนัง แต่ข้อเสียก็คือ ในกรณีหนังทำเงิน คนที่ได้กำไรคือสายหนัง ไม่ใช่ผู้ผลิต ตัวอย่างเช่น พี่มาก.. พระโขนง สายหนังภาคใต้ซื้อขาดไปในราคา 2 ล้านบาท แต่ทำเงินจริงแต่เฉพาะในภูเก็ตก็ได้ถึง 10 ล้านบาท (ยังไม่รวมทั่วภาคใต้) นอกจากนี้ ระบบสายหนังยังเป็นสาเหตุที่ทำให้โรงภาพยนตร์ต่างจังหวัดมักไม่มีแบบ Soundtrack รวมถึงภาพยนตร์นอกกระแส ไม่ดัง หรือคาดว่าจะไม่ทำเงิน ก็จะไม่เข้าฉายด้วย เพราะสายหนังมักมองว่าภาพยนตร์เหล่านี้ โอกาสทำเงินในต่างจังหวัดน้อย เลยไม่ซื้อไปฉาย
ระบบสายหนังยังเกี่ยวข้องกับ
“หนังกลางแปลง”
ด้วย เพราะหากอยากจัดฉายหนังกลางแปลงก็ต้องติดต่อซื้อฟิล์มจากจากสายหนังในเขตของตน ไม่ใช่ติดต่อผู้ผลิต โดยฟิล์มที่สายหนังเอามาขาย ก็คือฟิล์มหนังที่หมดโปรแกรมฉายแล้วนั่นเอง
(แต่ก็มีบางเรื่องชนโรงเหมือนกัน)
ทั้งนี้ สิทธิในตัวฟิล์มจะขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้ผลิตกับสายหนัง ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ มักไม่มีข้อกำหนดว่าต้องส่งคืนฟิล์ม เมื่อภาพยนตร์หมดโปรแกรมฉาย สายหนังเลยสามารถเอาไปขายต่อให้หนังกลางแปลง โรงภาพยนตร์เล็กๆ หรือผู้ที่สนใจได้ แต่สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่เคร่งเรื่องลิขสิทธิ์ ก็จะมีการกำหนดให้ส่งคืนฟิล์มเพื่อนำไปทำลายก็มี แต่บางทีสายหนังก็แอบลักไก่ไม่คืน หรือแอบก๊อปปี้ไว้ขายต่อเองก็มีนะ
Major และ SF ในต่างจังหวัด ใช้ระบบอะไร
ปัจจุบัน
Major
และ
SF
คือธุรกิจโรงภาพยนตร์ที่มีขนาดใหญ่และกินส่วนแบ่งการตลาดได้มากที่สุดในประเทศ รวมถึงมีการขยายสาขาไปต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่เป็นข้อสงสัยของหลายๆ คนก็คือ ในเมื่อเป็นสาขาของ
Major
และ
SF
ระบบคอมพิวเตอร์ข้อมูลก็น่าจะเชื่อมโยงกัน แต่ทำไมถึงไม่สามารถรายงานรายได้เหมือนในเขต กทม. ปริมณฑล และเชียงใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะโรงภาพยนตร์สาขาของ Major และ SF ในต่างจังหวัด ก็ยังคงใช้ระบบสายหนังนั่นเอง ทำให้แม้จะมีการเก็บข้อมูลว่าขายตั๋วได้เท่าไหร่ แต่ก็ไม่สามารถเอาไปรวมกันรายได้ส่วนกลางได้ เพราะเงินไม่ได้เข้าค่ายหนัง แต่เป็นการแบ่งกันโดยตรงระหว่างสาขาในต่างจังหวัดกับสายหนัง (สัดส่วนก็ประมาณ 50-50 เช่นเดียวกับส่วนกลาง)
เหตุที่ Major และ SF ในต่างจังหวัดยังเลือกใช้ระบบสายหนัง มีอยู่หลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นอิทธิพลของสายหนังในพื้นที่ยังมีอยู่เยอะ ความไม่พร้อมของค่ายหนังเองที่จะดีลโดยตรงกับสาขาในต่างจังหวัด เพราะนั่นหมายถึงต้นทุนในการตรวจสอบรายได้ที่สูงขึ้น และการตั้งสาขาในต่างจังหวัด บางทีก็ไม่ใช่ทุนของ Major หรือ SF อย่างเดียว แต่เป็นการร่วมทุนกับนักธุรกิจท้องถิ่น โรงภาพยนตร์ท้องถิ่น หรือแม้แต่หุ้นกับสายหนังเอง พวกนี้ยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับสายหนัง จึงยังเลือกใช้ระบบเดิมต่อไป อย่าง SF เองก็เติบโตมาจากสายหนังก็น่าจะยังสนับสนุนระบบเดิมอยู่ แต่ Major นี่ เคยมีข่าวว่าตั้งใจจะดีลกับค่ายหนังเองให้หมด แต่ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่างทำให้ยังใช้ระบบนี้ แต่อนาคตไม่แน่… (เสี่ยเจียง แห่งสหมงคลฯ เคยประกาศแบน Major เพราะกลัวจะมายกเลิกสายหนัง แต่ก็แบนได้แค่เดือนเดียว ก็ตกลงกันได้)
อนาคตของสายหนัง
อย่างที่บอกไปว่าสมัยก่อนสายหนังมีอิทธิพลมาก
สามารถกำหนดทิศทางภาพยนตร์ (ไทย)
ได้เลยทีเดียว ปัจจุบันระบบสายหนังก็ยังใช้อยู่ในต่างจังหวัด แต่โดยความเห็นส่วนตัว อิทธิพลของสายหนังกำลังลดลงเรื่อยๆ และไม่แน่ว่าในอนาคตอันใกล้ อาจถึงขั้นยกเลิกระบบสายหนังกันเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็เพราะ 2 ปัจจัยสำคัญ คือ
การขยายตัวของ Major และ SF
…ในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมา เห็นได้ชัดว่า Major และ SF ได้ขยายสาขาไปต่างจังหวัดมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ Major ที่ตอนนี้มีสาขาในต่างจังหวัดกว่า 40 สาขา ไม่นับรวมแบรนด์ EGV ที่อยู่ภายใต้ Major อีก สาขาเหล่านี้ได้เข้าไปแทนที่และแย่งความนิยมจากโรงภาพยนตร์ท้องถิ่นที่อยู่ในการดูแลของสายหนังได้จำนวนมาก แม้ปัจจุบัน Major และ SF ในต่างจังหวัด จะใช้ระบบสายหนัง แต่ด้วยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้น ระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกัน และความต้องการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน คงจะส่งผลให้สายหนังลดบทบาทลงไปพอควร
การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล
…เป็นที่แน่นอนแล้วว่าระบบการถ่ายทำและฉายภาพยนตร์กำลังเปลี่ยนผ่านจากฟิล์มไปสู่ดิจิตอล ใน Hollywood เห็นได้ชัดว่าสัดส่วนภาพยนตร์ที่ถ่ายด้วยฟิล์มลดน้อยลงเรื่อยๆ และโรงภาพยนตร์ส่วนใหญ่ในโลกก็กำลังเปลี่ยนเป็นโรงดิจิตอล เพราะนอกจากจะให้สอดคล้องกับระบบการถ่ายแล้ว ยังเป็นโอกาสในการขายตั๋วได้แพงขึ้น ปัญหาคือ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิตอลต้องใช้ทุนสูงไม่น้อย เครือ Major กับ SF ที่มีทุนมากอยู่แล้ว อาจไม่มีปัญหาในการเปลี่ยนผ่านมากนัก แต่กับโรงภาพยนตร์ของสายหนัง ไม่ว่าจะ ธนาซีนีเพล็กซ์, Coliseum Multiplex, Nevada Cineplex รวมไปถึงโรงภาพยนตร์ชั้นสอง แทบทั้งหมดยังใช้ระบบฟิล์ม และไม่น่าจะทุนพอกับการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้ ประกอบกับสายหนังยังพลาดที่ไม่พัฒนาคุณภาพโรงภาพยนตร์ให้ดีเท่าที่ควร ดังนั้น ในอนาคตโรงเหล่านี้อาจประสบภาวะขาดทุนและต้องปิดตัวลง ซึ่งจะส่งผลให้อำนาจการต่อรองของสายหนังน้อยลงไปอีก[/color]
อ้างอิง
กิติมา สุรสนธิ.
ความรู้ทางการสื่อสาร
. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2548.
อุษา ไวยเจริญ.
การควบรวมกิจการในธุรกิจโรงภาพยนตร์
. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.
film หนังไปไหน…..
http://2g.pantip.com/cafe/chalermthai/topic/A8499814/A8499814.html
‘พี่มาก..พระโขนง’ โกย 407 ล้าน เชียงใหม่ 17 ล้าน-ภูเก็ต 10 ล้าน
http://www.thairath.co.th/content/ent/339558
เว็บคนรักหนังกลางแปลง
http://www.thaicine.com
“เสี่ยเจียง” บอยคอต “เมเจอร์” เปิดศึกวัดบารมีราชาโรงหนัง
http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=350
บันทึกการเข้า
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120 E-Mail
soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า หมายเลขบัญชี 210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บางเขน หมายเลขบัญชี 041-273435-0
ติดต่อ 0909040355
ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ข้อมูลภาพยนตร์โดย นักพากย์ย้อนยุค
»
ข้อมูลทั่วไป
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
นักพากย์ภูธรย้อนยุค
) »
“สายหนัง” อีกหนึ่งตัวละครสำคัญในวงการธุรกิจภาพยนตร์ของไทย