ผู้เขียน หัวข้อ: ใครมีฟิล์มหนังของ เชิดทรงศรีสร้าง บ้างครับ ให้เช่า หรือขาย ก็ได้ เพื่อจัดนิท้ศน์การ ภาพยนต์ของเชิดทร  (อ่าน 489 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ถาวร เนาวศิริ

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 10
  • พลังใจที่มี 1
ใครมีฟิล์มภาพยนต์ของเชิดทรงศรีบ้างครับ จะขาย หรือ ให้เช่าก็ได้ เพื่อเอาจัดนิทัศน์การภาพยนต์ของเชิดทรงศรี ที่ นครศรีธรรมราช ตันเดือน กย.นี้ ถ้ามีให้เช่าก็ได้ จะโอนเงินค่าฟิล์มชำรุดหรือสุญหายก่อนได้เลย ติดต่อ 0867474100  ถาวร เนาวศิริ



ออฟไลน์ ถาวร เนาวศิริ

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 10
  • พลังใจที่มี 1
เชิดทรงศรีเป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ครับ

ออฟไลน์ ถาวร เนาวศิริ

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 10
  • พลังใจที่มี 1

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Thaicine Explorer
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
เพื่อประกอบเป็นข้อมูลตามหาฟิล์มหนัง เชิด ทรงศรี นะครับ..ผมเคยเขียนบทความนี้ไว้หลายปีแล้วครับ..นำกลับมาเล่าอีกครั้ง

เชิด ทรงศรี  ผู้สร้างเอกลักษณ์ให้หนังไทย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

ถึงแม้ว่า เมืองไทยจะมีการฉายหนังมาเป็นร้อยปีแล้ว  แต่ถ้าจะถามว่า หนังไทยแท้ ๆ  เป็นอย่างไรนั้น  ก็คงยากที่จะหาความหมายที่แท้จริงได้เพราะหนังเป็นวัฒนธรรมที่เรานำมาจากต่างประเทศ  หนังที่สร้างออกมาแต่ละเรื่องจึงพยายามทำให้เหมือนหนังต่างประเทศ  แต่ในยุคที่กระแสหนังต่างประเทศครอบงำความรู้สึกของคนไทย  ก็ยังมีอยู่คนหนึ่ง คนที่บอกใคร ๆ ว่า เขามาจากบ้านนอก เป็นคนลูกทุ่ง พยายามอย่างยิ่งจะนำวิถีชีวิตแบบไทย ๆ มาถ่ายทอดเป็นหนัง  แม้จะสร้างหนังได้เพียงปีละเรื่อง แต่หนังของเขาตั้งแต่เรื่องแรกจนถึงวันนี้ ทำให้คนไทยหลายคนพอจะหาความหมายของคำว่า หนังไทยแท้ ๆ ได้บ้างแล้ว หนังของเขาเป็นเครื่องยืนยันถึงอุดมการณ์  ความตั้งใจในการส่งเสริมและการสร้างเอกลักษณ์ให้กับหนังไทยอย่างแท้จริง

เชิด ทรงศรี คือ บุคคลที่เรากำลังจะพูดถึง เชิด ทรงศรี เริ่มจากการเป็นผู้สื่อข่าวบันเทิงในนิตยสารภาพยนตร์-โทรทัศน์ในยุคของ ไพรัช กสิวัฒน์ แล้วจึงเขียนนิยายใช้นามปากว่า ธม ธาตรี ลงตีพิมพ์ในนิตยสารต่าง ๆ จนเป็นที่ถูกใจนักอ่านถึงขนาดเรียกร้องให้นำมาสร้างเป็นหนัง แต่เชิด ทรงศรี ก็ไม่ด่วนใจร้อน จนประมาณปี 2509 จึงตกลงใจจะสร้างหนังเรื่องแรก
ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ตั้งชื่อและเขียนชื่อบริษัทด้วยลายมือว่า เชิดไชยภาพยนตร์ ส่วนตราบริษัทที่เป็นรูปช้างนั้น ก็เป็นช้างเผือกชื่อ พระเศวตอดุลยเดชพาหน ช้างต้นในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ซึ่งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญมาเป็นตราบริษัท

จากปี 2509  ถึงเรื่องสุดท้ายในปี 2544  เชิด ทรงศรี มีผลงานหนัง 18 เรื่อง ในช่วงแรกเรียกว่า เป็นยุคหนัง 16 ม.ม. ถ่ายจากฟิล์ม 16 ม.ม. ไม่มีเสียง เวลาฉายต้องพากย์กันสด ๆ อยู่ระหว่างปี 2509 ถึงปี 2515  หลังจากปี 2517 เป็นต้นมาจึงเปลี่ยนมาสร้างหนัง 35 ม.ม. เสียงในฟิล์มจนถึงปัจจุบัน

เหตุที่ปริมาณหนังของ เชิด ทรงศรี มีน้อยเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ใช้ไป ก็เป็นเพราะว่า เชิด ทรงศรี ยึดหลักการสร้างหนังแบบบันไดสามขั้นคือ ผู้สร้างต้องมีความรู้ (ในเรื่องของหนัง) ดี ต้องมีอุปกรณ์การสร้างดี และต้องมีทุนดีด้วย หนังแต่ละเรื่องจึงพิถีพิถันเพื่อให้คุณภาพอยู่เหนือปริมาณ

โนห์รา (ปี 2509) เป็นหนังเรื่องแรกของ เชิด ทรงศรี ซึ่งนำบทประพันธ์ของตนที่พิมพ์ในนิตยสารบางกอกมาสร้าง ถ่ายทอดเรื่องราวของความรัก ความผูกพันระหว่างลูกสาวกับพ่อที่ต้องพลัดพรากกัน แล้วนำไปสู่ความรักระหว่างชายหญิงโดยมีการแสดง    โนห์ราเป็นสื่อรัก นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี พิศมัย วิไลศักดิ์ และได้รับเกียรติจาก 3 ผู้ยิ่งใหญ่ในวงการหนังคือ วิจิตร คุณาวุฒิ เจ้าของฉายาเศรษฐีตุ๊กตาทอง  ส.อาสนจินดา ปรมาจารย์หนังไทย  สุพรรณ พราหมณ์พันธ์ ยักษ์ใหญ่จ้าวยุทธจักรหนังร่วมประเดิมกล้องกำกับการแสดง

เมขลา (ปี 2510) เป็นหนังที่เชิด ทรงศรี รับกำกับการแสดงให้กับ บางกอกภาพยนตร์ ของ วิชิต โรจนประภา นำแสดงโดย พิศมัย วิไลศักดิ์ ภาวนา ชนะจิต สมบัติ เมทะนี

อกธรณี (ปี 2511) งานสร้างและกำกับของ เชิด ทรงศรี ที่ลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยประกบดาราดังถึง 4 คนคือ พิศมัย วิไลศักดิ์ สมบัติ เมทะนี  โสภา สถาพร และครรชิต ขวัญประชา  เนื้อหนังจะถ่ายด้วยฟิล์ม 16 ม.ม. แต่เฉพาะท่อนที่เป็นฉากร้องเพลงระหว่างสมบัติกับพิศมัย จะถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม นอกจากนี้ ยังให้โสภา สถาพร เต้นระบำแขกเพื่อเป็นจุดขายด้วย

พญาโศก (ปี 2512) หนังโศกนาฏกรรมเรื่องยิ่งใหญ่เรื่องหนึ่งที่เชิด ทรงศรี นำความรักของแม่ ลูกชายและหญิงสาวคนรักมาถ่ายทอดได้อย่างสะเทือนอารมณ์ เมื่อแม่บังเกิดเกล้าต้องฆ่าลูกชายของตนอย่างเต็มใจ โดยไม่มีเสียงห้ามปรามจากหญิงสาวคู่รักแม้จะรักมากแต่อย่างใด นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี  สุทิศา พัฒนุช  ภาวนา ชนะจิต และชัชฎาภรณ์ รักษณาเวศ

ลำพู (ปี 2513) เป็นหนังเรื่องแรกที่เชิด ทรงศรี ได้คิวจากนางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้ง เพชรา เชาวราษฎร์ มาแสดงอย่างเต็มที่โดยไม่จัดประกบดาราเหมือนอย่างที่ผ่านมา แต่ขอให้เพชราไปฝึกรำอิเหนาฉายกริชเพราะหนังเชิด ทรงศรีทุกเรื่องนั้น นางเอกต้องแสดงบทเด่นพิเศษกว่าเรื่องอื่น ๆ ที่เคยแสดงมา นอกจากนี้ ยังมีการนำนักร้องลูกทุ่งอย่าง สังข์ทอง สีใส  สมัย อ่อนวงศ์ มาร่วมแสดงพร้อมเพลงประกอบอีก 10 เพลง ลำพู เรื่องของสาวชาวนาที่รอคอยการกลับมาของหนุ่มนักเรียนนอก ซึ่งแสดงโดย สมบัติ เมทะนี  แต่มหาวาตภัยพายุตะลุมพุก ก็ทำให้ทั้งสองต้องพลัดพรากจากกัน

คนใจบอด (ปี 2514) หนังมหกรรมการกุศลเรื่องที่พูดได้ว่า มีเงินเป็น 10 ล้าน ก็สร้างไม่ได้ แค่ดูชื่อดาราเกียรติยศอย่าง       อาภัสรา นางงามจักรวาล ประภัสสร สมบัติ เพชรา ภาวนา ครรชิต ปรีดา อาณัติ พันคำ ฯลฯ ที่ยกขบวนมาร่วมแสดงหรือบทประพันธ์ที่ช่วยเขียนกันถึง 5 คนคือ รพีพร สุวรรณี สุคนธา ทมยันตี  อรชร  ธม ธาตรี หรือยังมีเพลงประกอบอีก 13 เพลงซึ่งนักร้องลูกทุ่ง ลูกกรุงแห่กันมาแสดง โดยมี เชิด ทรงศรี รับหน้าที่เป็นผู้กำกับ

พ่อปลาไหล (ปี 2515) หนังที่ขณะสร้างเป็นข่าวร้อนที่สุดเพราะเชิด ทรงศรี ทำสัญญาไว้กับโรงหนังคาเธ่ย์ว่า จะนำเข้าฉายให้ทันในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2514 โรงหนังจึงจะปรับฐานผิดสัญญาวันละหนึ่งหมื่นบาท  แต่เชิด ทรงศรี ก็ผิดสัญญาเพราะสร้างไม่เสร็จ แต่ก็มีเหตุผลว่า ต้องตรวจอย่างละเอียดทุกขั้นตอนของหนังก่อนฉาย ถึงขั้นถ่ายแล้วล้างเอามาฉายดูก่อน ถ้าไม่ดีก็ทิ้งฟิล์มแล้วถ่ายใหม่อีกที (เพราะสมัยก่อนไม่มีจอมอนิเตอร์ให้ดูภาพขณะถ่าย)  แต่ในที่สุด พ่อปลาไหล ก็ได้นำออกฉายในวันที่ 31 มีนาคม 2515 แล้ว พ่อปลาไหล ก็พลิกประวัติศาสตร์วงการหนัง 16 ม.ม. เพราะทำรายได้สูงสุดถึง 3 ล้าน 8 แสนบาท  เรียกว่า เป็นแชมป์หนัง 16 ม.ม.จนโรงหนังคาเธ่ย์มอบโล่หนังเงินให้และถือว่า เป็นการปิดยุคหนัง 16 ม.ม. ของเชิด ทรงศรี ได้สวยงามที่สุด

ความจริงหนังทั้ง 7 เรื่องของ เชิด ทรงศรี ในยุค 16 ม.ม. นั้น ทำเงินผ่านหลักล้านทุกเรื่องและก็ได้รับโล่เงินล้านมาแล้วทุกเรื่อง

เชิด ทรงศรี เริ่มงานสร้างหนังในระบบ 35 ม.ม. เสียงในฟิล์มเรื่องแรก โดยนำบทประพันธ์ของ กนกเรขา เรื่อง อุบัติเหตุ ที่เป็นเรื่องของสาวที่ขับรถชนคนรักของชายหนุ่มอีกคนตาย ทำให้ชายหนุ่มโกรธแค้นเพราะว่าเป็นฆาตกรรม ทั้ง ๆ ที่เธอว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่ในที่สุดทั้งสองก็รักและเข้าใจกัน ซึ่ง เชิด ทรงศรี นำมาสร้างเป็นหนังชื่อ ความรัก (ปี 2517) นำแสดงโดย สมบัติ เมทะนี ภาวนา ชนะจิต แต่รายได้ไม่ดีเท่าที่ควร

พ่อไก่แจ้ (ปี 2519) บทประพันธ์ของ กนกเรขา เป็นหนังแนวเดียวกับ พ่อปลาไหล ที่เคยทำเงินล้านมาแล้ว แต่คราวนี้ เชิด ทรงศรี เลือก กรุง ศรีวิไล มารับบท อาทิตย์ ชายเจ้าชู้เจ้าของฉายา พ่อไก่แจ้ ปะทะอารมณ์และคารมกับ ทัศน์วรรณ เสนีย์วงศ์ฯ ในบท มัทนี เลขาธิการสมาคมสตรีไทยวัฒนาที่เกลียดผู้ชายเจ้าชู้ไก่แจ้ทั้งหลาย แต่ลีลาเจ้าชู้ไก่แจ้ร้อยเล่ห์เพทุบาย ก็ทำให้มัทนียอมแต่งงาน เธอจึงต้องรับหน้าที่ปราบจอมเจ้าชู้ไก่แจ้ หนังเรื่องนี้ถือว่า ประสบความสำเร็จ  แม้รายได้จะไม่ดีเท่าพ่อปลาไหลและทำให้เกิดวลีฮิตทั่วบ้านทั่วเมืองสมัยนั้นว่า “ปลงเสียเถอะแม่จำเนียร”

แผลเก่า (ปี 2520) รักของขวัญกับเรียม แห่งทุ่งบางกะปิ ที่ต้องจบลงด้วยความตายต่อหน้าศาลเจ้าพ่อไทร ที่เคยสาบานรัก บทประพันธ์ของ ไม้ เมืองเดิม ซึ่ง เชิด ทรงศรี นำมาสร้างอย่างยิ่งใหญ่โดยใช้บุคคลที่เชี่ยวชาญศึกษาถึงขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ในยุค 2473 ที่ ไม้ เมืองเดิม เขียนเรื่องไว้อย่างละเอียดที่สุด การถ่ายทำแต่ละฉาก ก็พิถีพิถันไม่ว่าจะเป็นฉาก อุปกรณ์ประกอบฉาก การแต่งตัวของผู้แสดง ถึงขนาดว่าต้องให้ดารานำแต่ละคนตัดผมสั้น ซึ่งสมัยนั้นจะเป็นเรื่องยากมาก เมื่อนำออกฉายก็ทำรายได้เป็นประวัติการณ์อีกครั้งถึง 13 ล้านบาท จนเรียกว่า แผลเก่า เป็นแชมป์หนัง 35 ม.ม. และยังมีรางวัลตุ๊กตาทองประดับเกียรติอีกหลายรางวัล ซึ่งหลายคนคงประจักษ์ในความยิ่งใหญ่มาแล้ว แผลเก่า จึงเป็นหนังส่งเสริมและแสดงออกถึงเอกลักษณ์ไทยได้ดีที่สุดเรื่องหนึ่งที่ยังครองใจคนไทยมาจนถึงทุกวันนี้

เลือดสุพรรณ (ปี 2522) “มาด้วยกัน ไปด้วยกัน ตายด้วยกัน” คนไทย 99 คน แต่อาจหาญต่อสู้กับทหารพม่าถึง 40,000 คนเพราะยึดหลักว่า “ถ้าอยู่อย่างไทไม่ได้ เรามาสู้ตายพร้อมกัน”  อันเป็นหัวใจหลักของหนังเรื่อง เลือดสุพรรณ ที่เชิด ทรงศรี ตั้งใจลงทุนสร้างให้ยิ่งใหญ่กว่า แผลเก่า ซึ่งแม้ว่าหนังจะสร้างเสร็จสมบูรณ์  แต่ก็นำออกฉายไม่ได้เพราะเกิดศึกศักดิ์ศรีระหว่างหนังสือพิมพ์ไทยรัฐกับเครือพีรามิดในยุคนั้น ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงกับหนังไทยทุกเรื่องเพราะไทยรัฐตั้งข้อแม้ว่า หนังเรื่องไหน ถ้าลงโฆษณาในไทยรัฐจะต้องไม่เข้าฉายในเครือพีรามิด ส่วนเครือพีรามิดก็ยื่นคำขาดว่า หนังเรื่องไหนที่ไปลงโฆษณาในไทยรัฐ ก็ไม่ให้ฉายในเครือเช่นกัน กว่าจะลงเอยกันได้ โฆษณาต่างๆ ก็แทบไม่ได้ทำ หนังออกฉายช้ากว่ากำหนด ก็เลยตกกระแสไป

พ่อปลาไหล (ปี 2524) เป็นการย้อนกลับมาที่เก่าของ เชิด ทรงศรี อีกครั้ง แต่ในระบบ 35 ม.ม.เสียงในฟิล์ม บทพ่อปลาไหลหรืออุลิด ก็ยังคงแสดงโดยสมบัติ เมทะนี คนเดิม แต่บทจันทนี เปลี่ยนมาเป็น เนาวรัตน์ ยุกตะนันทน์ แทน ส่วนเนื้อเรื่องก็ยังคงเดินตามแบบฉบับเดิม

เพื่อน-แพง (ปี 2526) บทประพันธ์ของ ยาขอบ ที่ เชิด ทรงศรี นำมาถ่ายทอดให้เห็นความรักของแพง (ชณุตพร วิศิษฎโสภณ)ที่เรียกได้ว่า เกิดมาเพื่อรักพี่ลอ (สรพงษ์ ชาตรี) คนเดียว แต่พี่ลอ กลับรักแพงอย่างน้องเพราะใจพี่ลอสาบานว่า จะรักเพื่อน (คนึงนิช ฤกษะสาร) ผู้เป็นพี่คนเดียว จนพี่ลอมารู้ความจริงว่า เพื่อนปันใจให้หนุ่มบางกอก (วิโรจน์ ควันธรรม) รักที่มีให้นั้นเป็นรักเผื่อเลือก พี่ลอจึงเห็นความดีของแพงและรักแพง แต่ก็สายเกินไปเพราะเพื่อนผิดหวังกลับมาและต่อว่าพี่ลอพร้อมกับทวงสัญญารักคืน พี่ลอรู้ว่า ทำผิดคำสาบาน เมื่อแพงตายไป พี่ลอจึงยอมมัดมือมัดเท้าโดนน้ำตื้นตายตามไป ซึ่งเนื้อหนังและการถ่ายทำทำได้ไม่แพ้เรื่องแผลเก่า เรียกได้ว่าเป็นการลุกขึ้นมาทวงสิทธิเจ้าตำรับหนังส่งเสริมเอกลักษณ์ไทยของเชิด ทรงศรี ได้อย่างงดงาม
หลังจากนั้น เชิด ทรงศรี ก็กลับมาสร้างหนังแนวย้อนยุคตลอด เช่น พลอยทะเล (ปี 2530:สรพงษ์ ชาตรี-สินจัย พงษ์ไทย-ชณุตพร วิศิษฎโสภณ) ทวิภพ (ปี 2533:ฉัตรชัย เปล่งพานิช-จันจิรา จูแจ้ง)
อำแดงเหมือนกับนายริด (ปี 2537:สันติสุข พรหมศิริ-จินตหรา สุชพัฒน์) เรือนมยุรา (ปี 2539:ศรันยู วงษ์กระจ่าง-นุสบา วานิชอังกูร) ข้างหลังภาพ (ปี 2544:คารา พลสิทธิ์-ธีรเดช วงศ์พัวพันธ์) ซึ่งแม้ว่า บางเรื่องจะทำรายได้ไม่ดีนัก  แต่เราก็ยังเห็นเจตนาเดิมของ เชิด ทรงศรี  ได้เป็นอย่างดี

ผลงานหนังของ เชิด ทรงศรี ที่ปรากฏต่อสาธารณชนตลอดมานั้น  แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะสร้างหนังไทยแท้ ๆ  เพื่อให้คนรุ่นหลังได้พูดคำว่า นี่คือ หนังไทยอย่างเต็มความความภาคภูมิใจ
...............

"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Thaicine Explorer
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
คราวนี้ มาดูเบาะแสว่า ฟิล์มหนังของ เชิด ทรงศรี ตอนนี้ เก็บอยู่ที่ไหนบ้าง...

หนังเรื่องแรก.. โนห์รา.. นั้น คุณโต๊ะพันธมิตร เคยได้ฟิล์มนี้มาและมีการเจรจากับพี่แจ๊ดกับลูกเมียของเชิด ทรงศรี เพื่อทำวีซีดีออกจำหน่ายไปนานแล้ว เข้าใจว่า ฟิล์มนี้ถูกบริจาคไปแล้วครับ..

หนังของ เชิด ทรงศรี ที่เป็นรุ่น 16 มม. นั้น เคยเหลือฟิล์มกลับมาและมีการซื้อไปทำวีซีดีนานแล้ว สุดท้ายเกือบทั้งหมดมีการบริจาคให้หอภาพยนตร์ฯ ไปแล้วครับ..
แต่ที่เห็นๆ อยู่ในกลุ่มรักหนังไทยเก่าๆ มี ก็น่าจะแค่ พญาโศก ลำพู แต่ไม่รู้ว่า ตอนนี้ใครถือไว้.. ส่วนเรื่องอื่นๆ ไม่น่ามีแล้วครับ บางเรื่อง หอฯก็ได้ฟิล์มไปแล้วครับ.

ส่วนหนังยุค 35 มม. นั้น เข้าใจว่า อาจจะมีเรื่อง แผลเก่า รุ่นสรพงศ์ที่ีมีการกลับมาฉายใหม่ เคยเห็นฟิล์มอยู่ในกลุ่มคนรักหนัง..แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่า จะยังใช้ได้หรือไม่...
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ ถาวร เนาวศิริ

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 10
  • พลังใจที่มี 1
ขอบคุณมากครับพี่ที่ให้ข้อมูลรายละเอียด  ผมจะได้พิมพ์แจกวันงาน