ความคิดส่วนตัวล้วนๆ
ต้องแยกเป็นประเด็นอย่งนี้ครับ
1.ในแง่ ของนักแต่งเพลง เจ้าของสิทธิ์ ผู้ผลิต ต่างๆ ค่าตอบแทน ควรคิด ตั้งแต่ตอนขายแพลงแล้ว ครับ
จะเปิดที่ไหน ก็เรื่องของเขา อยากได้ค่าสิขสิทธิ์เท่าไรก็บวกเข้าไป จะเปิดในบ้าน นอกบ้าน งานวัด งานเครื่องไฟ ไม่เกี่ยว
การไล่จับ แฟนเพลงค่ายตัวเอง มีแต่เสียกับ เสีย ๆ
2.การนำเพลงเดิม มาทำใหม่ เก็บค่าสิขสิทธิ์ได้ การนำเพลงไปประกอบธุรกิจอื่น เก็บได้ เช่น ประกอบโฆษณา ประกอบหนัง เอาไปประกอบภาพยนตร์ => เห็นด้วย
3.การนำเพลงไปออกอากาศ ทางรายการวิทยุ โดย DJ ต่างๆ ไม่ควรเก็บ เขาเอาเพลงไปโปรโมท จะไปเก็บตังเขาได้อย่างไร
4.กิจการ Karaoke ทุกประเภท เก็บค่าสิขสิทธิ์ได้ => เห็นด้วย
5.การเล่น แสดงดนตรี แบบ เดี่ยวหรือวง แยกเป็น 3 แบบ
5.1 การเล่นสด ทุกชิ้นดนตรี และนักร้อง ไม่ควรเก็บ เพราะนักร้องนักดนตรี กว่าจะเล่นได้ต้องฝึกจนมีทักษะ
ดังนั้นการเล่นสด ต้องเก็บไม่ได้
แต่ถ้าจำเป็นต้องเก็บ เพราะ ค่ายเพลงต้องเก็บ ควรใช้ ลักษณะเป็นค่าสมาชิกของ ค่ายเพลงแทน
เช่นสมมุติผมเล่นกลอง เป็นสมาชิกของค่าย A ค่าสมาชิก สมมุติ ปีละ 500 บาท เล่นกลองของค่ายได้ทุกเพลง ที่ไหนก็ได้
5.2 การเปิดแผ่น ที่เกิดจากเครื่องเล่น อิเล็กทรอนิกส์ หรือ DJ ก็ให้เป็นสมาชิกกับค่าย เพลง ลักษณะเดียวกัน
5.3 การเล่นและการแสดงดนตรี แบบ เล่นทับไลน์ กับ คอมพิวเตอร์ การเปิดแผ่น ลิปซิ้งค์ ทุกแบบ เก็บได้
เพราะการแสดงดนตรีแบบ ไม่เล่นจริง ไม่ได้ฝึกฝน หรือไม่ใช่ทักษะ ต้องเสีย ค่าสิขสิทธิ์ เพราะเอาของต้นฉบับ ไปทำธุรกิจ
ถ้าทำได้อย่างนี้ มีแต่คน ชื่นชมเพราะสนับสนุน วงการเพลง จริงๆ สนับสนุนให้เกิดนักดนตรีหน้าใหม่
แต่การที่ไปไล่จับ คนที่ฟังเพลง ของค่าย เพลงของแท้ ในร้านสปา ร้าน 20 ทุกอย่าง ร้านซ่อมรถยนตร์ ร้านซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า วงดนตรี แฟนแพลง และลูกค้า ก็คงต้องรอดู ลูกค้าว่าจะตอบรับแค่ไหน
ง่ายๆ กับการยกตัวอย่าง ร้านเกี๋ยวเตี๋ยว ต่อให้รสชาติอร่อยที่สุดในประเทศ หากินที่ไหนไม่ได้ มีอยู่เจ้าเดียว แต่ถ้าคนไม่กินเพราะไม่ชอบเจ้าของร้าน แล้วจะไปขายใคร
คิดไม่ครบ ทุกด้าน คิดใหม่ได้ เพราะ ผลที่เกิด มันย่อมมาจากเหตุที่ทำทั้งสิน