ผู้เขียน หัวข้อ: ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ วันครบรอบ ๑๐๐ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี  (อ่าน 3741 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย



เพลงสรรเสริญพระบารมี 100 ปีร่วมร้อยใจไทย ผลิตโดย : มูลนิธิร่วมร้อยใจไทย

          เพลงสรรเสริญพระบารมี  เป็นบทเพลงซึ่งบรรเลงเพื่อสรรเสริญพระบารมีแห่งพระมหากษัตริย์ เดิมทีเพลงสรรเสริญพระบารมีใช้เป็นเพลงประจำชาติของไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2431 - 2475 นับเป็นเพลงชาติไทยฉบับที่ 3 ของไทย ทำนองโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์เพลงชาวรัสเซีย (บ้างก็ว่าเป็นครูเพลงชาวฮอลันดาชื่อ เฮวุดเซน) ประพันธ์เมื่อ พ.ศ. 2431 คำร้องเป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร

          ในตอนแรกคำร้องดังกล่าวในท่อนสุดท้าย ใช้คำว่า "ฉะนี้" ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนคำว่า "ฉะนี้" ให้เป็น "ชโย" ดังที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากคำว่า "ฉะนี้" เมื่อร้องตามทำนองของเพลงแล้ว คนมักจะออกเสียงเพี้ยนเป็นคำว่า "ชะนี" ทำให้พระองค์ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงทรงเปลี่ยนจากคำว่า "ฉะนี้" เป็น "ชโย" ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "ไชโย" และ "ชย"


Version ครบรอบ 100 ปีเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยพระเอก นางเอกภาพยนตร์ไทย 10 เรื่องดัง

ประวัติ

          เพลงสรรเสริญพระบารมี มีเค้าโครงว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีเพลงที่มีลักษณะคล้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีอยู่ก่อนแล้ว ใช้บรรเลงในเวลาพระมหากษัตริย์เสด็จลงท้องพระโรงและเสด็จขึ้น

          แต่เพลงสรรเสริญพระบารมีในฐานะเพลงชาตินั้น เริ่มปรากฏในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยมีการใช้เพลง ก็อดเซฟเดอะคิง ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงชาติของอังกฤษ บรรเลงเป็นเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ ตามแบบอย่างการฝึกทหารของอังกฤษ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ได้ใช้ทำนองเพลงนี้แต่งคำร้องสรรเสริญพระบารมีถวายโดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ"

          จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเกาะชวาในปี พ.ศ. 2414 ขณะที่ทรงประทับอยู่ที่สิงคโปร์นั้น ทหารอังกฤษได้ใช้เพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง" บรรเลงเป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จ ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่าทั้งอังกฤษและไทยต่างใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเพลงเดียวกัน ต่อมาเมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปยังเมืองปัตตาเวีย ชาวฮอลันดาที่ตั้งอาณานิคมที่นั้น ได้ถามถึงเพลงประจำชาติของไทย เพื่อจะได้นำไปบรรเลงรับเสด็จ พระองค์จึงมีพระราชดำริแก่ครูดนตรีไทย ให้แต่งเพลงแตรวงรับเสด็จเพื่อใช้แทนเพลง "ก็อดเซฟเดอะคิง"


          คณะครูดนตรีไทยจึงได้เสนอเพลงบุหลันลอยเลื่อน (หรือเพลงทรงพระสุบิน) ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายเฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็กชาวฮอลันดา เรียบเรียงทำนองขึ้นใหม่ให้เป็นทางดนตรีตะวันตก และได้ใช้เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2414 จนถึง พ.ศ. 2431 (ดร. สุกรี เจริญสุข ได้สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเพลงเดียวกันกับเพลงสรรเสริญเสือป่า ซึ่งใช้เป็นเพลงเกียรติยศของเสือป่าในสมัยรัชกาลที่ 6

          ต่อมาจึงมีการเปลี่ยนมาใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับที่เป็นผลงานของ ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. 2431 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เนื้อร้องประกอบและได้ออกบรรเลงครั้งแรกที่ศาลายุทธนาธิการในปีเดียวกัน ต่อมาทรงนิพนธ์เนื้อร้องของเพลงนี้อีกหลายเนื้อร้องเพื่อขับร้องในกลุ่มต่าง ๆ กัน เช่น ทหาร นักเรียนชาย นักเรียนหญิง เป็นต้น แต่มีเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีอีกสำนวนหนึ่งที่เป็นพระนิพนธ์ในพลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ สำนวนนี้เป็นสำนวนสำหรับทหารเรือขับร้องโดยเฉพาะ

          เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับปัจจุบันนั้น เดิมทีเป็นเนื้อร้องที่พระองค์ได้นิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้ในพระราชพิธีลงสรงของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อมาเมื่อถึงรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงนำเพลงสรรเสริญพระบารมี มาพระราชนิพนธ์คำร้องขึ้นใหม่ โดยทรงรักษาคำร้องเดิมเอาไว้เกือบทุกอย่าง ยกเว้นแต่ทรงเปลี่ยนคำร้องในท่อนสุดท้ายว่า "ฉะนี้" ให้เป็น "ชโย" และประกาศใช้ ในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2456 และใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

          ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เพลงสรรเสริญพระบารมีไม่ได้ใช้ในฐานะเพลงชาติอีกต่อไป แต่ยังคงใช้ในฐานะของเพลงถวายความเคารพแด่องค์พระมหากษัตริย์ มีอยู่ช่วงหนึ่งมีการตัดทอนเพลงนี้ให้สั้นลง แต่ได้ยกเลิกการใช้แล้ว






เนื้อเพลง

          เนื้อเพลงนี้ คือเนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ในปัจจุบัน

         
ข้าวรพุทธเจ้า                                             เอามโนและศิระกราน
นบพระภูมิบาล                                                     บุญดิเรก
เอกบรมจักริน                                                      พระสยามินทร์
พระยศยิ่งยง                                                        เย็นศิระเพราะพระบริบาล
ผลพระคุณ ธ รักษา                                               ปวงประชาเป็นสุขศานต์
ขอบันดาล                                                          ธ ประสงค์ใด
จงสฤษดิ์ดัง                                                        หวังวรหฤทัย
ดุจถวายชัย (อ่านว่า ดุด-จะ-ถะ-หวาย หรือ วาย-ชัย)       ชโย





เพลงสรรเสิรญพระบารมี 3 (HD)


เพลงสรรเสริญพระบารมี 1 (HD)


เพลงสรรเสริญพระบารมี Ver. Major


เพลงสรรเสริญพระบารมี Version by DINHIN ฉายในเครือMajor Cineplex


วาระและโอกาสในการใช้

          ระเบียบของสำนักพระราชวังกำหนดวาระในการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีไว้  ดังนี้

1.พิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
2.พิธีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ/หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมกับประมุขต่างประเทศ ให้บรรเลงเพลงชาติของประมุขต่างประเทศ และเพลงชาติไทย ก่อน แล้วจึง บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี รับเสด็จฯ เมื่อประมุขต่างประเทศเสด็จฯ กลับ หรือไปตามลำพัง ให้บรรเลงเพลงชาติเพื่อ ส่งเสด็จฯ
3.พิธีที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จพระราชดำเนิน ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
4.พิธีที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
5.พิธีที่ผู้แทนพระองค์ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในงานเสด็จพระราชดำเนินต่างๆ
          1.ถ้าผู้แทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ หรือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จพระราชดำเนินให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งรับและส่งเสด็จฯ
          2.ถ้าผู้แทนพระองค์เป็นบุคคลอื่น เมื่อผู้แทนพระองค์มาถึง ไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ และเมื่อผู้แทนพระองค์นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นการเปิดงานและปิดงาน เมื่อผู้แทนพระองค์กลับไม่ต้องบรรเลงเพลงใด ๆ
นอกจากนี้ ในการมหรสพต่างๆ ในประเทศไทย เช่น การฉายภาพยนตร์หรือการแสดงดนตรี ก็นิยมมีการบรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีก่อนเริ่มทำการแสดงเสมอ สำหรับการกระจายเสียงของสถานีวิทยุและการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ เพลงสรรเสริญพระบารมีก็ได้ถูกในเป็นเพลงสำหรับแจ้งการยุติการกระจายเสียงประจำวันของสถานีวิทยุกระจายเสียงในประเทศไทย และใช้เป็นเพลงเริ่มต้นและยุติการแพร่ภาพออกอากาศประจำวัน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย หรือในช่วงเปลี่ยนแปลงวันออกอากาศไปสู่วันใหม่ (ซึ่งจะขึ้นอยู่กับแต่ละสถานี)



การบันทึกเสียง


เพลงสรรเสริญพระบารมีเก่าสุดในโลก

          เพลงสรรเสริญพระบารมีมีการบันทึกเสียงครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นการบรรเลงโดยวงดนตรีคณะละครนายบุศมหินทร์ที่ประเทศเยอรมนี บันทึกลงบนกระบอกเสียงชนิดไขผึ้งของบริษัทเอดิสัน และมีการบันทึกเสียงโดยมีการขับร้องประกอบครั้งแรกโดยเป็นเสียงร้องของแม่ปุ่น (ไม่ทราบนามสกุล) และแม่แป้น (แป้น วัชโรบล) ในแผ่นเสียงปาเต๊ะร่องกลับทางของบริษัทปาเต๊ะ ประเทศฝรั่งเศส ส่งแตรวงกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์) เมื่อ พ.ศ. 2450


เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง SFX


Thai Royal Anthem เพลง สรรเสริญ พระบารมี


MV เพลงสรรเสริญพระบารมี (โรงภาพยนตร์ EGV)


เพลงสรรเสริญพระบารมี โรงหนัง SFX  คุณแมรี่ อึ้งรังษี (ภรรยาคุณบัณฑิต อึ้งรังษี) เป็นผู้ขับร้อง

#Invalid YouTube Link#
Thai Royal Anthem เพลง สรรเสริญพระบารมี ( SFcinema Ver.) ขับร้องโดย Yaowapa Hoisangwan (เยาวภา ห้อยสังวาลย์)


เพลงสรรเสริญพระบารมี เวอร์ชั่นฉายในโรงภาพยนตร์ในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็๋กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมถวายพระพรชัยมงคล จัดทำขึ้น เนื่องในโอกาส เฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๔๗


เพลงสรรเสริญพระบารมีชุดสายฝน2


เพลงสรรเสริญพระบารมี ชุดสายฝน3


เพลงสรรเสริญพระบารมี ชุด จิ๊กซอว์

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2015, 12:01:15 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย

          ในอดีตตอนต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สยามได้ใช้เพลงประโคมอย่างโบราณแทนเพลงสรรเสริญพระบารมีเพื่อใช้เป็นเพลงถวายพระเกียรติ และเครื่องประโคมที่สำคัญได้แก่ มโหระทึก สังข์ แตรงอน ปี่ไฉน กลองชนะ และอื่นๆ


ประสงค์ภาพยนตร์ สรรเสริญพระบารมี หนังกางแปลง

          ต่อมาเมื่อขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นยุคทองของการเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่ง เพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างไทยที่ใช้การประโคมเป็นอันต้องยุติบทบาทลง เนื่องด้วยการรับวัฒธรรมอย่างฝรั่งซึ่งมีที่มาจากช่วงปีพ.ศ.2394 ได้มีครูฝึกทหารชาวอังกฤษชื่อ Impey เดินทางเข้ามาเพื่อทำหน้าที่ฝึกทหารในวังหลวง ต่อมาทหารอังกฤษอีกนายหนึ่งชื่อ Thomas Knox ก็ได้เดินทางเข้ามาและพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าทรงให้ทำหน้าที่ฝึกทหารในวังหน้า ทั้งคู่เป็นผู้ที่นำเพลง "God Save The Queen" ซึ่งถือเป็นเพลงถวายพระเกียรติพระนางเจ้าวิคตอเรียแห่งประเทศอังกฤษมาใช้ในกรุงสยาม แต่มีการประพันธ์เนื้อร้องใหม่เป็นภาษาอังกฤษเพื่อถวายพระเกียรติรัชกาลที่ 5 ซึ่งปรากฎหลักฐานสำคัญอยู่ในหนังสือ Siam Recorder


แผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี เนื้อร้องเอื้อนไทยเดิมยุคแรก ขับร้องโดยแม่ปุ่นและแม่แป้นในสมัยรัชกาลที่ 5

          ต่อมาไม่นานพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) จึงได้ประพันธ์คำร้องเป็นภาษาไทยลงในทำนอง God Save The Queen โดยให้ชื่อว่า "จอมราชจงเจริญ" ดังนี้


เพลงสรรเสริญพระบารมี เจ้าฟ้านริศฯ บนแผ่นเสียงปาเต๊ะรัชกาลที่ ๕

ความ สุขสมบัติทั้ง บริวาร
เจริญ พละปฏิภาณ ผ่องแผ้ว
จง ยืนพระชนมาน นับรอบ ร้อยแฮ
มี พระเกียรติเพริศแพร้ว เล่ห์เพี้ยงเพียงจันทร์

          จนกระทั่งขึ้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปรและเกาะชวาในปี พ.ศ.2414 ขณะที่พระองค์ประทับอยู่ที่สิงคโปร ซึ่งในเวลานั้นอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ทหารอังกฤษจึงได้ใช้เพลง God Save The Queen บรรเลงเป็นเพลงถวายพระเกียรติรับเสด็จแบบเดียวกับที่ใช้ในกรุงสยาม ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จถึงเมืองปัตตาเวีย เกาะชวา ซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของฮอลลันดา ทหารฮอลลันดาจึงทูลถามพระองค์ว่าจะให้ใช้เพลงอะไรบรรเลงเพื่อเป็นเพลงถวายพระเกียรติรับเสด็จ พระองค์จึงทรงสั่งให้บรรเลงเพลง God Save The Queen เช่นเดียวกับในกรุงสยาม ทหารฮอลลันดาจึงทูลถามอีกครั้งว่า สยามมิได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ทำไมจึงใช้เพลง God Save The Queen

          เมื่อพระองค์ทรงได้ยินเช่นนั้นก็ตกพระทัย และสั่งมิให้มีการบรรเลงเพลง God Save The Queen เป็นเพลงเกียรติยศรับเสด็จนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เมื่อเสด็จนิวัติกลับพระนครจึงได้มีการประชุมครูดนตรีเพื่อสรรหาเพลงสรรเสริญพระบารมีแทนเพลง God Save The Queen โดยได้มีการเลือกทำนองเพลงบุหลันลอยเลื่อน บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเรียกกันว่า “เพลงพระสุบิน” มาใช้เป็นทำนอง และให้เฮวุดเซน (Heutsen) ครูดนตรีในกรมทหารมหาดเล็ก ชาวฮอลันดา เรียบเรียงใหม่ให้ออกแนวดนตรีตะวันตกเพื่อใช้กับแตรฝรั่งไปพลางก่อน



โน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมีพิมพ์บนไปรษณียบัตรในสมัยรัชกาลที่ 5


น่า (๑) เพลงสรรเสริญบารมี // แผ่นเสียงตราสุนัข
รับพิณพาทย์ พระยาประสานดุริยศัพท์

          จวบจนมีการค้นพบหลักฐานชิ้นสำคัญที่ยืนยันว่ามีการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีด้วยทำนองอย่างปัจจุบันเป็นครั้งแรกก็คือ สูจิบัตรการแสดงดนตรีถวาย เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.2431 เป็นกำหนดการเล่นมโหรีของทหารบกและทหารเรือ ในงานเปิดศาลายุทธนาธิการ โดยได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงเล่นลำดับแรกและใช้เนื้อร้องสำหรับทหาร นิพนธ์โดยนายพลตรีเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัดติวงศ์ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ดังนี้

          "...ข้า วร พุทธ เจ้า เหล่า วิริย พล พลา สบ ไสมย กาละ ปีติกมล ร่วม นร จำเรียง พรรค์ สรร ดุริย พล สฤษดิ มณฑล ทำ สดุดี แด่ นฤบาล ผล พระ คุณะ รักษา พล นิกายะ ศุข สานติ์ ขอ บันดาล พระ ประสงค์ใด จงสฤษดิ ดัง หวัง วร หฤไทย ดุจ ถวาย ไชย ฉนี้..."

          ดังนั้นจึงเชื่อได้ว่าทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีอย่างปัจจุบันน่าจะมีก่อนงานเปิดศาลายุทธนาธิการ ซึ่งน่าจะออกบรรเลงเป็นครั้งแรกในงานพระราชพิธีลงสรงคราวสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ในปีพ.ศ.2429 และจากการค้นคว้าทำให้ทราบว่าทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี เป็นการขยายทำนองเพลงอัตราชั้นเดียวที่ใช้ประโคมเวลาเสด็จแล้วนำมาแต่งเป็นอัตราสองชั้นจนออกมาเป็นทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีโดยท่านครูมีแขก แต่ก็มีบางส่วนเชื่อว่าเป็นการประพันธ์ทำนองโดย ปโยตร์ ชูรอฟสกี้ (Pyotr Schurovsky) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย


เพลง สรรเสริญพระบารมี ในวาระ 100 ปี โดยศิลปินนักแสดง Ver.1

          นอกเหนือจากเนื้อร้องทหารแล้ว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ยังได้ทรงพระนิพนธ์เนื้อร้องในแบบอื่นๆ และกรมศึกษาธิการได้ประกาศให้ใช้ในโรงเรียนทั่วไปเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2445 มีดังนี้

          "...ข้า วร พุทธ เจ้า เหล่า ยุพ ยุพ ดี ยอ กร ชุลี วร บทบงสุ์ ส่ง ศัพท์ ถวาย ไชย ใน นฤ ประสงค์ พระ ยศ ยิ่ง ยง เยน สิร เพราะ พระ บริบาล ผล พระ คุณะ รักษา ปวง ประชา เปน ศุขะ สาร ขอ บันดาล พระ ประสงค์ ใด จง สฤษดิ ดัง หวัง วร หฤไทย ดุจะ ถวาย ไชย ฉนี้..."

          ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงนำเนื้อร้องเดิมของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มาปรับปรุงแก้ไข โดยทรงพระราชนิพนธ์ใหม่และเปลี่ยนคำว่า “ฉนี้” เป็น “ชโย” ซึ่งการเปลี่ยนคำว่า "ฉนี้" เป็น "ชโย" นั้นเป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 6 ที่ทรงต้องการให้คำลงท้ายเพลงสรรเสริญพระบารมีเกิดความฮึกเหิมหรือที่เรียกว่า "War Cry" คือเสียงของทหารในเวลาเข้าตะลุมบอน ซึ่งเมื่อก่อนใช้คำว่า "โห่ฮิ้ว" แต่มีความรู้สึกไม่ขึงขัง และคำว่า “ชโย” นี้ มีที่มาจากทูลกระหม่อมจักรพงศ์ ทรงเอาพระหทัยใส่ในการทหารก็เลยมีการปรับปรุง War Cry โดยให้ใช้คำว่า "ชโย" แทน ดังนี้

          "...ข้าวระ พุทธเจ้า เอามะโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บุญญะดิเรก เอกบรมะจักริน พระสยามินทร์ พระยศะยิ่งยง เย็นศิระเพราะพระบริบาล ผลพระคุณ ธ รักษา ปวงประชาเปนศุขะสานต์ ขอบันดาล ธ ประสงค์ใด จง สฤษดิ์ ดัง หวังวระหฤทัย ดุจะถวายไชย ชโย..."[/color]



หลักฐานเอกสารสำคัญการเปลี่ยนคำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี โดยมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2456 โดยเจ้าพระยาพระเสด็จ เสนาบดี เป็นผู้ประกาศ

          โดยพระราชนิพนธ์นี้มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2456 โดยได้มีการประกาศเพิ่มเติมท้ายบทร้องดังนี้ "...คำร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีบทนี้ สำหรับใช้ทั่วไปได้ในโรงเรียนทั้งผู้ชายและผู้หญิงเหมือนกันหมด ให้โรงเรียนทั้งหลายฝึกหัดนักเรียนให้ร้องตามถ้อยคำบทใหม่นี้และให้เปนอันเลิกใช้บทเก่าได้..." ลงชื่อเจ้าพระยาพระเสด็จ เสนาบดี ผู้แจ้งประกาศ

          เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีถูกนำมาขับร้องอย่างต่อเนื่องจนถึงยุคนโยบายรัฐนิยมของอดีตนายกรัฐมนตรี จอมพลแปลก พิบูลสงคราม ได้มีการออกประกาศว่าด้วยรัฐนิยมฉบับที่ 8 เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2483 โดยเหตุที่ได้บัญญัติให้เรียกชื่อประเทศว่าประเทศไทยรัฐบาลจึงเห็นควรแก้ไขบทเพลงสรรเสริญพระบารมี มิให้มีคำว่าสยาม และตัดทอดข้อความและทำนองให้กระทัดรัดเหมาะสมยิ่งขึ้น คณะรัฐมนตรีจึงลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ประกาศเป็นรัฐนิยม แก้ไขบทเพลงสรรเสริญพระบารมีแบบพิศดาร ให้มีข้อความต่อไปนี้

          "...ข้าวรพุทธเจ้า เอามโนและศิระกราน นบพระภูมิบาล บรมกษัตริย์ไทย ขอบรรดาล ธ ประสงค์ใด จงสิทธิดั่ง หวังวรหฤทัย ดุจถวายไชย ชโย..."



เนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีของเจ้าฟ้านริศ ซึ่งเป็นเนื้อร้องดั้งเดิมมีมาก่อนที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์เนื้อร้องปัจจุบัน ได้ถูกพิมพ์เป็นหลักฐานอยู่ในหนังสือคำนมัสการคุณาณุคุณ ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย)

          แต่ต่อมาก็ได้ถูกยกเลิกเนื้อร้องนี้ไปหลังจากจอมพลแปลก พิบูลสงครามสิ้นสุดอำนาจทางการเมือง รัฐบาลจึงได้นำเนื้อร้องฉบับเต็มซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 6 กลับมาใช้เป็นเพลงถวายพระเกียรติพระมหากษัตริย์หรือเพลงสรรเสริญพระบารมีดังเดิม จนกระทั่งถึงวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2555 ซึ่งเป็นวาระย่างเข้า 100 ปี หรือศตวรรษเนื้อร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีที่ใช้ขับร้องจนกระทั่งถึงปัจจุบัน


100 ปี เนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมี 1/2


100 ปี เนื้อเพลงสรรเสริญพระบารมี 2/2


ที่มา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี สรรเสริญพระบารมี
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5

๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ วันครบรอบ ๑๐๐ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี
http://www.oknation.net/blog/nfedlion/2013/02/28/entry-1

100 ปี เพลงสรรเสริญพระบารมี
http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/492270
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 พฤษภาคม 2015, 12:06:23 โดย นายเค »
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

Thawatchai

  • บุคคลทั่วไป
ข้อมูลแน่นมาก  ;D ;D

ออฟไลน์ ป๊อปอาย ไทยซีเน

  • Thaicine Movie Team
  • ThaiCineStaff
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • **
  • กระทู้: 4657
  • พลังใจที่มี 104
  • เพศ: ชาย
  • I LIKED THE MOVIE(FILM PLAY ONLY) & SOUND
** อนุญาติ แจมด้วยครับ
ดูกระทู้นี้แล้ว   เมื่อวานไปขุดๆ คุ้ยๆ ดู  ไปเจอเวอร์ชั่นนี้เก็บไว้นานแล้วเลยเอามาลองฉายดูอีกครั้ง  เคยหาข้อมูลอยู่ว่าเป็นเวอร์ชั่นไหน ปีอะไร ยังหาไม่ได้ครับ    ดาวแดงเริ่มมาเยือนแล้ว...   ไม่รู้จะอยู่นานแค่ไหน... 

<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/BWeDPcYtwNU?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 พฤศจิกายน 2013, 09:46:37 โดย ป๊อปอาย ไทยซีเน »
คำรณ ภาพยนตร์ (ป๊อบอาย ฟิล์ม)

ออฟไลน์ tuminter

  • TUM INTER
  • Thaicine Explorer
  • คนร่วมสายโลหิต ปรับชั้นต้องโพสรวม 300 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 289
  • พลังใจที่มี 35
ขอบคุณครับ
รุ่งโรจน์ ฉายแก้ว
1 หมู่ 7 คลองตาคต โพธาราม ราชบุรี 70120
e-mail :: tuminter2013@gmail.com
Mobile :: 0859632720