ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
รวบรวมข้อมูลความเป็นมาของระบบภาพยนตร์
»
ครั้งแรกกับภาพยนตร์ในสยามประเทศ
(ผู้ดูแล:
ฉัตรชัยฟิล์มshop
) »
ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน3)
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน3) (อ่าน 2051 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นายเค
Thaicine Movie Team
PublicCoreTeam
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 3814
พลังใจที่มี 616
เพศ:
ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน3)
«
เมื่อ:
06 กุมภาพันธ์ 2014, 12:28:35 »
ภาพยนตร์เริ่มมีเข้ามาเมืองไทยเมื่อปี พ.ศ.2466 ผู้นำเข้ามาครั้งแรกคือ นายเอส.จี .มาร์คอฟสกี กับคณะชาวปารีส โดยได้นำเข้ามาครั้งแรกออกฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ เมื่อวันที่10 มิถุนายน พ.ศ.2440 หลังจากเกิดการฉายภาพยนตร์ในเมืองไทย ก็เกิดกิจการโรงภาพยนตร์ถาวรขึ้นในกรุงเทพฯ โดยมีภาพยนตร์เร่นำภาพยนตร์เข้าฉายรายแล้วรายเล่า เข้ามาฉายในกรุงเทพฯช่วงปีพ.ศ. 2440-2449 พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพศาสตร์ศุภกิจ ถือได้ว่าเป็นคนไทยคนแรก ที่เล่นกล้องและถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่จะเป็นภาพยนตร์พระราชกรณียกิจ ปี พ.ศ. 2465
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
ในสมัยรัชกาลที่ 6 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟแทนฝรั่งชาวเยอรมัน ได้ทรงจัดตั้งศูนย์ผลิตภาพยนตร์ อย่างเป็นทางการของกรมรถไฟหลวง เรียกว่า
"กองภาพยนตร์เผยแพร่ข่าว"
การที่มีกองผลิตภาพยนตร์ในกรมหลวงก็เพื่อสร้างภาพยนตร์ประชาสัมพันธ์ให้ คนไทยและชาวต่างประเทศนิยมท่องเที่ยวโดยใช้บริการของรถไฟ เพราะในขณะนั้นรถไฟเป็นสิ่งใหม่ สร้างภาพยนตร์ขึ้นมาเพื่อให้เห็นสถานที่น่าท่องเที่ยวต่างๆของไทย กรมรถไฟหลวงจึงกลายเป็นโรงเรียนในการสร้างคนที่จะผลิตภาพยนตร์เรื่องของไทยต่อไปในอนาคต
ในปีเดียวกันนั้น พ.ศ.2465
ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันโดย
นายเฮนรี่ แมคเรย์ แห่งบริษัทยูนิเวอร์แซล
ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยโดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวงในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยใช้ดาราไทยแสดงทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นหนังเรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย
ดาวร้ายคนแรก
เรื่อง
นางสาวสุวรรณ
เริ่มลงมือถ่ายทำเมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2465 โดยได้รับความร่วมมือ จากกรมมหรสพกับกรมรถไฟหลวง
นางสาวสุวรรณมาเสร็จเอาในเดือน มิถุนายน พ.ศ.2465
เสร็จแล้วนายเฮนรี แมคเรย์ ได้มอบฟิล์มภาพยนตร์ให้แก่ กรมรถไฟหลวงไว้ 1 ชุด เป็นฟิล์มขนาด 35 มิลลิเมตร มีความยาว 8 ม้วน ต่อมาบริษัทสยามภาพยนตร์ได้ขออณุญาติกรมรถไฟหลวง นำมาฉายให้ประชาชนเป็นครั้งแรกมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2466 เพื่อเก็บเงินรายได้บำรุงสภากาชาดสยาม
เสงี่ยม นาวีเสถียร และ ขุมรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) ในเรื่อง นางสาวสุวรรณ
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2468
ได้มีคณะฝรั่งนักถ่ายทำภาพยนตร์มืออาชีพ ได้เดินทางเข้ามาในเมืองไทย ในนามของบริษัทพาราเมาท์ มีนาย
มีเรียน ซี คูเปอร์
เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง
นายเออร์เนสท์ บี โชคเส็ต
เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ มาถ่ายภาพยนตร์เรื่อง ช้าง นำออกฉายสู่สาธารณชนครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2470 และเดินทางนำมาฉายในเมืองไทยให้คนไทยได้ชมกัน ในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2471
ต่อมาในรัชกาลที่ 7
สภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มจะตกต่ำ เงินในท้องพระคลังเหลือน้อยลงทุกที ได้มีการพยายามแก้ปัญหาโดยให้ข้าราชการออกจากงานเป็นจำนวนมาก ได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งเป็นอดีตข้าราชการถูกดุลย์ กำลังเตรียมการจะสร้างหนังเรื่องที่ แสดงโดยฝีมือคนไทยขึ้นเองเป็นครั้งแรก ในนามบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย โดยมี
หลวงสุนทรอัศวราช (จำรัส สรวิสูตร)
เป็นหัวหน้าคณะ ประกอบด้วยเพื่อนร่วมงาน คือ
พันโทหลวงสารานุประพันธ์ (ขาว ปาจิณพยัคฆ์) พระอภิรักษ์ราชฤทธิ์ (อำนวย โรจนานนท์) นายพลพันหุ้มแพร (ไกลวัลย์ จันทนบุพผา)
โดยกลุ่มคนทั้งหมดนี้ประกาศจะสร้างหนังเรื่องแรกของออกมา แต่ก็ถูกตัดหน้าโดยผู้สร้างหนังอีกรายหนึ่ง คือกลุ่มพี่น้องสกุลวสุวัตกับพรรคพวกในคณะหนังสือพิมพ์สยามราษฎร์และศรีกรุง ได้จัดตั้งเป็นคณะสร้างหนังเรื่องแสดงขึ้นบ้าง ในนาม
"กรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัท"
โดยประกาศสร้างหนังเรื่อง โชคสองชั้น และสามารถสร้างสำเร็จนำออกฉายได้ก่อนบริษัทแรก เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2470 เป็นหนัง 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง โชคสองชั้น จึงได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทยทั้งหมด
หนังเรื่องนี้มี
นายมานิต วสุวัต
เป็นผู้อำนวยการสร้างและ
ผู้ประดิษฐ์ศิลป์ หลวงบุณยมานพพานิช
(นักประพันธ์ผู้มีนามปากกาว่า
"แสงทอง"
นักประพันธ์ผู้มีชื่อเสียงในยุคนั้น) ทำหน้าที่เขียนบทภาพยนตร์ หลวงกลการเจนจิต ทำหน้าที่ถ่ายภาพ นายกระเศียร รับหน้าที่ตัดต่อ และหลวงอนุรักษ์รัถการ ข้าราชการแห่งกรมรถไฟหลวง ทำหน้าที่กำกับการแสดง
มานพ ประภารักษ์
รับบทเป็นพระเอก
หม่อมหลวงสุดจิตร์ อิศรางกูร
รับบทนางเอก สาเหตุที่กลุ่มนายมานิต วสุวัตสามารถสร้างภาพยนตร์ได้สำเร็จก่อน เพราะมีความพร้อมมากกว่าน้องชายของนายมานิตสองคน หลวงกลการ เจนจิตกับนายกระเศียร ก็เคยทำงานประจำในกองภาพยนตร์เผยแผ่ข่าวของกรมรถไฟหลวง โดยหลวงกลการเจนจิต ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าช่างถ่ายและภาพยนตร์ และกลุ่มวสุวัตรได้ทดลองถ่ายทำภาพยนตร์ เชิงข่าวสารคดีมาเรื่อยๆ เช่น ภาพยนตร์บันทึกการแสดงยุทธกีฬาทหารบก ภาพยนตร์สารคดีนำเที่ยวนำชมน้ำตกไทรโยค ก่อนที่จะทำหนังเรื่อง พอมาทำหนังเรื่องจึงสามารถทำได้สำเร็จก่อน
ภาพจากภาพยนตร์ "โชคสองชั้น"
หลังจากคณะสุกลวสุวัตนำ
"โชคสองชั้น"
ออกฉายแล้วไม่นาน ทางคณะบริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทยของกลุ่มข้าราชการถูกดุลย์ ซึ่งตั่งขึ้นก่อน จึงสามารถสร้างหนังของตนสำเร็จ ออกฉายตามติดมาในชื่อเรื่อง
"ไม่คิดเลย"
ออกฉายเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2470 พอหลังจากหนัง 2 เรื่องออกฉายก็มีหนังเรื่องอื่นๆตามมาดังนี้คือ
"ใครดีใครได้" และ "ใครเป็นบ้า"
ส่วนของศรีกรุง (ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับบริษัทกรุงเทพฯภาพยนตร์บริษัทที่เปลี่ยนชื่อ) ก็ได้สร้างเรื่อง
"เชื้อไม่ทิ้งแถว"
ของบริษัทศรีสยามภาพยนตร์ก็สร้างเรื่อง
"เลือดแค้น"
บริษัทสองสหาย สร้างเรื่อง "กรรมสนองกรรม" ของบริษัทเอเชียติ๊กโปรดักชั่นสร้างเรื่อง
"หมัดพ่อค้า"
ของบริษัทกาญจนนฤมิตร และเรื่อง "แสงมหาพินาศ" ของหัสดินทรภาพยนตร์ โดยหม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์เป็นผู้สร้าง เรื่อง "แสงมหาพินาศ" นี้การทำเทคนิคปล่อยแสงซึ่งเป็นเทคนิคของภาพยนตร์ไทยในยุคแรกๆ ม.ร.ว. อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นเจ้าของทำหนังหลายเรื่องมีทั้งกำไรและขาดทุน
ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธุ์)
ในปี พ.ศ. 2473 มีการสร้างหนังเรื่อง
"รบระหว่างรัก"
โดยขุนวิจิตรมาตรา เป็นผู้แต่งเรื่อง เขียนบทและกำกับการแสดง เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทั้งด้านคำชมเชย และด้านของรายได้ ในปี พ.ศ.2476 ฮอลลีวู๊ดนิยมทำหนังผี ศรีกรุงก็ทำหนังผีเรื่อง
"ปู่โสมเฝ้าทรัพย"
เป็นบทประพันธ์ของขุนวิจิตรมาตรา และยังกำกับการแสดงเองอีกด้วย เรื่องนี้ถือเป็นการเริ่มการแต่งกายที่เข้าสู่แบบสากลมากขึ้น เพราะเป็นยุคหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เวลานั้นได้เกิดเพลงไทยสากลขึ้นมาเป็นครั้งแรก อย่างเพลง "กล้วยไม้" และเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่ทำเป็นสี เรื่อง
"หลงทาง"
ที่ถ่ายทำด้วยระบบซิงเกิ้ลซิสเต็ม คือ การถ่ายภาพกับเสียงในกล้องเดียวกัน
การถ่ายทำในระบบนี้จะมีปัญหาทางด้านของเทคนิค เวลาล้างฟิล์มและตัดต่อเป็นอย่างมาก ฝรั่งคิดทำระบบดับเบิ้ลซีสเต็ม คือถ่ายภาพกล้องหนึ่ง ถ่ายเสียงกล้องหนึ่งแยกกัน แต่มีเครื่องไฟฟ้า ทำให้เดินกล้องได้พร้อมกันทั้งสองกล้อง เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ศรีกรุงได้คิดปรับปรุงได้สำเร็จเช่นกัน จากนั้นมาบริษัทศรีกรุง ก็เปลี่ยนชื่อมาเป็น เสียงศรีกรุง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 พระองค์ทรงดำริที่จะให้มีสถานที่มหรสพอันทันสมัย ทัดเทียมกับต่างประเทศขึ้นสักแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เพื่อให้เป็นที่อำนวยความบันเทิงเริงรมย์แก่ประชาชนทั่วไป และเป็นที่เชิดหน้าชูตาของเมืองไทยด้วย หลังจากที่ทรงตรวจสถานที่แล้วทรงเห็นว่าตรงถนนเจริญกรุงตัดกับถนนตีทอง เหมาะสมที่สุดเพราะเป็นที่เด่นอยู่ตรงหัวมุมพอดีและได้ทรงประกอบพระราชพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 แล้วพระราชทานนามว่า
"ศาลาเฉลิมกรุง"
โดยมีหม่อมเจ้าสมัยกฤดากร ทรงเป็นผู้ออกแบบ บริษัทบางกอกทำหน้าที่รับเหมาก่อสร้าง
ศาลาเฉลิมกรุง
เมื่อดำเนินการก่อสร้างเสร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้
เจ้าพระจาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (ม.ร.ว.มูล ดารากร)
ประกอบพิธีเปิดแทนพระองค์เมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2476 ภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทำการฉายเปิดเป็นปฐมฤกษ์ก็คือเรื่อง
"มหาภัยใต้ทะเล"
โดยรายได้ทั้งหมดที่เก็บได้จากค่าผ่านประตูของการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ ในวันนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งไปบำรุงสภากาชาดสยาม โดยมิได้หักค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง นับเป็นโรงภาพยนตร์ชั้น1 แห่งเดียวในประเทศไทย ต่อมาหลังสงความโลกครั้งที่ 2 โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่และทันสมัย ซึ่งจัดอยู่ในโรงชั้น 1 ของประเทศก็มีผู้สร้างขึ้นมาอีกหลาแห่ง เช่น ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนตร์คิงส์ โรงภาพยนตร์ควีนส์ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมเขตร์ และโรงภาพยนตร์เอ็มไพร์ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2477 กระทรวงกลาโหมได้มอบให้ภาพยนตร์ เสียงศรีกรุง ถ่ายทำหนังเผยแพร่กิจการทหารของกองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ เป็นหนังมีพระเอก นางเอก เรื่อง
"เลือดทหารไทย"
มี
พันตรีหม่อมหลวงขาบกุญชร และ นางสาวจำรุ กรรณสูตร นำแสดง
มีการถ่ายทำอย่างใหญ่โตมโหฬารที่สุด ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ เช่น ทหารบกใช้ปืนใหญ่ ปืนกล ลูกระเบิด รถถัง รถเกราะ รถตีนตะขาบขนาดใหญ่ แบบใหม่ทั้งหมด ทหารเรือใช้เรือรบชนิดต่างๆ ตอปิโด ลูกระเบิดน้ำลึกแบบใหม่ และทหารอากาศใช้เครื่องบินขนาดใหญ่แบบใหม่ทั้งหมด และในปีเดียวกันนี้ ศรีกรุงได้สร้างโรงถ่ายขึ้นที่ บางกะปิ เป็นโรงถ่ายที่ทันสมัยที่สุดในเมืองไทยขณะนั้น
เสร็จจากหนังของรัฐบาล ศรีกรุงทำหนังของตัวเอง เรื่อง
"พญาน้อยชมตลาด"
หลวงอนุรักษ์รัถการ กำกับการแสดง มีหลวงภรตกรรมโกศลเป็นตัว พญาน้อย ได้นางเอกใหม่คือ มานี สุมนนัฏ แสดงเป็นเม้ยเจิง ออกฉายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2478 ต่อมาสร้างเรื่อง
"เมืองแม่หม้าย"
หลวงอนุรักษ์รัถการ กำกับฯ มานี สุมนนัฏ เล่นเป็นพญาเมืองแม่หม้าย มีเกษม มิลินทจินดา เป็นพระเอก หนังออกฉายเดือน กุมภาพันธ์ 2479 และเรื่อง
"เลือดชาวนา"
นาย ศรีสุข วสุวัต กับนายเชื้อ อินทรฑูต กำกับการแสดง นำแสดงโดยปลอบ ผลาชีวะ และราศรี เพ็ญงาม มีดาราใหม่ร่วมแสดงด้วยคือ จำรัส สุวคนธ์ ได้เล่นเป็นพระรอง มีบทบาทไม่มากแต่ได้ร้องเพลง
"ตะวันยอแสง"
จากเพลงนี้เอง ที่ทำให้ทุกคนรู้จัก จำรัส สุวคนธ์ และกลายเป็นเพลงฮิตมากในช่วงนั้น
จำรัส สุวคนธ์ (ขวา) และ มานี สุมนนัฎ (ซ้าย)
เนื่องจากบทบาทการแสดงและเสียงร้องของจำรัส สุวคนธ์ ทำให้ศรีกรุง ส่งเสริมให้จำรัส สุวคนธ์ขึ้นตำแหน่ง พระเอก จำรัส สุวคนธ์ ได้แสดงคู่กับ มานี สุมนนัฏ ร่วมกันอีกหลายเรื่อง เช่น
"กลัวเมีย หลอกเมีย"
และเรื่องที่ดังที่สุดคือ
"เพลงหวานใจ"
เป็นหนังเพลงมโหฬารในสมัยนั้น ซึ่งเป็นหนังล้ำยุคร้องเล่น เต้นรำ เป็นฝรั่งไปเลย ขุนวิจิตรมาตรา เป็นผู้แต่งเรื่องและกำกับการแสดง โดยมีนารถ ถาวรบุตร แต่งทำนองและเรียบเรียงเสียงประสาน ซึ่งนารถ ถาวรบุตรเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องนี้ ภาพยนตร์
"เพลงหวามใจ"
ได้บรรจุเพลงไว้ถึง 8 เพลง ต่างจังหวะกันออกไป ได้แนะนำจังหวะเพลงใหม่ๆ แก่ประชาชนไทยยุคนั้น อาทิ จังหวะรุมบ้าในเพลง เมื่อฉันมองเธอ จังหวะควิกกว๊อลช์ ในเพลง ฉันหาหวานใจ จังหวะฟอกซ์ทร๊อต เพลง ฉันฝันไป หนังเรื่องนี้ออกฉายเดือนตุลาคม 2480
หลังจากนั้นบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุงได้ทำภาพยนตร์ต่อมาอีกหลายเรื่อง จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง การขาดแคลนวัตถุดิบและภัยจากสงคราม ทำให้กิจการสร้างหนังเสียง ระบบมาตรฐานของศรีกรุงต้องหยุดชะงักลง นอกจากบริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง จะสร้างภาพยนตร์ให้คนไทยได้ดูกันแล้ว ยังมีบริษัทไทยฟิล์มซึ่งเป็นคู่แข่งขันในการสร้างภาพยนตร์ บริษัทไทยฟิล์มเกิดจาก พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ร่วมกับพระสหายสองสามคนคือ ฯพณฯพจน์ สารสิน หลวงสุขุมนัย ประดิษฐ์ และนายประสาท สุขุม ได้ก่อตั้งบริษัทไทยฟิล์ม โดยเริ่มฟอร์มงานโดยส่งคุณชาญ บุนนาค กับคุณประสาท สุขุม ไปอเมริกาไปดูงานและหาซื้อเครื่องมือมาใช้สร้างหนังและได้ที่ซื้อที่ดินที่ทุ่งมหาเมฆ ราว 20 ไร่ สร้างเป็นโรงถ่าย โดยให้บริษัทคริสเตียนนีแอนด์ เนียลเสน ซึ่งเป็นบริษัทเดียวกับที่สร้างโรงถ่ายของบริษัทศรีกรุง ที่บางกะปิ เป็นผู้สร้างโรงถ่าย ไทยฟิล์ม
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
บริษัทไทยฟิล์มสร้างหนังเรื่องแรกเรื่อง
"ถ่านไฟเก่า"
ปี พ.ศ. 2481 มีนางเอกชื่อเคลียวพันธ์ บุนนาค ซึ่งในเรื่องนี้มีเพลงดัง คือเพลง บัวขาว และ ลมหวน โดยมี หม่อมหลวงพวงร้อย กับหม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ ร่วมกันประพันธ์ทำนองเพลง พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ประพันธ์เนื้อเรื่อง ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆของบริษัทไทยฟิล์ม คือ
"แม่สื่อสาว"
สร้างในปี พ.ศ.2481 เรื่อง
"วันเพ็ญ"
สร้างในปี พ.ศ.2482 นำแสดงโดย สนิท พุกประยูร กับปริม บุนนาค และอีกเรื่องคือ
"ปิดทองหลังพระ"
นำแสดงโดย ทวี ณ บางช้าง (มารุต)
บันทึกการเข้า
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120 E-Mail
soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า หมายเลขบัญชี 210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บางเขน หมายเลขบัญชี 041-273435-0
ติดต่อ 0909040355
ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได
Woolsston
Woolsston
มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
กระทู้: 2
พลังใจที่มี 0
Re: ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน3)
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
21 ตุลาคม 2014, 17:41:15 »
อยากดูแบบสมัยก่อนจังว่าจะเป็นยังไง
บันทึกการเข้า
ผลบอลสดเมื่อคืน
แทงบอลออนไลน์
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
รวบรวมข้อมูลความเป็นมาของระบบภาพยนตร์
»
ครั้งแรกกับภาพยนตร์ในสยามประเทศ
(ผู้ดูแล:
ฉัตรชัยฟิล์มshop
) »
ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน3)