ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน  (อ่าน 1598 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:25:13 »
ภาพยนตร์ไทยยุคหลังสงคราม

ระยะฟื้นตัว

          เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลงในปี ๒๔๘๘ ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นประเทศแพ้สงคราม เพราะขบวนการเสรีไทยและความสนับสนุนของสหรัฐอเมริกา กิจการต่างๆของประเทศจึงค่อยๆ ฟื้นตัว

          กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยก็เริ่มฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์ ได้เริ่มต้นสร้างภาพยนตร์ไทยพากย์โดยใช้ฟิล์มขนาดเล็ก ๑๖ มิลลิเมตรขึ้นมาอีก


          ในระยะสามสี่ปีแรก คือจากปี ๒๔๘๙ ถึง ๒๔๙๒ ปรากฏว่ามีการสร้างภาพยนตร์ไทยดังกล่าวออกมาเฉลี่ยปีละประมาณสิบเรื่อง และในบรรดาภาพยนตร์ไทยหลังสงครามระยะแรกฟื้นตัวนี้ มีภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่คือ “สุภาพบุรุษเสือไทย” ของปรเมรุภาพยนตร์ สำเนา เศรษฐบุตร เป็นผู้อำนวยการสร้าง ถ่ายภาพและกำกับการแสดงโดย ม.จ.ศุกรวรรณดิศ ดิศกุล และ แท้ ประกาศวุฒิสาร นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ นักแสดงซึ่งมีชื่อเสียงมาจากละครเวที

          “สุภสพบุรุษเสือไทย” ออกฉายในเดือนมิถุนายน ๒๔๙๒ สามารถทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเวลานั้น

          ความสำเร็จอย่างสูงของภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งถ่ายทำด้วยฟิล์ม ๑๖ มิลลิเมตร สีธรรมชาติ และเป็นภาพยนตร์พากย์ มีผลให้วงการสร้างภาพยตร์ไทยตื่นตัว มีผู้กระโจนเข้ามาสู่วงการนี้อย่างมากมายทันที ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนจากจำนวนภาพยนตร์ไทยที่ผลิตออกมาฉายในปีต่อมา คือ ๒๔๙๓ ซึ่งปรากฏว่าพุ่งสูงขึ้นกว่าเดิมถึงห้าเท่าตัว และนับจากนั้นมาจำนวนภาพยนตร์ไทยที่ผลิตออกมาแต่ละปี จะอยู่ในราว ๕๐ ถึง ๖๐ เรื่อง ติดต่อกันอยู่เช่นนี้นับสิบปี

          ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยที่เกิดขึ้นอย่างมากมายและหลากหลายในระยะนี้ มิได้ตั้งเป็นบริษัทอย่างเป็นทางการ ไม่มีการสร้างโรงถ่ายใหญ่โตอย่างสมัยก่อนสงคราม ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทำงานเล็กๆ ในหมู่ครอบครัวหรือญาติมิตร

          ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยเหล่านี้ มีชื่อกิจการต่างๆกันมากมาย เช่น ปรเมรุภาพยนตร์ ภาพยนตร์พานิช บางกอกฟิล์มหรือกรุงเทพภาพยนตร์ สนั่นศิลปภาพยนตร์ เนรมิตรภาพยนตร์ สถาพรภาพยนตร์ นครพิงค์ภาพยนตร์ สหนาวีไทย อัศวินภาพยนตร์ ละโว้ภาพยนตร์ รัตนะภาพยนตร์ เอเซียภาพยนตร์ สุโขทัยภาพยนตร์ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเข้ามาเป็นผู้สร้างด้วย เช่น ภาพยนตร์ออมสินศึกษา ภาพยนตร์กองสวัสดิการกรมตำรวจ ภาพยนตร์กองสวัสดิการกองทัพบก

          ผลงานภาพยนตร์ไทยที่สำคัญในระยะนี้ เช่น “รอยไถ” ของกรุงเทพภาพยนตร์ (๒๔๙๓) “พันท้ายนรสิงห์” ของอัศวินภาพยนตร์ (๒๔๙๓) “วนิดา” ของละโว้ภาพยนตร์ (๒๔๙๘) เป็นต้น

การเปลี่ยนแปลง

          ปี ๒๕๑๓ นับเป็นปีสำคัญแห่งการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการภาพยนตร์ไทย ในบรรดาภาพยนตร์ไทยมาตรฐานที่ออกฉายในปีนี้ มีอยู่สองเรื่องซึ่งมีบทบาทสำคัญยิ่งสามารถกำหนดทิศทางความเป็นไปของวงการ นั่นคือ “มนต์รักลูกทุ่ง” ของรุ่งสุริยาภาพยนตร์ และ “โทน” ของสุวรรณฟิล์ม “มนต์รักลูกทุ่ง” กำกับการแสดงโดย รังสี ทัศนพยัคฆ์ ซึ่งมีผลงานสร้างและกำกับภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ มาแล้วมากมาย เป็นภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จเป็นประวัติการณ์ของภาพยนตร์ไทย ออกฉายครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์โคลีเซียม กรุงเทพฯ นานติดต่อกันถึง ๖ เดือน ทำสถิติรายได้สูงสุดถึง ๙ ล้านบาท ก่ให้เกิดความตื่นตะลึงไปทั่ว

          สาเหตุความสำเร็จของ “มนต์รักลูกทุ่ง” น่าจะอยู่ที่การรวมเอาความสุดยอดของสูตรสำเร็จภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร โดยเฉพาะคือการให้ มิตร-เพชรา เป็นคู่แสดงนำ ผนวกกับสุดยอดของเพลงลูกทุ่ง ซึ่งเป็นเพลงที่ครองใจชาวไทยระดับชาวบ้านทั่วประเทศ

          ส่วน “โทน” สร้างโดยผู้สร้างหน้าใหม่ และกำกับการแสดงโดย เปี๊ยก โปสเตอร์ ผู้กำกับหน้าใหม่ซึ่งก้าวขึ้นมาจากช่างเขียนป้ายโฆษณาขนาดใหญ่และช่างเขียนใบปิดโฆษณาภาพยนตร์มือหนึ่งของวงการขณะนั้น ความสำเร็จของ “โทน” ก็คือสามารถจุดความหวังใหม่ให้แก่ผู้ที่ปรารถนาจะเห็นภาพยนตร์ไทยมีพัฒนาการทางคุณภาพและคุณค่าทางศิลปะ “โทน” สามารถเรียกร้องผู้ที่เคยตั้งข้อรังเกียจภาพยนตร์ไทย ให้หันกลับมาสนใจดูภาพยนตร์ไทย


          ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้มีผลทำให้บรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะผู้สร้างในระบบ ๑๖ มิลลิเมตร ซึ่งเริ่มรู้สึกตัวกันมาก่อนหน้านี้แล้วว่าภาพยนตร์ไทยมีแนวโน้มจะต้องเปลี่ยนไปเป็นการสร้างภาพยนตร์มาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม ยิ่งพากันรู้สึกหวั่นไหวมากขึ้นว่า ถึงเวลาที่พวกตนจะต้องเปลี่ยนแปลงจริงๆแล้ว

          ฝ่ายผู้ชมภาพยนตร์ไทย ซึ่งมีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ไทยระบบมาตรฐานบ่อยขึ้น ก็เริ่มรู้สึกชอบใจและติดใจภาพยนตร์ไทยมาตรฐานมากกว่า เพราะจอกว้างใหม่กว่า สีเสียงสดใสตระการตา ในระยะนั้น ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตรหลายรายพยายามปรับตัวด้วยการถ่ายทำบางฉาก โดยเฉพาะฉากร้องเพลง เป็นระบบมาตรฐาน แทรกปนอยู่ในภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตรของตน

          ปี ๒๕๑๓ เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝันอย่างหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นจุดสุดยอดผลักให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทย นั่นคือการประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตของ มิตร ชัยบัญชา ซึ่งร่วงลงมาจากการห้อยโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ขณะเข้าฉากแสดงอยู่ในภาพยนตร์ไทยมาตรฐานเรื่อง “อินทรีทอง”

          การเสียชีวิตอย่างกะทันหันของ มิตร ชัยบัญชา กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญประการสุดท้ายที่ทำให้การสร้างภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ ซึ่งรุ่งเรืองมาเป็นเวลากว่ายี่สิบปีต้องสิ้นสุดลง ทั้งนี้เพราะส่วนใหญ่ของภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร ที่กำลังสร้างค้างอยู่ในขณะนั้น มี มิตร ชัยบัญชา แสดงนำภาพยนตร์เหล่านี้ต้องเลิกสร้างไปโดยปริยาย และนับจากนั้นมาผู้สร้างภาพยนตร์ไทยต่างหันไปสร้างภาพยนตร์มาตรฐานทีละรายสองราย นับจากปี ๒๕๑๕ ไม่มีใครสร้างภาพยนตร์ ๑๖ มิลลิเมตรอีกต่อไป


ภาพยนตร์ไทยปัจจุบัน

          ในที่สุดกิจการสร้างภาพยนตร์ไทย ซึ่งกำเนิดขึ้นแล้วพัฒนาแตกออกไปเป็นสองสาย คือ ภาพยนตร์ไทยพากย์ และภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์ม ตั้งแต่สมัยก่อนสงคราม แล้วคลี่คลายเป็นภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ กับภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม เมื่อหลังสงครามแล้ว และที่สุดหลังจากปี ๒๕๑๔ ก็คลี่คลายอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้รวมกันเข้าเป็นสายเดียวกัน คือ ภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์มจุดนี้นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นยุคภาพยนตร์ไทยปัจจุบัน

          อย่างไรก็ดี แม้ว่าจะรวมเป็นสายเดียวกัน แต่ลักษณะแตกต่างทางความคิดยังคงปรากฏอยู่เป็นสองกลุ่ม กล่าวคือ กลุ่มหนึ่งเป็นบรรดาผู้สร้างที่ยังคงมีความคิดและความเชื่อในสูตรสำเร็จเก่าๆ เช่น เมื่อสูญเสียมิตร ชัยบัญชาไป ผู้สร้างกลุ่มนี้ก็พยายามแสวงหานักแสดงคนอื่นมาแทนมิตร ที่สุดก็ได้ สมบัติ เมทะนี มาแทน และมี พิสมัย วิไลศักดิ์ กับ อรัญญา นามวงศ์ มาแทน เพชรา เชาวราษฏร์ แต่ไม่กี่ปีต่อมาก็มี สรพงษ์ ชาตรี กับ จารุณี สุขสวัสดิ์ มาเป็นสูตรสำเร็จแทนอีกระยะหนึ่ง

          ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นความคิดของผู้สร้างที่ตั้งใจจะพัฒนาเพื่อยกระดับคุณค่าทางศิลปะของภาพยนตร์ไทย ผู้สร้างกลุ่มนี้ กล้าหาญที่จะเปลี่ยนแปลงและนำเสนอสิ่งใหม่ๆ เข้ามาสู่วงการสร้างภาพยนตร์ไทย

          เปี๊ยก โปสเตอร์ ยังคงมีบทบาทเป็นผู้นำกลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์หัวก้าวหน้า ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเขาต่อจาก “โทน” คือ “ดวง” ซึ่งออกฉายปี ๒๕๑๔ และเรื่องที่สามคือ “ชู้” ออกฉายปี ๒๕๑๕ โดยเฉพาะเรื่องหลังนี้ ปรากฏว่าได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ในความห้าวหาญสร้างสรรค์ภาพยนตร์ให้เป็นงานศิลปะ ผลงานของ เปี๊ยก โปสเตอร์ เป็นแรงดลใจให้ผู้สร้างผู้กำกับภาพยนตร์ไทยหัวก้าวหน้าสร้างสรรค์ผลงานติดตามออกมาเป็นขบวนการ เริ่มจาก สักกะ จารุจินดา ซึ่งสร้าง “วิมานสลัม” (๒๕๑๕) และ “ตลาดพรหมจารี” (๒๕๑๖) และ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งสร้าง “มันมากับความมืด” (๒๕๑๕) และ “เขาชื่อกานต์” (๒๕๑๖)

          ปรากฏการณ์ใหม่อีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นในวงการภาพยนตร์ไทยคือ บริษัทซึ่งทำธุรกิจบริการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้จัดสร้างภาพยนตร์ด้วยตัวเอง โดยเกิดขึ้นในระยะแรก ๓ บริษัท ได้แก่ บริษัทไฟว์สตาร์ บริษัทสหมงคลฟิล์ม และบริษัทเอเพ็กซ์โปรดักชั่น โดยเฉพาะบริษัทหลังนี้นอกจากทำธุรกิจจัดจำหน่ายแล้ว ยังมีกิจการโรงภาพยนตร์ของตัวเองด้วยอีกหลายโรง การเข้ามาเป็นผู้จัดสร้างภาพยนตร์ด้วย จึงกล่าวได้ว่าเป็นการประกอบกิจการภาพยนตร์ที่ผูกขาดครบวงจร

          บริษัทสร้างภาพยนตร์เหล่านี้ ต่างพยายามดุงผู้สร้างผู้กำกับการแสดง ตลอดจนนักแสดงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงดีเด่น เข้าอยู่ในสังกัดของตน ผู้สร้างผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ไทย ซึ่งแต่เดิมมาเคยทำงานในลักษณะเป็นอาชีพอิสระ เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้ทยอยเข้ามาอยู่ในสังกัดบริษัทเหล่านี้

          นับจากปี ๒๕๑๖ เป็นต้นมา คนหนุ่มสาวที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัย ได้เริ่มเข้ามาสู่วงการภาพยนตร์ไทยโดยหน้าที่ต่างๆ แทบทุกตำแหน่งรวมทั้งผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ไทยเช่น ยุทธนา มุกดาสนิท อภิชาติ โพธิไพโรจน์ ปกรณ์ พรหมวิทักษ์ “ศุภักษร” ม.ล.พันธ์เทวนพ เทวกุล

          ขณะเดียวกันคนหนุ่มสาวจากวงการหนังสือพิมพ์และวงการโฆษณา ได้เข้ามาสู่วงการภาพยนตร์ไทยด้วย เช่น วีรประวัติ วงศ์พัวพันธ์ คิด สุวรรณศร เพิ่มพล เชยอรุณ สุชาติ วุฒิชัย เธียรชัย ลาภานันท์


          คนรุ่นใหม่เหล่านี้ ได้เข้ามาอยู่ในสังกัดบริษัทสร้างภาพยนตร์ในระบบใหม่ที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดียังมีผู้สร้างภาพยนตร์ไทยมืออาชีพแต่ดั้งเดิมบางราย ที่ปรารถนาจะดำเนินกิจการเป็นผู้สร้างอิสระของตัวเองต่อไป เช่น ดอกดิน กัญญามาลย์ แห่งกัญญามาลย์ภาพยนตร์ ชรินทร์ นันทนาคร แห่งนันทนาครภาพยนตร์ เชิด ทรงศรี แห่งเชิดไชยภาพยนตร์ “พันคำ” หรือ พร้อมสิน สีบุญเรือง แห่งสีบุญเรืองฟิล์ม ฉลอง ภักดีวิจิตร แห่งบางกอกการภาพยนตร์

          ผลงานภาพยนตร์ไทยของกลุ่มผู้สร้างรุ่นใหม่ ที่สำคัญและดีเด่นในระยะนี้ เช่น “เขาสมิง” (๒๕๑๖) ของ เปี๊ยก โปสเตอร์ “เทพธิดาโรงแรม” (๒๕๑๖) และ “ความรักครั้งสุดท้าย” (๒๕๑๘) ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล “พยัคฆ์ร้ายไทยถีบ” (๒๕๑๘) และ “ขุนศึก” (๒๕๑๙) ของ สักกะ จารุจินดา “ข้าวนอกนา” (๒๕๑๘) และ “ปราสาท” (๒๕๑๘) ของ เปี๊ยก โปสเตอร์

          ส่วนภาพยนตร์ของกลุ่มผู้สร้างมือเก่าในวงการ ที่น่าสนใจเช่น “ทอง” (๒๕๑๗) ของ ฉลอง ภักดีวิจิตร “แผ่นดินแม่” (๒๕๑๘) ของ ชรินทร์ นันทนาคร “ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ” (๒๕๑๗) และ ”นางเอก” (๒๕๑๙) ของ ปริญญา ลีละศร “สวัสดีคุณครู” (๒๕๒๐) ของ “พันคำ”


เหตุเฟื่องฟูและตกต่ำ

          ปี ๒๔๒๐ รัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ดำเนินการสนับสนุนกิจการสร้างภาพยนตร์ไทยด้วยมาตรการขึ้นอัตราภาษีศุลกากรการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ เป็นผลให้การนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศลดจำนวนลงฮวบฮาบทันที เกิดภาวะการขาดแคลนภาพยนตร์สำหรับป้อนโรงภาพยนตร์ทั่วประเทศซึ่งมีอยู่ราว ๗๐๐ โรง สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้การผลิตภาพยนตร์ไทยเพิ่มปริมาณขึ้นทดแทนทันที จากที่เคยผลิตกันในระยะก่อนหน้าปี ๒๕๒๑ เลี่ยปีละ ๘๐-๑๐๐ เรื่อง เพิ่มขึ้นเป็นปีละ ๑๒๐-๑๖๐ เรื่อง

          ระยะสองสามปีหลังจากมาตรการขึ้นภาษีภาพยนตร์ต่างประเทศ จึงเป็นระยะที่กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟูขึ้นอีกครั้ง บริษัทสร้างภาพยนตร์รายใหญ่ที่มีอยู่สามรายคือ บริษัทนิวไฟว์สตาร์ ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทไฟว์สตาร์โปรดักชั่น บริษัทสหมงคลฟิล์ม และบริษัทเอเพ็กซ์โปรดักชั่น ยังคงเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์สำคัญของประเทศ ขณะเดียวกัน ระยะนี้เองได้เกิดบริษัทสร้างภาพยนตร์เช่นนี้เพิ่มขึ้นอีกสองสามราย ได้แก่ บริษัทเพิ่มพูนทรัพย์โปรดักชั่น บริษัทพีดีโปรโมชั่น บริษัทโอเรียนเต็ลอาร์ต

          ผลงานภาพยนตร์ไทยเรื่องสำคัญในระยะเฟื่องฟูนี้ เช่น “รักอลวน” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๐) โดย เปี๊ยก โปสเตอร์ “เพื่อนรัก” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๐) โดย สักกะ จารุจินดา “ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๐) โดย ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นต้น


          นอกจากนี้ ยังมีภาพยนตร์อีกสองสามเรื่องซึ่งสร้างโดย ผู้สร้างอิสระ และปรากฏว่ามีความดีเด่นและบทบาทสำคัญยิ่งต่อวงการภาพยนตร์ไทยโดยส่วนรวมในระยะนั้น ได้แก่ “แผลเก่า” และ “ครูบ้านนอก”

         “แผลเก่า” ของบริษัทเชิดไชยภาพยนตร์ โดย เชิด ทรงศรี ออกฉายปี ๒๕๒๐ เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายชีวิตรักของหนุ่มสาวไทยพื้นบ้านสมัยก่อนสงครามครั้งที่สองของ ไม้ เมืองเดิม เป็นนิยายซึ่งเคยผู้นำไปสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์มาก่อนแล้ว และประสบความสำเร็จทุกครั้ง เพราะความกินใจของความรักเชิงตำนานโศกนาฏกรรมอมตะทำนองเดียวกับโรมิโอ-จูเลียต

         “ครูบ้านนอก” ของบริษัทดวงกมลมหรสพ โดยสุรสีห์ ผาธรรม ออกฉายปี ๒๕๒๑ สร้างจากนิยายของ คำหมาน คนไค แสดงเรื่องราวชีวิตความเป็นอยู่และสภาพปัญหาของชนบททุรกันดารในภาคอีสานอย่างจริงจัง


          ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างสูงทั้งในด้านคำนิยมยกย่องจากนักวิจารณ์และการต้อนรับจากผู้ชมสามารถทำสถิติรายได้สูงเป็นประวัติการณ์ทั้งคู่และก่อให้เกิดการเลียนแบบสร้างภาพยนตร์ในแนวนี้ติดตามมาเป็นขบวนการอีกหลายเรื่อง และต่างก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประกวดและฉายในงานมหกรรมภาพยนตร์นานาชาติหลายแห่ง มีส่วนทำให้ภาพยนตร์ไทยเป็นที่รู้จักและสนใจของวงการภาพยนตร์สากลมากขึ้น

          กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยเฟื่องฟูอยู่ได้เพียงสองสามปี สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป มีเหตุให้จำนวนการผลิตภาพยนตร์ต่อปีตกต่ำลงทันที สาเหตุแรกก็คือ หลังจากปี ๒๕๒๔ บริษัทตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์รายใหญ่ของฮอลลีวู้ด ได้เริ่มส่งภาพยนตร์เข้ามาฉายในตลาดประเทศไทยอีก หลังจากการประท้วงเรื่องภาษีไม่ได้ผล อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากการแข่งขันพัฒนากิจการวิทยุโทรทัศน์สถานีต่างๆ ในประเทศไทยโดยเฉพาะสถานีในกรุงเทพฯ ซึ่งนอกจากแข่งขันในด้านคุณภาพรายการแล้ว ยังแข่งขันในด้านการแพร่ภาพออกอากาศจนสามารถครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และสาเหตุสุดท้ายคือการเกิดขึ้นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วของตลาดเครื่องเล่นแถบบันทึกภาพโทรทัศน์

          จำนวนผลผลิตภาพยนตร์ไทยตกต่ำลงอย่างฮวบฮาบ ในระยะแรกคือ ช่วงปี ๒๕๒๕-๒๖ เหลือเพียงปีละไม่ถึงหนึ่งร้อยเรื่อง ฌรงภาพยนตร์หลายโรง โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ต้องหยุดพักหรือเลิกกิจการไปตามๆกัน คนในวงการสร้างภาพยนตร์ไทยบางรายก็หันไปทำงานในวงการโทรทัศน์ อย่างไรก็ดีสถานการณ์ได้ค่อยๆ กระเตื้องขึ้นและทรงตัว


          ปัจจุบันนี้มีบริษัทสร้างภาพยนตร์ไทยที่สำคัญอยู่ ๔ รายใหญ่คือ ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น สหมงคลฟิล์ม พูนทรัพย์ฟิล์ม และเอเพ็กซ์โปรดักชั่น และยังคงมีผู้สร้างอิสระซึ่งเป็นผู้สร้างมือเก่ามาแต่ครั้งยุค ๑๖ มิลลิเมตรอีกสามสี่ราย บริษัทและผู้สร้างอิสระเหล่านี้ ผลิตภาพยนตร์ไทยออกฉายเฉลี่ยปีละประมาณร้อยเรื่องเศษ ซึ่งทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในบรรดาประเทศผู้ผลิตภาพยนตร์รายใหญ่ของโลก

          ผลงานภาพยนตร์ไทยที่ดีเด่นในปัจจุบันนี้ได้แก่ “ลูกอีสาน” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๕) โดย วิจิตร คุณาวุฒิ “มือปืน” (วีซีโปรโมชั่นแอนด์พิคเจอร์ ๒๕๒๗) โดย ม.จ.ชาตรเฉลิม ยุคล “เพื่อน-แพง” (เชิดไชยภาพยนตร์ ๒๕๒๗) โดย เชิด ทรงศรี “น้ำพุ” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๗) และ “ผีเสื้อกับดอกไม้” (ไฟว์สตาร์ ๒๕๒๘) โดย ยุทธนา มุกดาสนิท


          ผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ไทยที่มีชื่อเสียง นอกจาก ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล ซึ่งทรงปรากฏเป็นที่รู้จักในทางสากลจากผลงานภาพยนตร์สะท้อนสังคมหลายเรื่องของท่านแล้ว เชิด ทรงศรี เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ไทยอีกคนหนึ่งซึ่งปรากฏชื่อเสียงในทางสากลจากผลงานภาพยนตร์แสดงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย

          ยังมีผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ไทยอีกสองคน ซึ่งมีผลงานสร้างชื่อเสียงและเกียรติยศให้แก่ชาติอย่างยิ่งในระยะปัจจุบัน คือ วิจิตร คุณาวุฒิ และยุทธนา มุกดาสนิท


          ยุทธนา มุกสนิท เป็นผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์รุ่นใหม่และวัยหนุ่ม (เกิด ๒๔๙๕) เข้าได้รับรางวัลชนะเลิศในฐานะผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์ ในงานมหกรรมภาพยนตร์ ในงานมหกรรมภาพยนตร์นานาชาติแห่งฮาวายเมื่อปี ๒๕๒๙ จากผลงานเรื่อง “ผีเสื้อกับดอกไม้”

           วิจิตร คุณาวุฒิ เป็นผู้สร้างและผู้กำกับการแสดงภาพยนตร์รุ่นอาวุโสของไทย (เกิด ๒๔๖๕) ในอดีตเขาเป็นผู้สร้างภาพยนตร์ไทยที่ได้รับฉายาว่า เศรษฐีตุ๊กตาทอง จากการได้รับรางวัลมากมายในการประกวดภาพยนตร์ในประเทศ ผลงานเกียรติยศของเขาคือ “ลูกอีสาน” ภาพยนตร์ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นงานภาพยนตร์ที่ดีเลิศของชาติ วิจิตร คุณาวุฒิ ได้รับการคัดเลือกจาก สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาภาพยนตร์ เมื่อปี ๒๕๓๐ นับเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขานี้คนแรก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 15:03:33 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:30:49 »
ยุคทองของภาพยนตร์ไทย กำเนิดภาพยนตร์ไทยพูดได้

          ในระยะปลายปี ๒๔๗๒ ต่อ ๒๔๗๓ ได้มีคณะฝรั่งนักถ่ายภาพยนตร์เสียงในฟิล์มจากบริษัท ฟ้อกซ์มูวี่โทน แห่งสหรัฐอเมริกา เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเสียงในฟิล์มเป็นครั้งแรกในสยาม คณะถ่ายภาพยนตร์นี้ดีรับความอนุเคราะห์จาก พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร เสนาบดีกระทรวงพานิชย์และคมนาคมขณะนั้นให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อบันทึกภาพยนตร์เสียง พระองค์ทรงกล่าวแนะนำประเทศสยามเป็นภาษาอังกฤษไว้ในภาพยนตร์นี้ด้วย

          ในครั้งนั้น ปรากฏว่า หลวงกลการเจนจิต และนายกระเศียร วสุวัต สองพี่น้องสกุลวสุวัต แห่งคณะผู้สร้างภาพยนตร์ไทยในนามกรุงเทพภาพยนตร์บริษัท ซึ่งเวลานั้นรับราชการอยู่ในกองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว กรมรถไฟหลวง ได้มีโอกาสช่วยงานคณะถ่ายภาพยนตร์เสียงนี้อย่างใกล้ชิด จนคุ้นเคยสนิทสนม คณะฝรั่งได้ถ่ายทอดวิธีการทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม และให้พี่น้องวสุวัตยืมอุปกรณ์ไปทดลองถ่ายทำภาพยนตร์เสียงด้วยตนเอง ซึ่งพวกเขาได้ทดลองถ่ายทำภาพยนตร์เสียงบันทึกการแสดงเบ็ดเตล็ดของคณะจำอวด นายทิ้ง มาฬมงคล นายยอบ บุญติด และบันทึกการแสดงเดี่ยวซอสามสายโดย พระยาภูมิเสวิน กับการเดี่ยวจะเข้ โดยนางสนิทบรรเลงการซึ่งนับได้ว่าเป็นการถ่ายทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มโดยคนไทยเป็นครั้งแรก

          ต่อมาพี่น้องวสุวัตได้นำผลงานภาพยนตร์เสียงในฟิล์มที่ได้ทดลองทำขึ้นนี้ ออกฉายสู่สาธรณชนที่โรงภาพยนตร์พัฒนากรดมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๗๓ โดยดัดแปลงเครื่องฉายภาพยนตร์เงียบให้เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์เสียง สำหรับการฉายครั้งนี้ด้วย ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากมหาชนด้วยความตื่นเต้นยินดี

          นับแต่นั้นมา คณะพี่น้องวสุวัต ก็หันมาสนใจการสร้างภาพยนตร์เสียง ได้ทุ่มเทเวลาไปกับการคิดค้นดัดแปลงกล้องถ่ายภาพยนตร์เงียบของตน ให้เป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ซึ่งต้องอาศัยความอุสาหวิริยะอย่างยิ่ง จนล่วงถึงปี๒๔๗๔ แล้ว จึงทำได้สำเร็จ


           วันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๔๗๔ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระราชินี เสด็จฯกลับจากประพาสสหรัฐอเมริกา คณะพี่น้องวสุวัตได้ถ่ายทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มบันทึกเหตุการณ์ในพิธีรับเสด็จ และนำออกฉายสู่สาธรณชนเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม ๒๔๗๔ และครั้งนี้พวกเขาเรียกชื่อกิจการภาพยนตร์ของตนว่า “ภาพยนตร์เสียงศรีกรุง” ทั้งยังระบุด้วยว่าเป็นภาพยนตร์เสียงแบบวสุวัต

          หลังจากนั้น คณะพี่น้องวสุวัต ในนามคณะภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ก็คิดทำภาพยนตร์เสียงชนิดเรื่องบันเทิง ซึ่งจะเป็นประวัติการณ์เรื่องแรกของชาติ ประจวบกับปี ๒๔๗๕ ที่กำลังจะเข้ามาถึงจะเป็นปีแห่งการเฉลิมฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี พวกเขาจึงมีจุดมุ่งหมายจะสร้างภาพยนตร์ไทยพูดได้เรื่องแรกของชาติเพื่อร่วมการเฉลิมฉลองอันสำคัญนี้

          คณะพี่น้องวสุวัตได้สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงชั่วคราวขึ้นในสนามหน้าบ้านของตน ย่างสะพานขาว ด้วยกระโจมผ้าใบที่ใช้ในการแสดงละครสัตว์ และลงมือถ่ายทำภาพยนตร์ไทยพูดได้เรื่องแรกซึ่งชื่อว่า “หลงทาง” แต่งเรื่องและกำกับโดย ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์) ผู้ซึ่งเพิ่งประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงมาจากการกำกับภาพยนตร์ไทยเงียบเรื่อง “รบระหว่างรัก” ของหัสดินทรภาพยนตร์” พี่น้องวสุวัตจึงชักชวนมาร่วมงาน


          คณะพี่น้องวสุวัตถ่ายทำ “หลงทาง” สำเร็จและนำออกฉายที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ของสยามขณะนั้น และเป็นวันเริ่มต้นการเฉลิมฉลองพระนคร ๑๕๐ ปีพอดี
 
         ปี ๒๔๗๖ กลุ่มพ่อค้าชาวจียในสยาม ได้ว่าจ้างคณะพี่น้องวสุวัต สร้างภาพยนตร์เสียงในฟิล์มพูดภาษาจีนกวางตุ้งเรื่อง “ความรักในเมืองไทย” ออกฉายครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๗๖

          ต่อมาในปลายปีนั้น คณะพี่น้องวสุวัตได้สร้างภาพยนตร์ไทยพูดได้เรื่องที่สองของตน คือ “ปู่โสมเฝ้าทรัพย์” เป็นภาพยนตร์ผจญภัยตื่นเต้น และได้ทดลองถ่ายทำบางฉากด้วยฟิล์มสี สำเร็จออกฉายครั้งแรกเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๗๖
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:34:26 »
ยุคภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

          ปี ๒๔๗๗ พี่น้องวสุวัตได้เริ่มลงมือก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงอย่างถาวรและทันสมัยใหญ่โตขึ้นที่บริเวณทุ่งนา ชานพระนคร (บริเวณปากซอยอโศก ถนนสุขุมวิท ปัจจุบัน) ซึ่งเวลานั้นเรียกว่า ทุ่งบางกะปิ และในระหว่างนี้ คณะพี่น้องวสุวัตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลประชาธิปไตยขณะนั้นให้จัดสร้างภาพยนตร์เสียงเรื่อง “เลือดทหารไทย” เป็นภาพยนตร์เรื่องบันเทิงซึ่งมุ่งหมายจะเผยแพร่กิจการของกองทัพไทยและปลุกใจให้รักชาติ ออกฉายครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน ๒๔๗๘

          ปี ๒๔๗๘ การก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ทุ่งบางกะปิ ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตขนาดใหญ่ ประกอบด้วยโรงถ่ายเก็บเสียง ห้องปฏิบัติการล้างและสำเนาฟิล์ม ห้องปฏิบัติการบันทึกเสียง ห้องตัดต่อ สำนักงานและอาคารบ้านพักสำเร็จลง คณะพี่น้องวสุวัตได้ติดตั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่พวกเขาได้ประดิษฐ์และดัดแปลงกันขึ้นเอง โรงถ่ายนี้เริ่มเปิดกิจการและดำเนินการในรูปบริษัท ชื่อ บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จำกัด นับเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงสมบูรณ์แบบแห่งแรกของชาติ

          บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ได้เริ่มผลิตภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ทั้งภาพยนตร์เรื่องบันเทิงและภาพยนตร์ข่าวสารสารคดีออกเผยแพร่ตั้งแต่ปี ๒๔๗๒ เป็นต้นไป มีบทบาทเป็นศูนย์กลางการผลิตภาพยนตร์เสียงสำคัญของชาติ สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนกระทั่งเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเริ่มขึ้นในยุโรปก่อนตั้งแต่ปี ๒๔๘๒ มีผลให้เกิดภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ โดยเฉพาะฟิล์มภาพยนตร์และสารเคมีในการล้างฟิล์มภาพยนตร์ในปีต่อๆมาประจวบกับได้เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในกรุงเทพฯเมื่อปี ๒๔๘๕ สร้างความเสียหายแก่โรงถ่ายอย่างมาก และสยามก็เข้าสู่เวทีสงครามโดยตรงดังนั้นหลังจากสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิง เรื่อง “น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง” ในปี ๒๔๘๕ ออกฉายแล้ว บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงก็ต้องยุติกิจการลงโดยปริยาย

          ตลอดเวลาราว ๗ ปีที่ดำเนินกิจการ โรงถ่ายภาพยนตร์เสียงศรีกรุง สามารถผลิตภาพยนตร์ไทยเสียงในฟิล์มออกเผยแพร่สูสาธรณชนได้ทั้งสิ้น  ๑๗ เรื่อง เฉลี่ยปีละ ๒-๓ เรื่อง

          บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ได้สร้างนักแสดงภาพยนตร์ระดับพระเอกและนางเอกซึ่งมีชื่อเสียงกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ชมภาพยนตร์ทไทยขึ้นคู่หนึ่ง คือ จำรัส สุวคนธ์ และมานี สุมนนัฏ อันนับได้ว่าเป็นนักแสดงภาพยนต์ระดับดาราคู่แรกในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:40:32 »
บริษัทไทยฟิล์มและผู้สร้างอื่นๆ

          ในปี ๒๔๘๐ ในขณะที่บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงกำลังเฟื่องฟูอยู่นั้น ได้มีคณะคนไทยอีกกลุ่มหนึ่งจัดตั้งบริษัทสร้างภาพยนตร์และก่อสร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงที่ได้มาตรฐานสมบูรณ์แบบขึ้นอีกแห่งหนึ่ง อยู่ที่ทุ่งมหาเมฆ ชานพระนครเช่นกัน

          คณะบุคคลผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทนี้ ใช้ชื่อว่าบริษัทภาพยนตร์ไทย จำกัด หรือไทยฟิล์ม ประกอบด้วยคนหนุ่มซึ่งสำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ เช่นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล นายพจน์ สารสิน หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ (นายประดิษฐ์ สุขุม) นายประสาท สุขุม เป็นต้น


          บริษํทรี้ได้สั่งซื้ออุปกรณ์การถ่ายทำภาพยนตร์เสียงอันทันสมัยเข้ามาจากฮอลลี้วู้ด สหรัฐอเมริกา โดยตรง และเริ่มผลิตภาพยนตร์ไทยพูดได้ออกฉายสู่สาธรณชนตั้งแต่ปี ๒๔๘๑ เป็นต้นมา โดยพระองค์เจ้าภานุพันธ์ยุคคล ทรงเป็นผู้กำกับการแสดง นายปรสาท สุขุม ซึ่งเคยศึกษาวิชาถ่ายภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดตั้งแต่เมื่อปี ๒๔๖๖ และได้เป็นสมาชิกแห่งสมาคมนักถ่ายภาพยนตร์ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ และนายชาญ บุนนาค ซึ่งเคยผ่านการศึกษาและดูงานด้านการทำภาพยนตร์เสียงจากฮอลลีวู้ด ทำหน้าที่เป็นช่างบันทึกเสียง

          ริษัทไทยฟิล์ม สามารถดำเนินกิจการสร้างภาพยนตร์ไทยพูดได้ เป็นคู่แข่งของบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง โดยผลิตภาพยนตร์ไทยพูดได้ออกฉายเฉลี่ยปีละ ๒ เรื่อง

          แต่หลังจากสร้าง “ลูกทุ่ง” ออกฉายในปี ๒๔๘๓ แล้วบริษัทไทยฟิล์มก็ประสบปัญหาด้านเงินทุน ถึงกับต้องหยุดกิจการ


          ในระหว่างนี้เอง นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในขณะนั้น ได้จัดสร้างภาพยนตร์ไทยพูดได้ขึ้นเรื่องหนึ่งในนามของบริษัทปรีดีภาพยนตร์ โดยใช้โรงถ่ายอุปกรณ์และบุคคลากรส่วนหนึ่งของบริษัทไทยฟิล์ม ภาพยนตร์เรื่องนี้คือ “พระเจ้าช้างเผือก” เป็นภาพยนตร์ไทยพูดภาษาอังกฤษเรื่องแรกและเรื่องเดียว ออกฉายครั้งแรกพร้อมกันในกรุงเทพฯ สิงคโปร์ และนิวยอร์ก เมื่อเดือนเมษายน ๒๔๘๔ ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ปรารถนาจะแสดงให้ชาวโลกเห็นว่าในประวิตศาสตร์ที่ผ่านมา ไทยเป็นชาติรักสันติ ไม่เคยคิดรุกรานเพื่อนบ้าน

        ต่อมาปี ๒๔๘๕ รัฐบาลโดยกองทัพอากาศ ได้ซื้อกิจการโรงถ่ายภาพยนตร์ของไทยฟิล์มที่ทุ่งมหาเมฆ และจัดตั้งกองภาพยนตร์ทหารอากาศขึ้น ทำหน้าที่ผลิตภาพยนตร์เพื่อโฆษณาเผยแพร่กิจการของกองทัพและรัฐบาลไทย

         นอกจากภาพยนตร์ข่าวสารแล้ว กองภาพยนตร์ทหารอากาศยังได้จัดสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงเสียงในฟิล์มด้วยเรื่องแรกที่สร้างคือ “บ้านไร่นาเรา” ซึ่งสร้างจากเค้าเรื่องโดย พลเอกแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นภาพยนตร์ที่มีจุดมุ่งหมายจะโฆษณาเผยแพร่นโยบายวัฒนธรรมและปลุกใจให้รักชาติของรัฐบาล ได้นำออกฉายเมื่อ ปี ๒๔๘๕


          ต่อมากองภาพยนตร์ทหารอากาศได้สร้างภาพยนตร์ไทยพูดเรื่องที่สอง ชื่อ “บินกลางคืน” เป็นเรื่องเกี่ยวกับภารกิจของเหล่านักบินไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ต่อต้านเครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่เข้ามาโจมตีทางอากาศในประเทศไทย แต่ยังสร้างไม่ทันสำเร็จ ก็ต้องยุติลง เพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐบาล และที่สุดกิจการของกองภาพยนตร์ทหารอากาศก็ต้องยุติลงด้วย
       
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ MECHAICINEMA49

  • ถ้าทุกอย่างที่อยู่ในมือ มันหนักไป หาที่มันพอดี แล้วเดินต่อไปนะครับ
  • Thaicine Explorer
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 4724
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:57:58 »
 :) ขอบคุณมากครับ
รังสฤษฎ์ บุญเขียว
1624 / 5-6 หมู่ 5(สุดถนนสี่เลนส์) ถ.ดอนเจดีย์-สระกระโจม ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี  ติดต่อไลน์ mechaicinema49 หรือ ไลน์ mechaicinema50
ชื่อบัญชี อรอุษา บุญเขียว ธ.กสิกรไทย สาขาโรบินสัน สุพรรณบุรี หมายเลขบัญชี 783-2-03759-6
อีเมลล์:mcs_cinema@hotmail.com

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 14:52:22 »
กำเนิดภาพยนตร์ไทยพากย์

          แต่เดิมมาการฉายภาพยนตร์ในสยามไม่มีการพากย์ใดๆในสมัยภาพยนตร์เงียบ ทางโรงภาพยนตร์จะจัดพิมพ์ใบปลิวซึ่งแจ้งโปรแกรมฉายภาพยนตร์และเล่าเรื่องย่อเป็นภาษาไทยและจีน ต่อมามีการตีพิมพ์เรื่องย่อภาพยนตร์ตามหน้าหนังสือพิมพ์กระทั่งตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กๆ ออกจำหน่ายด้วย

          ในปี ๒๔๗๑ นายต่วน ยาวะประภาษ เจ้าหน้าที่คนหนึ่งของบริษัทภาพยนตร์พัฒนากร ซึ่งเป็นกิจการโรงภาพยนตร์รายใหญ่ของสยามในเวลานั้น ได้คิดจัดให้มีเจ้าหน้าที่บรรยายเรื่องยืนอยู่ข้างๆจอภาพยนตร์ขณะกำลังฉาย เพื่อคอยแปลข้อความตัวอักษรบนจอจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยโดยตะโกนผ่านโทรโข่งที่ถืออยู่ในมือ ปรากฏเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมภาพยนตร์

          ปี ๒๔๗๔ มีภาพยนตร์เงียบของอินเดียเรื่อง “รามเกียรติ์” ตอน หนุมานเผาลงกา เข้ามาฉาย “ทิดเขียว” หรือ นายสิน สีบุญเรือง ซึ่งขณะนั้นทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายภาพยนตร์คนหนึ่งของบริษัทภาพยนตร์พัฒนากร ได้คิดนำเอาวิธีการพากย์โขนของไทยมาใช้ในการบรรยายภาพยนตร์เรื่องนี้ ปรากฏว่าเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชมเป็นอย่างยิ่ง และนับจากนั้นมาคำว่า พากย์ภาพยนตร์ ก็เกิดขึ้น

          เมื่อภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายแพร่หลายในสยามจนแทนที่ภาพยนตร์เงียบหมดสิ้นแล้ว การพากย์ภาพยนตร์เงียบก็พัฒนามาเป็นการพากย์เสียงภาษาไทยให้ภาพยนตร์เสียงในฟิล์มที่มาจากต่างประเทศ เพราะผู้ชมชาวสยามส่วนมากไม่สามารถเข้าใจภาษาพูดในภาพยนตร์ “ทิดเขียว” นั้นเองเป็นผู้ริเริ่มพากย์ภาพยนตร์เสียง เรื่องแรกที่พากย์คือ ภาพยนตร์ฝรั่งเรื่อง “อาบูหะซัน” เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๔๗๖ โดยพากย์เป็นคณะ ชายพากย์เสียงชาย หญิงพากย์เสียงหญิง


          การพากย์เสียงภาษาไทยให้แก่ภาพยนตร์เสียงต่างประเทศ ได้รับความนิยมและเติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นอาชีพใหม่อีกอย่างหนึ่งในวงการภาพยนตร์ของสยาม โรงภาพยนตร์ทั่วประเทศต้องกั้นห้องเฉพาะสำหรับนักพากย์คู่กับห้องฉายเสมอ และเวลานั้นนักพากย์ไม่ต้องยืนโก่งคอพากย์ผ่านโทรโข่งอยู่ข้างจออีกต่อไป แต่นั่งพากย์ใส่ไมโครโฟนผ่านเครื่องขยายเสียงกระจายออกทางลำโพงดังลั่นไปทั่วโรง

          การเกิดขึ้นของการพากย์ภาพยนตร์ เป็นผลให้กิจการสร้างภาพยนตร์เรื่องบันเทิงของไทย ซึ่งเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ปี ๒๔๗๐ ในแบบภาพยนตร์เงียบ ได้พัฒนาแยกออกเป็นสองแบบหรือสองสาย คือสายหนึ่งเป็นการสร้างภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม ซึ่งคณะพี่น้องวสุวัตเป็นผู้บุกเบิกพัฒนา ส่วนอีกรายหนึ่งคือการสร้างภาพยนตร์ไทยพากย์


          ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยรายอื่นๆ ซึ่งเคยสร้างภาพยนตร์เงียบมาก่อน นอกจากคณะพี่น้องวสุวัต ได้หันมาสร้างภาพยนตร์ไทยพากย์ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ ยังคงถ่ายทำอย่างภาพยนตร์เงียบ ไม่มีการบันทึกเสียงประกอบอื่นๆ ขณะฉายในโรง การสร้างภาพยนตร์พากย์จึงใช้ทุนรอนและวิธีการถ่ายทำถูกกว่าและง่ายกว่าภาพยนตร์เสียงมาก ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์เกิดขึ้นมากมาย และปรากฏว่าภาพยนตร์ชนิดพากย์นี้เป็นที่นิยมของผู้ชมระดับที่เรียกว่าชาวบ้านร้านตลาด เรื่องที่นำมาสร้างกันก็มักจะเป็นเรื่องนิทานพื้นบ้าน วรรณคดีที่รู้จักกันดี หรือนิยายยอดนิยม

          บริษัทหรือผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์ในระยะแรกที่สำคัญได้แก่
          บริษัททหัสดินทรภาพยนตร์ ของ ม.ร.ว.อนุศักดิ์ หัสดินทร์ ผลงานสำคัญเช่น “ระเด่นลันได” (๒๔๗๘) “แม่นาคพระโขนง” (๒๔๗๙)
          บริษัทศรีบูรพาภาพยนตร์ ผลงานสำคัญเช่น “โมรา” (๒๔๗๘) “ลูกกำพร้า” (๒๔๘๑) “ยอดเมียรัก” (๒๔๘๒) “สามหัวใจ” (๒๔๘๒)
          บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ สร้างเรื่อง “พระร่วง” (ขอมดำดิน) (๒๔๘๐)
          บริษัทบูรพาศิลป ของนายเทียน ศรีสุพรรณ ผลงานสำคัญเช่น “กุหลายเชียงใหม่” “กุหลาบสวรรค์” กุหลาบพระนคร” (ออกฉายระหว่าง ๒๔๗๙-๒๔๘๐)
          บริษัทละโว้ภาพยนตร์ ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลกร สร้าง “หนามยอกหนามบ่ง” (๒๔๗๙)


          บริษัท น.น.ภาพยนตร์ ของนายบำรุง แนวพานิช สร้าง “ขุนช้างขุนแผน” ภาค ๑ และ ๒ และเรื่อง “ดงตาล” ออกฉายปี ๒๔๗๙ ต่อมาบริษัทนี้พยายามพัฒนาไปสร้างภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม สร้างโรงถ่ายภาพยนตร์เสียงขึ้นที่ย่านวงเวียนใหญ่ธนบุรี สามารถสร้างโรงภาพยนตร์เสียงออกมาได้เรื่องหนึ่ง คือ”ปิดทางรัก” ออกฉายปี ๒๔๘๐ แต่เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์จึงยุติการสร้างภาพยนตร์เสียงไว้เพียงเท่านั้น

          เมื่อเกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มภาพยนตร์ เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มอุบัติขึ้นในยุโรปตั้งแต่ปี ๒๔๘๒ ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์บางรายได้หันมาใช้ฟิล์มขนาดเล็ก ๑๖มิลลิเมตร ซึ่งใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในหมู่นักสร้างภาพยนตร์สมัครเล่นและยังพอหาซื้อได้

           ผู้สร้างรายแรกที่ใช้ฟิล์ม ๑๖ มิลลิเมตร มาสร้างภาพยนตร์ไทยพากย์คือ นายเลื่อน พงษ์โสภณ เรื่อง “เมืองทอง” ออกฉายปี ๒๔๘๐ ต่อมา นายบุญชอบ อ่องสว่าง ในนามไตรภูมิภาพยนตร์ ก็สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์เรื่อง “สามปอยหลวง” โดยใช้ฟิล์มภาพยนตร์ ๑๖ มิลลิเมตรระบบสีธรรมชาติซึ่งเพิ่งเกิดขึ้น ออกฉายปี ๒๔๘๓ ปรากฏว่าได้รับความสำเร็จอย่างยิ่ง เป็นตัวอย่างให้ผู้สร้างรายอื่นๆ ทำตามอย่างบ้าง


          ด้วยการคลี่คลายเช่นนี้เอง กลุ่มผู้สร้างภาพยนตร์ไทยพากย์ จึงยังคงสามารถผลิตผลงานออกป้อนตลาดสม่ำเสมอแม้แต่ในระยะที่ประเทศไทย (ซึ่งเปลี่ยนชื่อจาก สยาม ตั้งแต่ปี๒๔๘๓) กำลังกลายเป็นยุทธภูมิ ตั้งแต่ระยะปลายปี ๒๔๘๕ จนถึงปี ๒๔๘๘ ผู้สร้างกลุ่มนี้ยังสามารถสร้างภาพยนตร์ไทยพากย์ออกมาให้ความบันเทิงแก่ชาวไทยได้บ้างประปราย เว้นแต่ในระยะปลายสงคราม ซึ่งกรุงเทพฯถูกโจมตีทางอากาศหนัก ไฟฟ้าดับ กิจการโรงภาพยนตร์สะดุดหยุดลงโดยสิ้นเชิง

          อย่างไรก็ดี กล่าวได้ว่าในช่วงเวลาระหว่างปี ๒๔๗๕ จนกระทั่งเกิดสงคราม เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยเจริญรุ่งเรือง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาพยนตร์เสียงหรือภาพยนตร์พากย์ นับได้ว่าเป็นยุคทองของภาพยนตร์ไทย

 
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 15:11:30 »
ภาพยนตร์ไทย ยุค มิตร-เพชรา

          เมื่อโครงการจัดตั้งองค์การผลิตภาพยนตร์แห่งชาติล้มไปการพัฒนาภาพยนตร์ไทยก็เป็นไปเองตามยถากรรมอีก

          ประเทศไทยสมัยที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี เป็นยุคสมัยแห่งการเร่งรัดพัฒนาประเทศโดยได้รับความช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆจากสหรัฐอเมริกาอย่างเต็มที่ เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วในระบบการค้าเสรี สังคมเมืองขยายตัว จำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นในอัตราสูง ตลาดสินค้าและบริการต่างๆเปิดกว้างและแข่งขันกันอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน โดยเฉพาะในสมัยนายกรัฐมนตรีที่สืบต่อมาคือ จอมพลถนอม กิตติขจร นับแต่ปี ๒๕๐๖ เป็นต้นมา
 
         ในภาวการณ์เช่นนี้เอง กิจการสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ ก็ได้โอกาสขยายตัวเติบโตขึ้นอย่างเต็มที่เช่นกัน ปริมาณการผลิตภาพยนตร์เฉลี่ยต่อปีมีอัตราสูงถึง ๖๐-๗๐ เรื่อง

          จำนวนผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ยังเป็นไปในลักษณะเดิมคือมีกลุ่มผู้สร้างมืออาชีพซึ่งยังคงทำกิจการต่อไปเรื่อยๆ กับมีกลุ่มผู้สร้างรายใหม่ๆ อยากเสี่ยงโชคหมุนเวียนเข้ามาในวงการตลอด

          ช่วงวลากว่าสิบปีของวงการสร้างภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตรพากย์ คือนับจากหลังสงครามเป็นต้นมา และสร้างกันถึงปีละ ๖๐-๗๐ เรื่อง นับว่านานและมากพอที่วงการนี้จะสั่งสมความจัดเจนเกิดระบบของตัวเองขึ้น

          ระบบเหล่านี้ เช่น เกิดการแบ่งตลาดการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ออกเป็นสายตามภูมิภาค คือ สายเหนือ สายอีสาน สายใต้ และแปดจังหวัดรอบพระนคร เกิดระบบทุ่มโฆษณาแข่งขันกัน ตั้งแต่การประโคมข่าวทางสื่อมวลชนก่อนการถ่ายทำ การทำใบปิดโฆษณา การทำป้ายโฆษณาขนาดมหึมาติดตั้งริมถนน การโฆษณาทางวิทยุและโทรทัศน์ ไปจนถึงการจัดรายการพิเศษบนเวทีโรงภาพยนตร์ในรอบปฐมทัศน์

          วิธีการถ่ายทำและวิธีการนำเสนอเรื่อง ก็ได้รับการสั่งสมจนกลายเป็นระบบสูตรสำเร็จ เช่นภาพยนตร์ไทยเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร จะต้องมีเนื้อหาผสมรวมทุกรสชาติ คือมีทั้งชีวิตต่อสู้ โศกเศร้ากินใจ มีลึกลับตื่นเต้น มีชกต่อยโลดโผน มียั่วยวนทางเพศ มีรักหวานชื่นใจ มีตลกคะนอง และทุกเรื่องจะต้องจบอย่างลงเอยด้วยดีมีสุข

          ภาพยนตร์ไทยยุคนี้ทุกเรื่องจะถ่ายทำเป็นภาพยนตร์สี ไม่มีใครกล้าสร้างภาพยนตร์ขาว-ดำอีกเลย

          ระบบอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๐๔ เป็นต้นมาจนถึงปี ๒๕๑๓ คือระบบผูกขาดนักแสดงคู่พระและนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักแสดงคู่พระและนางที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือ มิตร ชัยบัญชา และ เพชรา เชาวราษฏ์ ระบบนี้เกิดขึ้นจากความรักความนิยมชื่นชมที่ผู้ชมภาพยนตร์ไทยทั่วประเทศมีต่อนักแสดงคู่นี้ จนผู้สร้างภาพยนตร์ไม่คิดและไม่กล้าที่จะสร้างนักแสดงหน้าใหม่ขึ้นมาเป็นพรเอกนางเอก ปรากฏว่าในจำนวนภาพยนตร์ไทยที่สร้างกันเฉลี่ยปีละราว ๗๐-๘๐ เรื่องจะมีภาพยนตร์ที่ มิตร ชัยบัญชา และเพชรา เชาวราษฏ์ แสดงนำคู่กันเกือบครึ่งนึ่ง

          ส่วนนักแสดงภาพยนตร์ระดับพระเอกนางเอกคนอื่นๆ ที่มีบทบาทอยู่ในยุคนี้ด้วย ได้แก่ ลือชัย นฤนาท อดุลย์ อดุยรัตน์ ชนะ ศรีอุบล ไชยา สุริยัน สมบัติ เมทะนี วิไลวรรณ วัฒนพานิช อมรา อัศวนนท์ พิสมัย วิไลศักดิ์ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ภาวนา ชนะจิต

          นักแสดงภาพยนตร์อื่นๆ ซึ่งมีบทบาทเป็นตัวประกอบและมีบทบาทสำคัญในวงการภาพยนตร์ไทยยุคนี้ เช่น ล้อต๊อก สมพงษ์ พงษ์มิตร สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม ดอกดิน กัญญามาลย์ พูลสวัสดิ์ ธีมากร ชูศรี โรจนประดิษฐ์ สมจิต ทรัพย์สำรวย สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต มาลี เวลชประเสริฐ มนัส บุยเกียรติ

          ส่วนนักแสดงที่เป็นดาวร้ายและตัวอิจฉาตลอดจนดาวยั่ว ได้แก่ เกชา เปลี่ยนวิถี ทักษิณ แจ่มผล ประจวบ ฤกษ์ยามดี ทัต เอกทัต อดินันท์ สิงห์หิรัญ ชาณีย์ ยอดชัย ถวัลย์ คีรีวัต ปรียา รุ่งเรือง ชฏารณ์ วชิรปราณี อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา เมตตา รุ่งรัตน์

          ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ ในยุคนี้ เช่น รุ่งสุริยภาพยนตร์ กัญญามาลย์ภาพยนตร์ สหนาวีไทย ต๊อกบูมภาพยนตร์ วิจิตรเกษมภาพยนตร์ แหลมทองภาพยนตร์ จินดาวรรณภาพยนตร์

          ผลงานภาพยนตร์ไทย ๑๖ มิลลิเมตร พากย์ ที่สำคัญในยุคนี้ เช่น “เล็บครุฑ” ของ สหนาวีไทย (๒๕๐๐) “รักริษยา” ของ กรรณสูตรภาพยนตร์ (๒๕๐๐) “เห่าดง” ของ ไทยไตรมิตรภาพยนตร์ (๒๕๐๑) “ไอ้แก่น”  ของ กมลศิลปภาพยนตร์ (๒๕๐๒) “แสงสูรย์” ของทัศไนยภาพยนตร์ (๒๕๐๓) “มือโจร” ของ วิจิตร คุณาวุฒิ (๒๕๐๓) “วัยรุ่นวัยคะนอง” ของ สนั่นศิลป์ภาพยนตร์ (๒๕๐๕) เป็นต้นมา



 
การส่งเสริมภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน

          ปี ๒๕๐๕ รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัตส่งเสริมการลงทุนเพื่อกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลจากนโยบายเร่งรัดพัฒนาประเทศ และต่อมาในปี ๒๕๐๗ รัฐบาลก็ประกาศยอมรับให้กิจการสร้างภาพยนตร์เป็นอุตสาหกรรมอย่างหนึ่ง แต่ยังไม่ให้สิทธิที่จะได้รับการส่งเสริมเพราะเห็นว่าการสร้างภาพยนตร์ไทยยังไม่ได้มาตรฐานสากล

          บรรดาผู้สร้างภาพยนตร์ไทยระบบมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตรเสียงในฟิล์ม ซึ่งอยู่เพียงสองสามรายในขณะนั้น เช่น หนุมานภาพยนตร์ อัศวินภาพยนตร์ ละโว้ภาพยนตร์ จึงรวมตัวกันเคลื่อนไหวเรียกร้อง ขอให้รัฐบาลพิจารณาให้สิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน และได้จัดตั้งสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทย ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปี ๒๕๑๐

          ปี ๒๕๑๒ รัฐบาลยอมให้สิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุนแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ไทย โดยมีเงื่อนไขว่า จะให้เฉพาะรายที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด และมีเงินทุนไม่ต่ำกว่า ๕ ล้านบาท และจะต้องสร้างภาพยนตร์ในระบบมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตรเสียงในฟิล์ม

          ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ๓ รายแต่เดิม คือ หนุมาน อัศวิน และ ละโว้ ต่างก็จดทะเบียนตั้งขึ้นเป็นบริษัทจำกัด และได้รับสิทธิบัตรส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ยังมีบริษัทใหม่เกิดขึ้นอีกสองสามรายเช่น บริษัทศรีสยามภาพยนตร์ และ บริษัทสุริยเทพภาพยนตร์


          ก่อนปี ๒๕๑๐ มีผู้สร้างภาพยนตร์ระบบมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตรเสียงในฟิล์ม ออกมาเฉลี่ยปีละเพียง ๑-๒ เรื่อง แต่หลังจากปี ๒๕๑๐ ปรากฏว่ามีการผลิตภาพยนตร์ไทยมาตรฐาน ๓๕ มิลลิเมตร เสียงในฟิล์มออกมาเพิ่มขึ้นเท่าตัว คือ เฉลี่ยปีละ ๓-๔ เรื่อง
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ filmmakker

  • รักเสียงและภาพเมื่อถูกยิงไปบนผ้าขาวๆ
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 791
  • พลังใจที่มี 19
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 07 กุมภาพันธ์ 2014, 23:57:40 »
ไม่เคยเข้ามาดูเลยแต่พอเปิดเข้ามาดูมาอ่านแล้ว ได้รู้อะไรอีกเยอะและมีประโยชน์มาก ขอบคุณ สำหรับข้อมูลดีๆครับ
โสภณวิชญ์ ตันบุตร  โทร 080-212-3845 email  sincezero@hotmail.com 2 ม. 9 ต. คลองเกต อ. โคกสำโรง จ. ลพบุรี 15120
อำนาจ ตันบุตร ธ.กสิกร ออมทรัพย์ 7322552291

ออฟไลน์ CHANEL

  • มหาเถร ภาพยนตร์
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 492
  • พลังใจที่มี 15
  • เพศ: ชาย
  • รักเธอตลอดไป หนังกลางแปลง แม้เธอจะทำฉันเจ็บก็ตาม
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2014, 12:33:21 »
 :D
ปรีชา คชสาร(ชา ร้อยจอ) 34 ม.8 ต.บางปลาม้า อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี 72150   089-4477844

ออฟไลน์ rnightlove9

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังใจที่มี 0
    • ซื้อของออนไลน์
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 18 มีนาคม 2017, 16:15:44 »
พึ่งรู้ประวัติความเป็นมานะนี่... :GreenScarf (20):

ออฟไลน์ theking01

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 7
  • พลังใจที่มี 0
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 07 เมษายน 2018, 17:33:07 »
ขอบคุณ

golden slot

ออฟไลน์ KeanuReeves

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังใจที่มี 0
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 07 มิถุนายน 2018, 10:59:17 »
ผมก็ชอบเหมือนกันอยากทราบว่าหาได้จากที่ไหน

ออฟไลน์ Smallrixg

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังใจที่มี 0
Re: ภาพยนตร์ไทยจากอดีตถึงปัจจุบัน
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 18 มีนาคม 2020, 15:57:38 »
ชื่นชอบหนังในอดีตมากเลยครับ