ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
รวบรวมข้อมูลความเป็นมาของระบบภาพยนตร์
»
ครั้งแรกกับภาพยนตร์ในสยามประเทศ
(ผู้ดูแล:
ฉัตรชัยฟิล์มshop
) »
กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม (อ่าน 1252 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นายเค
Thaicine Movie Team
PublicCoreTeam
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 3814
พลังใจที่มี 616
เพศ:
กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
«
เมื่อ:
06 กุมภาพันธ์ 2014, 10:24:00 »
นับจากปี ๒๔๔๐ เป็นต้นมา ได้มีคณะฉายภาพยนตร์เร่จากต่างประเทศเดินทางเข้ามาจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนในสยามทีละรายสองรายเรื่อยมาโดยจัดฉายตามโรงละครบ้าง ตามโรงแรมบ้าง
จนกระทั่งปี ๒๔๔๗ มีคณะฉายภาพยนตร์เร่จากญี่ปุ่นเดินทางเข้ามาจัดฉายภาพยนตร์ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับเหตุการณ์สู้รบระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย ซึ่งกำลังกระทำต่อกันอยู่ขณะนั้นโดยการกระโจมผ้าใบเป็นโรงฉายชั่วคราว ใบบริเวณลานว่างหรือเวิ้งของวัดชนะสงคราม (วัดตึก) กรุงเทพฯ
ชะรอยคณะญี่ปุ่นคงเห็นว่า สยามในขณะนั้นยังไม่มีใครตั้งโรงภาพยนตร์ฉายกันเป็นการประจำถาวร ทั้งๆ ที่ชาวสยามให้ความสนใจนิยมดูภาพยนตร์ ดังนั้นเมื่อคณะญี่ปุ่นกลับไปแล้ว ในปีต่อมาพวกเขาได้เดินทางกลับเข้ามาอีก คราวนี้เข้ามาจัดตั้งโรงฉายภาพยนตร์เป็นการถาวรขึ้นในบริเวณเวิ้งวัดตึกนั้นเองจัดฉายภาพยนตร์เป็นประจำทุกวัน จนชาวสยามเรียนภาพยนตร์ติดปากว่าหนังญี่ปุ่น และเรียกโรงภาพยนตร์นี้ว่าโรงหนังญี่ปุ่นนับว่ากิจการรุ่งเรืองมาก เป็นเหตุให้นักธุรกิจชาวสยามคิดจัดตั้งโรงภาพยนตร์ขึ้นบ้างที่ละโรงสองโรง เช่น โรงกรุงเทพซินีมาโตกราฟ หรือ บริษัทรูปยนตร์กรุงเทพ หรือโรงหนังวังเจ้าปรีดา (เปิด ๒๔๕๐) โรงหนังสามแยก (เปิด ๒๔๕๑) โรงหนังรัตนปีระกา (เปิด ๒๔๕๒) โรงหนังพัฒนากรหรือบริษัทพยนตร์พัฒนากร (เปิด ๒๔๕๓)
โรงภาพยนตร์ต่างๆ เหล่านี้ต่างก็แข่งขันกันอย่างเต็มที่ในการจัดรายการฉายภาพยนตร์ ซึ่งในเวลานั้นยังเป็นภาพยนตร์เบ็ดเตล็ดม้วนสั้นๆ ม้วนหนึ่งกินเวลาฉายไม่กี่นาที เป็นภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์สำคัญๆ หรือสถานที่ที่น่าสนใจอย่างภาพยนตร์ข่าวสาร สารคดี และภาพยนตร์ที่จัดฉากแสดงอย่างละครหรือนิยายสั้นๆ
การแข่งขันระหว่างโรงภาพยนตร์ต่างๆ ในกรุงเทพฯได้เข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะระหว่างสองบริษัทใหญ่คือ บริษัทรูปยนตร์กรุงเทพ และ บริษัทยนตร์พัฒนากร ซึ่งนับจากปี ๒๔๕๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ต่างก็แข่งกันสร้างโรงภาพยนตร์ในเครือของตนขึ้นตามตำบลสำคัญๆ ทั่วกรุงเทพฯ โรงภาพยนตร์ของบริษัทรูปยนตร์กรุงเทพได้แก่ โรงปีนัง โรงสิงคโปร์ โรงชะวา โรงสาธร ส่วนโรงภาพยนตร์ของบริษัทพยนต์พัฒนากร ได้แก่ โรงพัฒนากร โรงพัฒนาลัย โรงพัฒนารมย์ โรงบางรัก โรงบางลำพู โรงนางเลิ้ง
แต่มาถึงปี ๒๔๖๒ ทั้งสองบริษัทตกลงรวมตัวกันเป็นบริษัทเดียวกัน คือ สยามภาพยนตร์บริษัท กลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่เกือบจะผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์และกิจการโรงภาพยนตร์ ซึ่งบริษัทใหม่นี้ได้ขยับขยายกิจการโรงภาพยนตร์ออกไปจัดตั้งขึ้นตามจังหวัดต่างๆทั่วประเทศ
เมื่อกิจการโรงภาพยนตร์แพร่หลายอย่างกว้างขวางและมีบทบาทเป็นสื่อมวลชนที่มีอิทธิพลสูง เพราะสามารถเข้าถึงผู้ชมทุกชนชั้น ทุกเพศวัย แม้แต่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือ จึงเกิดความจำเป็นที่ทางราชการจะต้องป้องกันมิให้ภาพยนตร์ที่อาจมีพิษภัยต่อสังคมและบ้านเมืองถูกนำออกมาฉาย ดังนั้นในปี ๒๔๗๓ รัฐบาลสยามในรัชกาลที่ ๗ จึงออกกฏหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทุกเรื่อง ก่อนที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้นำออกฉายเผยแพร่สู่สาธรณชน เรียกว่าพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช ๒๔๗๓ ซึ่งยังคงบังคับใช้จนทุกวันนี้
กิจการของสยามภาพยนตร์บริษัทเริ่มตกต่ำลงในต้นรัชกาลที่ ๗ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ โปรดฯ ให้สร้างโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์เสียงที่ใหญ่โตและทันสมัย เพื่อเป็นถาวรวัตถุที่ระลึกและเป็นศรีสง่าแก่พระนครในโอกาสฉลองพระนคร ๑๕๐ ปี เมื่อปี ๒๔๗๕ พร้อมทั้งโปรดฯ ให้จัดตั้งบริษัทสหศีนิมาจำกัด เป็นบริษัทค้าภาพยนตร์ขึ้นในสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สยามภาพยนตร์บริษัทก็ขายกิจการของตนให้บริษัทสหศีนิมา ซึ่งกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่รายใหม่ เกือบจะผูกขาดกิจการค้าภาพยนตร์ทั่วประเทศ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สถานการณ์จึงเปลี่ยนไปเมื่อบริษัทสร้างภาพยนตร์จากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากฮอลีวู้ด ได้เข้ามาจัดตั้งสาขาขึ้นในประเทศไทยโดยตรง
บันทึกการเข้า
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120 E-Mail
soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า หมายเลขบัญชี 210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บางเขน หมายเลขบัญชี 041-273435-0
ติดต่อ 0909040355
ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได
Froscooolz
มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
กระทู้: 1
พลังใจที่มี 0
Re: กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
«
ตอบกลับ #1 เมื่อ:
25 กุมภาพันธ์ 2014, 10:56:32 »
สยามก็มีดีครับ
บันทึกการเข้า
sbobet
สถิตย์ บุตรน้อย
Thaicine Movie Team
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 1986
พลังใจที่มี 32
สถิตย์ บุตรน็อย
Re: กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
«
ตอบกลับ #2 เมื่อ:
25 กุมภาพันธ์ 2014, 11:34:40 »
อดีต ปัจจุบัน อนาคต..........
ทําวันนี้ให้ดี...ขอบคุณสําหรับข้อมูลครับท่านเค
บันทึกการเข้า
สถืตย์ บุตรน้อย
ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
18/18 กม.18 ถนนบางนา-ตราด ต.บางโฉลง
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540
089-9263878
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บัญชีออมทรัพย์ สาขา ม.หัวเฉียว
เลขที่บัญชี 596-104-9754
ominightz
มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
กระทู้: 2
พลังใจที่มี 0
Re: กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
«
ตอบกลับ #3 เมื่อ:
19 มิถุนายน 2014, 16:48:29 »
เป็นประวัติข้อมูลที่ดีมากเลยครับ
บันทึกการเข้า
sbobet mobile
maxbet
Anannta
มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
กระทู้: 2
พลังใจที่มี 0
Re: กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม
«
ตอบกลับ #4 เมื่อ:
25 กรกฎาคม 2014, 14:06:19 »
ข้อมูลดีมากครับ ดีจังมากที่ได้อ่านประวัติกำเนิดโรงภาพยนต์ในสยามความรู้ใหม่อีกแล้วครับ
บันทึกการเข้า
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
รวบรวมข้อมูลความเป็นมาของระบบภาพยนตร์
»
ครั้งแรกกับภาพยนตร์ในสยามประเทศ
(ผู้ดูแล:
ฉัตรชัยฟิล์มshop
) »
กำเนิดโรงภาพยนตร์ในสยาม