ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 6 อวสานหงสา : King Naresuan 6  (อ่าน 13625 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย

ชื่ออังกฤษ : King Naresuan 6
ปีที่เปิดตัว : 2558
เข้าฉายในไทย : 9 เมษายน 2558
แนวหนัง : ดราม่า,แอ็คชั่น,ประวัติศาสตร์
กำกับโดย : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เขียนโดย : หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, สุเนตร ชุตินธรานนท์
นักแสดง : วันชนะ สวัสดี, วินธัย สุวารี, นพชัย ชัยนาม, อินทิรา เจริญปุระ, สรพงศ์ ชาตรี, จักรกฤษณ์ อำมรัตน์, ทักษอร เตชะณรงค์, นภัสกร มิตรเอม, คมกริช อินทรสุวรรณ, ปราปต์ปฎล สุวรรณบาง

พ.ท. วันชนะ สวัสดี ... สมเด็จพระนเรศมหาราช
พ.ท. วินธัย สุวารี ... สมเด็จพระเอกาทศรถ
จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ ... พระเจ้านันทบุเรง
นภัสกร มิตรเอม ... พระมหาอุปราชา/มังสามเกียด
นพชัย ชัยนาม ... พระราชมนู
ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ... พระอัครมเหสีมณีจันทร์
สรพงษ์ ชาตรี ... พระมหาเถรคันฉ่อง
ฉัตรชัย เปล่งพานิช ... สมเด็จพระมหาธรรมราชา
อินทิรา เจริญปุระ ... เลอขิ่น
เกรซ มหาดำรงค์กุล ... สมเด็จพระสุพรรณกัลยา
ศุภกรณ์ กิจสุวรรณ ... ไอ้ขาม
ชลัฏ ณ สงขลา ... มังจาปะโร
รณ ฤทธิชัย ... เมงราชาญี
เต็มฟ้า กฤษณายุธ ... เม้ยมะนิด
น.ท. จงเจต วัชรานันท์ ... นัดจินหน่อง

เรต : PG-13
สร้างโดย : Thailand
จำหน่ายโดย : สหมงคลฟลิ์ม Sahamongkol Film


เรื่องย่อ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา

          แม้นยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์

          แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อโยธยามีความสุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่

          หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน


          ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี ฝ่ายหงสาวดี พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ทรงโทมนัสที่ต้องสูญเสียพระราชโอรส จึงมีรับสั่งให้คลอกไฟเหล่าแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จ พระมหาอุปราช (นภัสกร มิตรเอม) ให้ตายตกตามกัน ทั้งยังระบายพระโทสะไปที่ พระสุพรรณกัลยา (เกรซ มหาดำรงค์กุล) องค์ประกันและพระราชโอรสธิดาถึงสิ้นประชนม์ชีพ

          ข้าง สมเด็จพระนเรศวร (พ.ท. วันชนะ สวัสดี) นั้น มีพระราชประสงค์จะนำทัพปราบหงสาวดีให้ราบคาบ มิให้ตกค้างเป็นเสี้ยนหนาม ครั้นมาได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระพี่นาง และพระราชนัดดาก็ยิ่งโทมนัส จึงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่ หมายเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง ในระหว่างที่เดินทางมาถึงเมืองเมาะตะมะได้จับตัว พระยาลอ ผู้สำเร็จราชการแทน ที่พระเจ้านันทบุเรง งให้มาปกครองเมือง ถูก เม้ยมะนิก (เต็มฟ้า กฤษณายุธ) ราชธิดาของ ศิริสุธรรมราชา เจ้าเมืองเมาะตะมะลอบสังหาร เพื่อแก้แค้นแทนบิดา พร้อมรวบรวมชาวรามัญเพื่ออาสาขอเข้าร่วมรบพม่ากับชาวอโยยา

          แต่ครั้นเมื่อทัพของพระองค์เสด็จถึงหงสาวดีก็พบแต่เพียงเศษซากของมหานครอันเคยยิ่งใหญ่ ด้วย นัดจินหน่อง (น.ท. จงเจต วัชรานันท์) ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางอุบาย เชิญพระเจ้านันทบุเรงพร้อมกวาดต้อนผู้คนแลทรัพย์ศฤงคารของหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น

          ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงยกทัพตามขึ้นไปถึงเมืองตองอู มีพระราชบัญชาให้ เมงเยสีหตู (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) เจ้าเมืองส่งตัวพระเจ้านันทบุเรงออกมาถวาย ด้านนัดจินหน่องเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรงที่เชิญมานั้น เป็นภัยชักศึกเข้าบ้าน จึงหมายยืมมือสมเด็จพระนเรศวรสังหารพระเจ้านันทบุเรงเสีย แต่เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านันทบุเรงที่ทรงทุพพลภาพเป็นที่น่าสมเพช ก็ให้สลดพระราชหฤทัย

          ระหว่างนั้น เมงราชาญี (รณ ฤทธิชัย) เจ้าเมืองยะไข่ได้แต่งทัพเป็นกองโจร ตีลัดตัดเสบียงอยุธยามิให้ส่งข้าวน้ำขึ้นไปเลี้ยงทัพที่ล้อมพระนครตองอูอยู่ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ท. วินธัย สุวารี) จึงแบ่งทัพลงมาหมายจะเผด็จศึกยะไข่มิให้เป็นหอกข้างเเคร่ แต่ทรงพลาดท่าถูกเมงราชาญีจับตัวได้ พระราชมนู (นพชัย ชัยนาม) จำต้องขันอาสานำกำลังลงมา แก้เอาสมเด็จพระเอกาทศรถกลับคืน และยกทัพกลับยังอยุธยา

          ข้างฝ่ายพุกามประเทศนั้นได้บังเกิดกษัตริย์ชาตินักรบขึ้นมา แทนพระเจ้าชนะสิบทิศ มีพระนามว่า พระเจ้ายองยาน ตามชื่อพระนครที่ปกครอง พระเจ้ายองยานทรงขยายแสนยานุภาพครอบคลุมดินแดนพม่าตอนบน เข้ายึดครองหัวเมืองในรัฐไทยใหญ่ทั้งหลาย และทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองยองห้วยและเมืองแสนหวี ซึ่งขณะนั้นล้วนเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงล่วงรู้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะตัดไฟเสียแต่ต้นลม ไม่ให้อธิราชศัตรูพลิกฟื้นขึ้นมา เป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอยุธยาได้อีก

          สมเด็จพระนเรศวรจึงได้เสด็จยกกองทัพไปตีอังวะ ครั้งนั้น พระมหาเถรคันฉ่อง (สรพงษ์ ชาตรี) และ พระอัครมเหสีมณีจันทร์ (ทักษอร เตชะณรงค์) ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ก็ทูลขอให้งดซึ่งราชการสงคราม สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงให้สัญญาว่าจะเสด็จไปทำศึกครานี้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็ยั้งทัพจัดกระบวนอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้ทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกขึ้นไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว

          อยู่มาสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวร จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบเชิญเสด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า ครั้นมาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยาราชธานี



ตัวอย่างหนัง King Naresuan 6


ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา (Final Trailer-HD)


ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา (Official Trailer-HD)


ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา (Final Trailer-HD)


ทบุเรง กษัตริย์องค์สุดท้ายบนบัลลังก์แห่งหงสา


ย้อนรอยภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


สมเด็จพระเอกาทศรถ พระอนุชาธิราชผู้ชำนาญศึก


พระราชมนู ขุนศึกคู่พระทัยองค์ดำ


เม้ยมะนิก เจ้าหญิงผู้อาจหาญ ถึงเป็นสตรีก็พร้อมรบเพื่อศักดิ์ศรีแห่งบิดา


14 ปีจารึกตำนานมหาราช สู่บทสรุปแห่งมหากาพย์ภาพยนตร์ ใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช


พระสุพรรณกัลยา วีรสตรีชีวิตนี้ยอมพลีเพื่อแผ่นดิน


มณีจันทร์ นางแก้วแห่งองค์พระนเรศ


เราสู้ เพลงประกอบภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ยุทธนาวี


พระนเรศวรมหาราช มหากษัตริย์ผู้ประกาศอิสรภาพให้แก่อโยธยา


MV. วีรกษัตริย์ไทย (Official Ost. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)


MV. King Of Fire (Official Ost. ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช)


ชม ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา ลุ้นรับ Prima Art แผ่นทองจารึกตำนาน


ชม ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา ในระบบ ATMOS ลุ้นรับ เสื้อยืด


เกร็ดน่ารู้
  • มงกุฎที่ แอฟ - ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ ผู้รับบท มณีจันทร์ สวมในฉากพระบรมราชาภิเษกคือมงกุฎของจริงจากพิพิธภัณฑ์
  • ชุดเกราะของ สมเด็จพระนเรศวร ที่แสดงโดย พ.ท. วันชนะ สวัสดี ในภาคก่อนๆ จะเป็นรูปนรสิงห์ แต่ในภาคนี้จะเปลี่ยนเป็นรูปนารายณ์ทรงสุบรรณ เนื่องจากมีคติความเชื่อเรื่อสัญลักษณ์ว่าพระมหากษัตริย์คือพระนารายณ์
  • ให้ช้างสองเชือกชนกันจริงๆ ในการถ่ายทำฉากยุทธหัตถี
  • ฉากยุทธหัตถีเพียงฉากเดียวใช้เวลาถ่ายทำนานถึง 1 ปี รวมเวลาค้นคว้ารวบรวมเอกสารทั้งของในและต่างประเทศ เพื่อที่จะสร้างภาพในอดีต 422 ปี และถ่ายทอดลงไปในภาพยนตร์
  • การถ่ายทำฉากยุทธหัตถีได้แบ่งเป็นหลายส่วนด้วยกัน ส่วนแรกถ่ายทำเฉพาะนักแสดงหลักที่เข้าฉากพร้อมช้างและนักแสดงสมทบกว่าพันชีวิต ส่วนที่สองถ่ายทำเฉพาะฉากที่สัปประยุทธ์ระหว่าง สมเด็จพระนเรศวร ที่แสดงโดย พ.ท. วันชนะ สวัสดี และ พระมหาอุปราชา ที่แสดงโดย นภัสกร มิตรเอม กับ สมเด็จพระเอกาทศรถ ที่แสดงโดย พ.ท. วินธัย สุวารี และ มังจาปะโร ที่แสดงโดย ชลัฏ ณ สงขลา ร่วมกับช้างและม้าศึกจำนวนมาก และส่วนที่สามจะถ่ายทำในส่วนที่จะใช้เทคนิคพิเศษเพื่อเพิ่มรายละเอียดให้แก่ฉาก
  • ฉากรบที่ฝั่งกรุงศรีอยุธยายิงปืนใหญ่ทำให้เกิดไฟไหม้ ไฟที่เห็นภาพยนตร์เป็นไฟจริงๆ



 
 
 
 
 

 
 
 
 
 

 
 
 
 
 

 
 

 
 
 
 
 

 
 
 

       
ชนวนศึกสงครามที่ยังคงดำเนินต่อภายหลังการสิ้นสุดมหาศึกคชยุทธ์ของ 2 แผ่นดินใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคยุทธหัตถี ที่หลายคนอาจะลืมไปแล้วว่า กว่าแผ่นดินอยุธยาจะร่มเย็นสืบเนื่องมาอีกเกือบ 200 ปี นับได้ราว 3 ชั่วอายุคน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมด้วยเหล่าสหายศึกบรรพชนผู้หาญกล้า ยังคงต้องเสียสละเลือดเนื้อไปอีกสักเท่าไหร่ ในขณะที่ยังทรงต้องรับมือกับการก้าวขึ้นมาเรืองอำนาจของเหล่าอาณาจักรต่างๆ ที่พร้อมท้าทายอโยธยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อวสานหงสา จุดพลิกผันครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ของการถ่ายเทอำนาจ จากหงสาวดีที่เคยรุ่งเรืองอย่างถึงขีดสุดถึงกลับมาล้มสลายหายไปจากพุกามประเทศ


       ภาคปิดส่งท้ายตำนานอันยิ่งใหญ่ขององค์พระมหากษัตริย์ยอดนักรบ โดยมีเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้นมากมาย ผู้ชมจะได้พบกับการขึ้นมาเรืองอำนาจของ “เกตุมวดีตองอู” อีกหนึ่งอาณาจักรที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในภาคนี้ พร้อมกับตัวละครใหม่ๆ อย่าง “เมงเยสีหตู” (นิรุตต์ ศิริจรรยา) ผู้ครองอาณาจักรตองอู ซึ่งมีศักดิ์เป็นพระอนุชาร่วมบิดาบุเรงนองผู้ชนะสิบทิศ เฉกเช่นเดียวกันกับพระเจ้านันทบุเรง พร้อมพระนางเมงเกงสอ พระมเหสี (รัชนี ศิระเลิศ) ผู้เต็มไปด้วยเล่ห์กลอุบายอันแยบยล และราชบุตรที่พร้อมจะขึ้นมาเป็นใหญ่อย่าง นัดจินหน่อง (นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานนท์) โดยมี มหาเถรเสียมเพรียม (สะอาด เปี่ยมพงษ์สานต์) ซึ่งเปรียบได้กับพระมหาเถรคันฉ่อง ผู้รอบรู้ทั้งเรื่องการศึกการสงคราม การมองการณ์ไกล คอยผลักดันให้ตองอูขึ้นมาทัดเทียมและอยู่เหนือหงสาวดี อันนำไปสู้ศึก 3 เส้าที่เกี่ยวโยงกับ แผ่นดินอโยธยา,หงสาวดีและตองอู


       ส่งผลให้สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถ พร้อมไพร่พลอโยธยาต้องออกกรำศึกต่อเนื่อง นำไปสู่การยกพลเข้าบุกตีอาณาจักรตองอูในเวลาต่อมา ก่อให้เกิดกลยุทธ์การทำศึกสงครามในเชิงรุกของฝั่งไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วอโยธยาจะเป็นฝ่ายตั้งรับศึกจากพม่าแทบทั้งสิ้น  สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นกษัตริย์นักรบที่มีความเต็มเปี่ยมในหัวใจทั้ง มุ่งมั่น เด็ดเดี่ยว และกล้าหาญ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงรู้ว่าการศึกครั้งนี้มีอุปสรรคมากมาย


ผู้พันเบิร์ด พันโทวันชนะ สวัสดี เผยว่า “เราจะได้เห็นความเข้มแข็งของอยุธยาภายใต้การปกครองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เห็นถึงความเด็ดเดี่ยวของพระองค์อันเป็นศูนย์นำจิตใจของคนสมัยนั้น ทำให้บ้านเมืองมีความเข้มแข็ง การเดินทัพของพระองค์จากอยุธยาไปไกลถึงหงสา เป็นครั้งแรกที่เราไปเหยียบหงสา แต่ในขณะเดียวกันเราก็จะเห็นพระองค์ได้เดินทัพไปรบอีกหลายศึก ในภาค 6 ไปรบกับตองอู รบกับเมาะตะมะ จะเห็นถึงในแง่ของการปกครองว่าทำไมพระองค์ถึงต้องทำแบบนั้น เพื่อความเป็นเอกราช และความคงอยู่อย่างมีความสุขของประชากรในอยุธยานั่นเองนะครับ


“การยกทัพขึ้นไปครั้งนั้นเป็นการยกทัพไปโดยที่พระองค์ไม่ได้เตรียมเสบียงอาหาร หรืออาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ การขึ้นไปจึงทุลักทุเลด้วยความยากลำบากของเส้นทางที่ไป ความที่มันเป็นป่าและมีโรคไข้ป่ามากมาย ทำให้ทหารของพระองค์เกิดล้มป่วย เจ็บตายกันมากทั้งการรบที่ยากลำบากอยู่แล้ว แถมซ้ำยังต้องมาเผชิญกับพวกกลุ่มชนอื่นๆ อย่างยะไข่ที่มาคอยตีตัดเสบียงเราอีก เราได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงอำนาจของอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่เราเรียกว่าหงสาวดี เปรียบได้กับยักษ์มหาอำนาจอย่างจีนในปัจจุบัน นั่นแหละคือหงสาวดีที่ยิ่งใหญ่ในอุษาคเนย์ในสมัยนั้น”


“วันหนึ่งภาค 6 อาณาจักรเหล่านั้นมันหายไปครับ มันเปลี่ยนศูนย์กลางอำนาจใหม่ไปอยู่ที่อื่นละ ในขณะเดียวกันก็จะมีความสอดรับกับการก้าวขึ้นมาสู่ห้วงอำนาจที่สำคัญของอยุธยา เป็นที่มาของการเป็นเอกราชที่สืบทอดยาวนานอีก170กว่าปี ก่อนที่เราจะมาเสียกรุงครั้งที่ 2 อีกครั้งหนึ่ง แล้วเราก็จะได้เห็นความสูญเสียของคน  โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุดก็คือความสูญเสียของพระนเรศวรก็เกิดขึ้นในภาคนี้ เชื่อเถอะครับว่าเมื่อดูจบภาค 6 แล้วทุกคนจะคิดเหมือนผมว่าควรจะมีภาคนี้เพราะมันคือประวัติศาสตร์ของเรา”



























ภาพโปสเตอร์





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 11 เมษายน 2015, 06:58:56 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได