หนังไทยระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป
ความรุ่งเรืองของหนังไทยในยุคบุกเบิก ได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนัก เนื่องจากเกิดภาวการณ์ขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. อย่างฉับพลัน หลังจากที่ยุโรปเริ่มลุกโชนด้วยไฟสงคราม จากความเหี้ยมโหดของฮิตเลอร์ ผู้นำนาซีเผด็จการของเยอรมัน ก่อนที่จะแผ่ขยายความหายนะไปทั่วโลกเมื่อญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ที่เป็นฐานทัพสหรัฐ ทัให้อเมริการประกาศตัวเข้าร่วมสงครามทันที และหลังจากที่สงครามลุกลามมาจนถึงเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นก็ยาตราทัพขึ้นฝั่งไทยในวันที่ 8 ธันวาคม 2483 เพื่อใช้เป็นทางผ่านไปพม่าและมลายู ทำการรบกับอังกฤษที่ยึดอินเดียเป็นอาณานิคม รวมทั้งจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้บุกแมนจูเรียและทำสงครามกดดันจีนมานานหลายปีแล้ว ในวันที่ยกพลขึ้นบก ได้มีปฎิบัติการต่อต้านญี่ปุ่นอย่างรุนแรง จากยุวชนทหาร ซึ่งจบชีวิตลงอย่างน่าสลดใจ แต่ก็คงไว้ซึ่งวีรกรรมอันหาญกล้าของวัยรุ่นรักชาติ
ในภารกิจที่สำคัญอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นก็คือการสร้างรถไฟไทยไปพม่า ซึ่งกลายเป็นทางรถสายมรณะ และมีสะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นปฏิบัติการสุดโหดที่ต้องสังเวยด้วยชีวิตของเชลยศึกชาวอังกฤษ,ออสเตรเลีย และอเมริกัน ไปกบความดิบเถื่อนของป่าดงพงไพรและความกราดเกรี้ยวแห่งไฟสงครามรัฐบาลไทยขณะนั้นได้เข้ากับญี่ปุ่น ยอมให้ใช้เป็นทางผ่าน เพื่อความอยู่รอดในขณะที่คนไทยหลายกลุ่มได้รวมตัวต่อต้านญี่ปุ่นกันอย่างลับๆ หลายกลุ่ม อาทิ ไทยถีบ ต่อมารวมตัวกันเป็นขบวนการ ชื่อ เสรีไทย โดยในสายต่างประเทศมี นายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำสำคัญ
กรุงเทพ ถูกระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรถล่มอยู่หลายครั้ง เพื่อปราบญี่ปุ่น เป็นเหตุให้ คู่กรรม ระหว่าง โกโบริ กับ อังศุมาลิน ได้พบรักกัน ขณะที่ มนัส ก็ทำภารกิจลับในกลุ่มเสรีไทย สถานการณ์ช่วงนี้ ปรากฏอยู่ในนิยายอีกหลายเรื่อง(ในยุดต่อๆมา) อาทิ ระย้า,แหวนทองเหลือง , แสงเพลิงที่เกริงทอ ,ขมิ้นกับปูน,โสนบ้านเช้าคัดเค้าบานเย็น ,คนเริงเมือง ,หยุดโลกเพื่อเธอ ฯลฯ ซึ่งก็สะท้อนภาพเหตุการณ์แห่งยุคสมัยไว้หลายด้าน มีทั้งเรื่องรักระหว่างรบ ,การพลัดพราก ,การเสียสละเพื่อชาติ ,สายลับสองหน้า ,ตามล่าขุมทอง ,วิธีชีวิตในไฟสงคราม ,การเปลี่ยนแปลงสถานะทางสังคม, การปรับตัวกับสถานการณ์ใหม่ๆ ฯลฯ