พันท้ายนรสิงห์ พ.ศ.2493
ผลงานเรื่องแรกของบริษัทอัศวินภาพยนตร์ ซึ่งเดิมคือ บริษัทไทยฟิล์ม จากการก่อตั้งของนักเรียนนอกในยุคนั้น มี พระเจ้าวรวงค์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เป็นผู้นำ หนังเรื่องนี้เคยเป็นละครเวทีที่ประสบความสำเร็จมาก่อน จึงได้รับความนิยมมาก ชูชัย พระขรรค์ชัย และ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ เป็นพระ-นาง กำกับการแสดงโดย มารุต มีเพลงเด่นคือ น้ำตาแสงไต้ เป็นเรื่องราวของนายท้ายเรือที่ยอมสละชีพเพียงเพื่อให้ผู้ปกครองบ้ายเมืองรักษากฎเกณฑ์ โดยไม่มีข้อยกเว้น แม้การกระทำนั้นจะสร้างโศกนาฏกรรมอย่างแสนสาหัส หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมาก ทำให้ อัศวิน ส้รางภาพยนตร์เด่นๆอย่างต่อเนื่อง เช่น นเรศวรมหาราช เป็ดน้อย ละครเร่ จำปูน เพลงจากหนังคือ น้ำแสงไต้ โด่งดังมาจนปัจจุบัน เขียนทำนองโดย สง่า อารัมภีร์ ทำนองโดย มารุต(บทละครนี้ถูกนำมาสร้างใหม่หลายครั้งด้วยกัน)
สาวเครือฟ้า พ.ศ. 2493
จากบทพระพันธ์ที่นำมาแสดงเป็นละครเวที ดัดแปลงเป็นภาพยนตร์อีกครั้ง เป็นเรื่องราวของสาวเหนือที่ต้องจบชีวิตด้วยโศกนาฏกรรม เพราะไม่สมรักกับนายทหารหนุ่มผู้มาจากเมืองกรุง การตัดสินใจฆ่าตัวตายของสาวเครือฟ้านั้นเด็ดเดี่ยว แทบเคียงกับโอเปร่า MADAME BUTTERFLY วิไลวรรณ วัฒนพานิช นำแสดงคู่กับ ชลิตสุเสวี ในบทร้อยตรีพร้อม (ในไม่กี่ปีต่อมามีการนำบทประพันธ์นี้มาสร้างอีกครั้ง นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา และ พิสมัย วิไลศักดิ์ และใน พ.ศ. 2525 สุพรรณษา เนื่องภิรมณ์ และ นิรุตติ์ ศิริจรรยา ก็ได้รับบทนี้)
สันติ- วีณา พ.ศ. 2496
หนังไทยเรื่องแรกที่สามารถคว้ารางวัลจากต่างประเทศ
จากการสร้างครั้งแรกของ “รัตน์ เปสตันยี” แห่งบริษัทหนุมาณภาพยนตร์ ได้รับรางวัลกำกับการแสดงยอดเยี่ยม (ครูมารุต),กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม (อุไร ศิริสมบัติ)และถ่ายภาพยอดเยี่ยม(จากฝีมือของรัตน์ เปสตันยี) และได้รับรางวัลการเผยแพร่วัฒนธรรมดีเด่นจากการประกวดภาพยนตร์เอเชีย-อาคเนย์ ที่ประเทศญี่ปุ่น ปี2497 เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรก ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯเสด็จไปทอดพระเนตรในรอบปฐมทัศน์ ถ่ายทำในระบบ 35 มม.เสียงในฟิล์ม สีธรรมชาตสมบูรณ์แบบ นำแสดงโดย “พูนพัน รังควร” และ “เรวดี ศิริวิไล”(ในปี 2519 มีการสร้างใหม่ให้ “นาท ภูวนัย” และ “นัยนา ชีวานันท์” นำแสดง โดยทีมงานเก่าๆกลับมาร่วมงานกันอีกครั้ง ใบปิดสวยมาก)
ดรรชนีนาง พ.ศ.2497
นี่ก็มาจากละครเวทียอดนิยม เรื่องรักปนเศร้า แบบโศกนาฏกรรมเช่นกัน ส.อาสนจินดา เล่นคู่ สวลี ผกาพันธ์ เรื่องชาวทะเลสาวที่พบรักกับนายทหารเรือและไม่สมหวังเพราะถูกกีดกันกลั่นแกล้งแย่งชิงคนรัก ปีต่อมามีการสร้าง เสือน้อย เป็นภาคต่อ เรื่องของทายาทหนุ่มที่เกิดมาด้วยบาดแผลแห่งหัวใจของพ่อแม่ ส.อาสนจินดา ทั้งกำกับและนำแสดง สร้างชื่อเสียงและฝีมืออย่างมาก และบทเด่นของเสือน้อย ก็ทำให้นักแสดงอย่าง ทักษิณ แจ่มผล โด่งดังในทันที (ดรรชนีนาง สร้างอีกครั้ง ให้ อรัญญา นามวงศ์ คู่ กรุง ศรีวิไล โดยมี รัชนู บุญชูดวง ดาวรุ่งทางทีวี. รับบทเป็นลูกสาว เสือน้อย รับบทโดย สรพงษ์ ชาตรี ประกบ สมบัติ เมทะนี เนาวรัตน์ ยุกตะนันท์ เป็นนางเอก หนังไม่ค่อยประสบความสำเร็จทั้ง 2 เรื่อง)
โบตั๋น พ.ศ.2498
หนังไทยเรื่องแรกที่ทำรายได้เกิน1ล้านบาท(ทำรายได้ 1ล้าน 6แสน จากการฉายโปรแกรมตรุษจีน) จากการนำแสดงของพระเอกแห่งยุคผู้เจนจัดมาจากละครเวที ส.อาสนจินดา ประชันบทบาทกับนางเอก วิไลวรรณ วัฒนพานิช นางเอกเจ้าน้ำตาชื่อดัง,ร่วมด้วย ฑัต เอกฑัต กำกับโดย ครูเนรมิต เป็นเรื่องรักต้องห้ามของหนุ่มไทยกับสาวเชื้อจีนต่างชนชั้น (ต่อมา สมบัติ เมทะนี เล่นคู่กับ พิสมัย วิไลศักดิ์ โดยมี นาท ภูวนัย และนางเอกจีนอีกคนสมทบ)
ชั่วฟ้าดินสลาย พ.ศ.2499
หนังรักที่แฝงด้วยความอาฆาตพยาบาท จากพล็อตเรื่องแปลก,สมัยใหม่ จากงานประพันธ์ของ เรียมเอง เรื่องของหนุ่มน้อยที่หลงเสน่ห์เมียสาวของอา จึงถูกจับล่ามโซ่ติดกันให้สมอยาก ต่อมา กาลเวลาที่ทำให้รัก และพิศวาสนั้นแปรเปลี่ยนเป็นความอึดอัด เมื่อทั้งสองหนีได้สำเร็จจึงเลือกทางออกด้วยวิธีการตาย โดยให้ฝ่ายหญิงกินยาพิษก่อน แต่พอเธอตาย ฝ่ายชายกลับไม่สังหารตัวเอง เขาตัดมือเธอขาดเพื่อให้พ้นจากพันธนาการติดกัน แต่เขาก็เสียสติด้วยความสับสนทางจิตใจ เวลาต่อมา ชนะ ศรีอุบล เป็นพระเอก งามตา ศุภพงษ์ เป็นนางเอกเซ็กซี่ เมียน้อยของพะโป้ ชายแก่ผู้มีความโหดเหี้ยมและอาฆาต ซึ่งรับบทโดย ประจวบ ฤกษ์ยามดี และสามารถสร้างชื่อเสียงให้แก่เขาเป็นอย่างมาก
ในยุคของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พยายามผลักดันให้เกิด บริษัทภาพยนตร์แห่งชาติ จากการรวมกลุ่มของผู้สร้างหนังเสียงในฟิล์มมาตาฐานของประเทศไทย และยังมีโครงการสร้างเมืองภาพยนตร์แห่งแรกของไทยคล้ายกับ ฮอลลีวู้ด แต่แล้วก็ฝันสลายเมือเกิด รัฐประหารโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ในปี 2501