ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติภาพยนตร์ไทย ...(ตอน1)  (อ่าน 1045 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
ประวัติภาพยนตร์ไทย ...(ตอน1)
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 10:48:25 »
ประวัติภาพยนตร์ไทย

ภาพยนตร์เป็นสื่อให้ความบันเทิงที่มีอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานับร้อยปี การเริ่มต้นและเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในเมืองไทย เกือบเป็นไปในลักษณะคู่ขนานกับการเริ่มต้นและเติบโตของภาพยนตร์ในส่วนต่างๆของโลก การสร้างหนังในเมืองไทยก็เริ่มต้นเเละพัฒนาไปพร้อมๆกับพัฒนาการของหนังในส่วนอื่นของโลกเช่นกัน

หนังไทยยุีคเริ่มต้น

          ประวัติภาพยนตร์ไทยเิ่ริ่มต้นในปี พ.ศ. 2439 เมื่อพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 เสด็จเยือนสิงคโปร์ และ ชวา วันที่ 10 สิงหาคม พระองค์ท่านมีโอกาสทอดพระเนตรหนังประเภทที่เรียกว่า Kinestoscope หรือภาพยนตร์แบบถ้ำมองของคณะหนังเร่ของนาย Thomas Edison ซึ่งมีผู้นำมาเล่นถวาย พระพุทธเจ้าหลวงจึงเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ชมภาพยนตร์

          ปีถัดมา S.G. Marchovsky และคณะนำเอาหนังของพี่น้องตระกูล Lumiere แบบที่เรียกว่า Cinematograph เข้ามาฉายในกรุงสยาม การฉายหนังครั้งนั้น เป็นการฉายหนังให้สาธารณะชนดูเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 รอบแรกที่หนังออกฉาย โดยจัดฉายที่โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แกล้ประตูสามยอด

          ปี 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย หนังส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งกำิลังต่อสู้กันในขณะนั้น การฉายใช้วิธีกางผ้าใบชั่วคราวในบริเวณลานว่างของวัดชัยชนะสงคราม หรือวัดตึก

          เืมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี ปีถัดมาคณะหนังเร่คณะเดียวกันก็กลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้นในบริเวณที่ร้างข้างๆบริเวณที่ต่อมามีการสร้างศาลาเฉลิมกรุง จึงเป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามคิดสร้างโรงภาพยนตร์ตามบ้าง จึงมีโรงหนังเกิดขึ้นทีละโรงสองโรง เช่น โรงกรุงเทพซินีมาโตกราฟ บริษัทรูปยนต์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา เป็นต้น

เพราะเหตุที่หนังทีมาฉายที่โรงหนังชั่วคราวนั้นเป็นของคนญี่ปุ่น ชาวกรุงเทพจึงเรียกหนังยุคนั้นว่า 'หนังญี่ปุ่น' อยู่หลายปี ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว หนังที่เอามาฉายเป็นหนังที่สร้างโดยบริษัทสร้างหนัง Pathe ของฝรั่งเศส หนังที่ฉายแต่ละชุดในยุคนั้น เป็นหนังชุด แต่ละชุดประกอบด้วยหนัง 12 ม้วน แต่ละม้วนยาว 500 ฟุต เวลาฉายหนังจะเริ่มตั้งเเต่ 2 ทุ่ม ไปสิ้นสุดลงเวลา 4 ทุ่ม


          เมื่อนักธุรกิจชาวญี่ปุ่นคนอื่นๆเห็นว่าการฉายหนังเร่เป็นงานที่ทำเงินได้ดีในสยาม จึงเริ่มมองหาสถานที่และสร้างโรงหนังขึ้นตามที่ต่างๆหลายแห่ง หนังจึงกลายเป็นสิ่งบันเทิงของคนกรุงเทพไปในที่สุด

การฉายหนังของบริษัทต่างชาติในกรุงเทพในยุคนั้นมีการแข่งขันกันสูงมาก มีการลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์กันอย่างเอิกเกริก และต่อมาก็มีการให้จับฉลากตั๋วหนังเพื่อให้ของรางวัลแก่ผู้ดูอีกด้วย ข้อสังเกตคือ ในระยะเวลาช่วงแรกนี้ ยังไม่มีหนังเรื่องใดที่สร้างในเมืองไทยเลย


ในหมู่เจ้าของโรงหนังคนสยามก็มีการแข่งขันกันสูงมากเช่นกัน โดยเฉพาะระหว่างบริษัทใหญ่คือบริษัทรูปยนต์กรุงเทพ และบริษัทพยนต์พัฒนาการ ซึ่งแข่งกันสร้างโรงภาพยนตร์ในเครือของตนขึ้นตามตำบลสำคัญๆทั่วกรุงเทพฯ

          ถึงปี 2462 ทั้งสองบริษัทใหญ่นี้ตกลงรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกัน คือ สยามภาพยนตร์บริษัท กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบจะผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์และกิจการโรงหนังทั่วประเทศ

          ปี 2473 เพื่อป้องกันมิให้ภาพยนตร์ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นได้แพร่หลายอย่างกว้างขวาง และมีบทบาทในฐานะสื่อที่มีอิทธิพลสูง รัฐบาลสมัยพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 จึงออกกฎหมายให้อำนาจเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่องก่อนอนุญาิตให้นำออกฉาย เรียกว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช 2473


ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ

ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่มีการถ่ายทำในเมืองไทยคือเรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้างคือ บริษัทภาพยนตร์ Universal หนังเรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย

การสร้างภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ เริ่มจากนาย Henry McRay ผู้กำกับของ Universal และผู้ช่วย คือ นาย Gordon Sutherland รวมทั้งตากล้อง คือ นาย Dale Clauson เดินทางเข้ามาดูสถานที่ถ่ายทำในเมืองไทยเพื่อทำหนังสารคดีในปี 2466 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 แต่เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทย นาย McRay รู้สึกประทับใจในความสวยงามของภูมิประเทศ จึงตัดสินใจสร้างหนังเรื่องยาวแทน นาย McRay ติดต่อขอพระบรมราชานุญาตถ่ายภาพยนตร์ในเมืองสยาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 นอกจากจะทรงอนุญาตแล้ว ยังทรงโปรดให้กรมรถไฟหลวง และกรมมหรสพหลวง ร่วมงานกับนาย McRay ด้วย โดยกรมรถไฟหลวงอำนวยความสะดวกในการหาสถานที่ถ่ายทำ การเดินทางขนส่ง การล้างและพิมพ์สำเนาฟิล์มภาพยนตร์ โดยกรมมหรสพช่วยหาผู้แสดงให้

ผู้แสดงสำคัญในหนังเรื่องนี้ได้แก่ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร นางรำในกรมมหรสพหลวง แสดงเป็น นางสาวสุวรรณ ขุมรามภรตศาสตร์ (ยม มงคลนัฎ) ตัวโขนพระรามของกรมฯ แสดงเป็น นายกล้าหาญ ตัวพระเอก และหลวงภรตกรรรมโกศล (มงคล สุมนนัฎ) สมุหบาญชี แสดงเป็น นายก่องแก้ว ซึ่งเป็นตัวโกง


สถานที่ถ่ายทำ นอกจากในกรุงเทพฯแล้ว ยังเดินทางไปถ่ายทำที่หัวหิน เพื่ออวดสถานที่ตากอากาศของกรุงสยามอีกด้วย และเดินทางไปถ่ายทำที่เชียงใหม่อีกแห่ง เพื่้อแสดงภาพการทำป่าไม้ เมื่อถ่ายทำเสร็จสมบูรณ์ นาย McRay ได้นำขึ้นถวายพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร และมอบกรรมสิทธิ์สำเนาหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้ให้กับกรมรถไฟหลวง สำหรับนำออกฉายในประเทศไทย

ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเ้ต้นของประชาชน

ในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวู้ดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในสยาม โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ชื่อว่า "ช้าง"


ภาพจากภาพยนตร์เรื่อง ช้าง

          ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กำกับและถ่ายทำโดย มาเรียน ซี คูเปอร์ และ เออร์เนส บี โชคแส็ค ใช้เวลาถ่ายทำทั้งสิ้นปีครึ่ง สิ้นเงินประมาณ 2 แสนบา้ทไทยขณะนั้น สถานที่ถ่ายทำคือจังหวัดน่าน พัทลุง ตรัง สงขลา และชุมพร ออกฉายครั้งแรกในปี พ.ศ. 2570 ที่โรงภาพยนตร์ในนครนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา และฉายครั้งแรกในประเทศไทยเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2471

          เรื่องย่อๆของภาพยนตร์เรื่อง ช้าง คือ นายกรุจับลูกช้างได้จากหลุมที่ทำดักไว้ แล้วนำลูกช้างนั้นมาผูกไว้ใต้ถุนเรือนของตน ภายหลังแม่ช้างมาทำลายเรือนของนายกรุ เพื่อชิงเอาลูกของมันกลับคืนไป

ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร


:) :) :) :) :) :)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:08:09 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ Korubaby

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังใจที่มี 0
Re: ประวัติภาพยนตร์ไทย ...(ตอน1)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 เมษายน 2017, 12:23:42 »
เป็นประวัติที่ชาวไทยไม่ควรลืมนะครับ