ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 679 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา)
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: บทที่ 679 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา) (อ่าน 4281 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
มนัส กิ่งจันทร์
มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
Moderator
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 2853
พลังใจที่มี 35
เพศ:
บทที่ 679 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา)
«
เมื่อ:
19 มิถุนายน 2015, 11:58:16 »
บทที่ 679
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา)
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 19 มิถุนายน 2558)
สวัสดีครับทุกท่าน.. หลังจากที่
เสน่ห์ โกมารชุน
สร้าง
“ผีแม่นาค” “ผีเจ้าแม่ตะเคียนทอง”
ออกอาละวาดจนเป็นที่หวาดกลัวแก่ผู้คนทั่วไปแล้ว พอมาถึงปี 2510 เสน่ห์ก็สร้างผีอีกตัวหนึ่งคือ “ผีนางกาหลง” ในเรื่อง “แก้วกาหลง” ออกมาอาละวาดกวาดสตางค์จากกระเป๋าแฟนๆ คนกลัวผีทั้งหลายอีกครั้ง
แก้วกาหลง เป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา-เพชรา เชาวราษฎร์-ปรียา รุ่งเรือง ร่วมด้วยถวัลย์-ชุมพร-สาหัส-สมจิตต์-เชาว์-อดินันท์-เสน่ห์-สุคนธ์-สมพงษ์-ชูศรี-ทองฮะ-แป๊ะอ้วน-ยรรยง...กำกับการแสดงโดยเจ้าเก่า ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ เข้าฉายส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่วันที่ 29 ธันวาคม 2510 ที่โรงหนังศาลาเฉลิมกรุง
ซึ่งปัจจุบันไม่มีฟิล์มเหลือแล้วครับ
สิ่งที่เหมือนกับผีสองเรื่องแรกก็คือ
ปรียา รุ่งเรือง
ภรรยาของ
เสน่ห์ โกมารชุน
ก็ยังคงผูกขาดแสดงเป็นผีอีกเช่นเดิม.. คราวนี้ เสน่ห์เล่าเรื่องย้อนกลับไปถึงในสมัยรัชกาลที่ 5 วางเรื่องให้ “
มิตร ชัยบัญชา” รับบทเป็น “ไอ้แก้ว”
ทาสในเรือนเบี้ย แต่เพราะไอ้แก้วมีความขยันมากกว่าทาสคนอื่นๆ จึงได้สิทธิพิเศษให้เรียนหนังสือ (สมัยนั้นผู้เป็นทาสไม่มีสิทธิเรียนหนังสือ) ไอ้แก้วมีความสามารถในการเล่นดนตรีสีซออู้ได้อย่างไพเราะ จึงได้รับความไว้วางใจท่านเจ้าคุณมหิทธ์ศักดิ์ ให้เป็นผู้สอนสีซออู้แก่
“กาหลง” (ปรียา รุ่งเรือง)
ผู้เป็นลูกสาวท่านเจ้าคุณฯ ก็เรียกว่า สอนไป สอนมา เกิดใกล้สนิทสนมและลักลอบได้เสียกัน ซึ่งเป็นความผิดมีโทษมหันต์ ยังความโกรธแค้นแก่ท่านเจ้าคุณฯ เป็นอย่างยิ่งเพราะทั้งอายที่ลูกสาวลดตัวไปเป็นเมียทาสหนุ่ม..
ท่านเจ้าคุณฯ จึงสั่งลงโทษโบยเฆี่ยนหลังไอ้แก้วและจับขังคุกทาสไว้ กะว่าจะให้ตาย ส่วนกาหลงผู้เป็นลูกสาวนั้น ท่านเจ้าคุณส่งตัวไปกักขังอยู่ที่กระท่อมกลางสวน เพื่อให้คลอดลูกก่อน โดยจัดเวรยามเฝ้าดูแลไว้ แต่เมื่อคนเฝ้ากินเหล้าเมายา แล้วก็เกิดอารมณ์เข้าปลุกปล้ำหมายข่มขืนกาหลง กาหลงไม่ยอม ก็ต่อสู้ดิ้นรนสุดชีวิตกระทั่งตัวเองถูกบีบคอตายคากระท่อม.. ท่านเจ้าคุณฯ รู้ข่าว ก็เสียใจและรีบจัดการฝังศพกาหลงไว้และตัวเองก็ป่วยจนตรอมใจตายในเวลาต่อมา ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกันกับในหลวงรัชกาลที่ 5 โปรดให้เลิกทาส ไอ้แก้วจึงได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ แต่ไม่มีใครบอกว่า กาหลงเสียชีวิตไปแล้ว
ต่อมาหมอผีก็ไปขุดศพนางกาหลงขึ้นมา หมายจะเอาน้ำมันพรายไปทำเสน่ห์ยาแฝด แต่เพราะกาหลงเป็นผีตายโหงที่ถูกสะกดวิญญาณไว้ เมื่อยันต์สะกดหลุดออก ผีนางกาหลงก็เลยเฮี้ยนและจัดการฆ่าหมอผีตายเป็นศพแรก จากนั้นผีนางกาหลงก็ออกอาละวาดทุกค่ำคืน ชาวบ้านชาวช่องก็ไม่กล้าออกจากบ้านไปไหน ผีนางกาหลงออกตามหาไอ้แก้วผัวรัก เมื่อหาไม่เจอ ก็มานั่งสีซอคร่ำครวญทุกคืนจนชาวบ้านกลัว ย้ายหนีกันไปหลายคน...
ส่วนไอ้แก้ว เมื่อพ้นจากทาสมาเป็นไท ก็กลับไปอาศัยญาติๆ ทำนา แล้วก็ได้พบกับ “ซ่อนกลิ่น” (เพชรา เชาวราษฎร์) เกิดรักใคร่ชอบพอกัน กระทั่งเกลอเก่าที่เคยเป็นทาสหนีจากบ้านท่านเจ้าคุณฯ มาหาไอ้แก้วและขออาศัยอยู่ด้วย ซึ่งก็เป็นเวลาเดียวกับที่ผีนางกาหลงติดตามเกลอไอ้แก้วมาด้วยเช่นกัน ตกกลางคืน ผีนางกาหลงก็ปรากฏตัวและไปขออยู่กับไอ้แก้วที่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่า กาหลงตายไปแล้ว.. กระทั่งเกลอเก่าไอ้แก้วมาเห็นเข้า จึงบอกซ่อนกลิ่นว่า กาหลงตายไปแล้ว ซ่อนกลิ่นก็ไปบอกไอ้แก้ว แต่ไอ้แก้วกลับไม่เชื่อ หาว่า ซ่อนกลิ่นหึงหวงกาหลง..
เหตุการณ์เริ่มไม่ค่อยจะสู้ดีเพราะไอ้แก้วกับผีนางกาหลงยังคงอยู่ร่วมบ้านกัน ซ่อนกลิ่นจึงไปหาอาจารย์ หาผ้ายันต์มาให้ไอ้แก้วพิสูจน์ความจริงว่า กาหลงตายไปแล้ว แก้วจึงยอมเอาผ้ายันต์ใส่ไว้ใต้หมอนที่กาหลงนอน พอตกกลางคืนร่างของกาหลงก็กลายเป็นซากศพเน่าเฟะนอนอยู่แทน แก้วจึงรู้ว่า กาหลงตายแล้ว ก็หนีไป สร้างความโกรธแค้นให้ผีนางกาหลงเป็นอย่างมาก จึงออกอาละวาดฆ่าคนเป็นว่าเล่น หมอผีหลายคนที่หาปราบ ก็สู้ผีนางกาหลงไม่ได้ กระทั่งหมอผีคนล่าสุดก็กำลังจะถูกผีกาหลงหักคอ.. ไอ้แก้วทนไม่ได้ที่ผีนางกาหลงฆ่าคนเป็นว่าเล่น จึงออกมาพบและบอกให้กาหลงฆ่าไอ้แก้วแทนเพราะจะได้ตายและไปอยู่ด้วยกัน...
เมื่อผีนางกาหลงได้ยินเช่นนั้น ก็รู้ว่า แท้จริงแล้ว ไอ้แก้วยังรักกาหลงอยู่ เพียงแต่เพราะอยู่กันคนละชาติคนละภพ ไอ้แก้วจึงแสดงออกแบบนั้น ผีนางกาหลงรู้สำนึกผิดชอบชั่วดีแล้ว จึงยอมปล่อยหมอผีไป และรู้ว่า ซ่อนกลิ่นก็รับไอ้แก้วเช่นกัน เมื่อชาตินี้ไม่สามารถอยู่กับพี่แก้วได้อย่างคนทั่วไป ก้เอ่ยปากฝากพี่แก้วกับซ่อนกลิ่นให้ครองคู่อยู่ร่วมกัน ส่วนตัวกาหลงเองก็จะกลับไปชดใช้กรรมในนรกภูมิ เพื่อชาติหน้าจะได้เกิดมาเป็นเมียพีแก้วอีกครั้ง...แก้วกาหลง ก็จบลง...
-----------------------------
พิษณุโลก รามา
ฟังเล่าเรื่องแล้วอยากดูหนังเลยตอนเด็กๆดูหนังผีแบบนี้แล้วกลัวผีมาก. กลัวผียันโตเลยแหละ เช่นเรื่องดรุณีผีสิง จำติดตาถึงปัจจุบันนี้
ทิว ธรรมชาติ
ฟังคุณมนัสเล่าในเนื้อเรื่องให้ฟังหน้าติดครับ แต่ก็น่าเสียดายนะครับ ฟิล์มหนังไม่มีหลงเหลือให้ดูแล้ว..อดดู มิตร เพชรา และปรียา แสดงเป็นผี...เสียดายครับ..
Boashong Aeldee
ดูหนังผีสมัยก่อนน่ากลัวมาก ยิ่งสมัยก่อนไม่มีไฟฟ้าเวลาไปดูหนังผีก็จะเดินทางกลับทางก็มืดมาก แต่ละคนก็จะแข่งกันอยู่ตรงกลางไม่มีใครอยากอยู่ข้างหลังหรือข้างหน้า เวลาเดินขึ้นบันไดบ้านจะกระโดดข้ามอย่างน้อย 3 ขั้นเลย แต่ดูหนังผีทุกวันนี้กลายเป็นหนังตลกไปซะแล้ว ไม่มีความน่ากลัวเหมือนในอดีตเลย มีแต่เสียงหัวเราะมากกว่า เช่นเรื่องบ้านผีปอบ
สมัยนั้น วันเวลา..สิ่งแวดล้อม บรรยากาศ..ขนบธรรมเนียม จะเหมาะกับหนังผีไทยๆ แบบนี้แหละครับ ดูจบแล้ว เวลาจะกลับบ้าน ก็ไม่กล้าเดินกลับคนเดียว..
บรรพต ขำพึ่งตน
ภาพโฆษณาที่มิตรจูบซอกคอเพชรา ตอนนั้น เขาบอกว่าเพิ่งหายงอนกันนอกจอ และกลับมาคืนดีกัน จริงเท็จอย่างผมไม่ทราบครับ ผมอ่านจากนสพ.ครับ
Regis Madec
VCD แก้วกาหลง 2524 -
http://www.thaiworldview.com/tv/jpg/film378.jpg
VCD แก้วกาหลง 2524
ขอบคุณครับ
คุณ มนัส กิ่งจันทร์ ชุมทางหนังไทยในอดีต
สำหรับเรื่องย่อของหนัง
แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา)
. อีกหนึ่งเรื่องที่น่าดูครับแต่หายไปแล้วครับ. คุณมนัสเป็นนักเขียนเก่งมากครับ. เวลาอ่านบท เหมือนกับ ได้ดูหนังแล้วครับ. แก้วกาหลง โชคดีกว่า เจ้าแม่สาริกา เพราะว่ายังมีรุ่น 2524 ให้ดูครับ.
หนังผีสมัยก่อน.. แม้จะเป็นหนัง 16 มม. พากย์สดๆ ซึ่งการวางเพลงหรือเสียงแบ็กกราวน์ประกอบหนัง ทำได้ค่อนข้างยาก แต่อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติตลอดจนความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจยังคงฝังแน่นอยู่ในใจคน จึงทำให้การดูหนังผีสมัยก่อน ดูแล้วเกิดความน่ากลัวกว่าสมัยนี้ ยิ่งถ้าเป็นฉายหนังกลางแปลงกลางทุ่งหรือในบริเวณวัดที่ที่เรามองเห็นป่าช้า เจดีย์ ต้นไม้ใหญ่ที่ลมพัดมา กิ่งไม้ก็ไหวๆ ยิ่งทำให้น่ากลัวครับ ดูจบแล้ว ไม่กล้าเดินกลับบ้านคนเดียวครับ..
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 มิถุนายน 2015, 17:48:30 โดย มนัส กิ่งจันทร์
»
บันทึกการเข้า
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 679 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ แก้วกาหลง (2510 มิตร-เพชรา-ปรียา)