ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน4)  (อ่าน 1090 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน4)
« เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:04:43 »

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ

           ถ้าจะมองรูปแบบของบริษัทศรีกรุงและบริษัทไทยฟิล์ม จะเห็นว่ารูปแบบหนังที่สร้างของสองบริษัทจะแตกต่างกัน รูปแบบของบริษัทศรีกรุงจะมีรูปแบบออกกระเดียดไปทางศรีกรุง แต่บริษัทไทยฟิล์มจะเน้นหนักในด้านไทยๆ ต่อมาบริษัทไทยฟิล์มได้เลิกกิจการไป ได้ขายกิจการและโรงถ่ายในกองทัพอากาศ ตั้งกองภาพยนตร์ขึ้น และในช่วงนี้มีอีกบริษัทหนึ่ง คือบริษัทละโว้ภาพยนตร์ ของ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2479 ด้วยสร้างเรื่อง "หนามยอกหนามบ่ง" เป็นหนังพากย์ นำแสดงโดย โปร่ง แสงโสภณ อีกบริษัทหนึ่งคือ บริษัท น.น.ภาพยนตร์ ของนายบำรุง แนวพานิช ได้สร้างภาพยนตร์เสียงออกมาได้เรื่องหนึ่ง คือ เรื่อง "ปิดทางรัก" ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2480 แต่ตอนหลังขาดแคลนทุนทรัพย์ จึงต้องหยุดกิจการไป

           ยุคที่ 2 ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลที่จะถูกกล่าวในช่วงนี้คือ หม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล หรือเรียกตามชื่อเล่นว่า ท่านขาว ท่านเป็น พระโอรสของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้รับการศึกษาในวิชาวรรณคดี และโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ประเทศฝรั่งเศส กลับมาเมืองไทย เป็นอาจารญ์สอนวิชาฝรั่งเศสที่โรงเรียนกรมศิลปากร มีอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะมาทำงานด้านภาพยนตร์ เคยทำงานหนังสือพิมพ์อยู่พักใหญ่

ต่อมาไปทำงานอยู่แผนกโฆษณากิจการรถไฟ โดยการชักชวนของหลวงเสรีเริงฤทธิ์ ทำหนังโฆษณากิจการรถไฟ พอเกิดสงครามอินโดจีน ท่านขาวได้มีโอกาสออกแนวหน้าร่วมกับกองทัพพายัพ ในตำแหน่งผู้ถ่ายภาพยนตร์และถ่ายรูปให้กรมรถไฟ พอสงครามอินโดจีนสงบ ท่านได้สร้างหนังประชาสัมพันธ์กิจการรถไฟ โดยใช้ฟิล์มสี 16 มิลลิเมตร มาใช้ในการถ่ายทำเรื่อง "สามปอยหลวง"


           เมื่อปี พ.ศ.2482 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่อง 16 มิลลิเมตร เรื่องแรกของเมืองไทยที่ฉายเก็บเงินเพื่อการค้า สร้างจากบทประพันธ์ของ เวทางค์ โดยสร้างให้มีเรื่องราวสนุกสนาน เป็นครั้งแรกที่คนดูได้ชมทิวทัศน์ของเมืองไทยด้วยฟิล์มสี ที่เรียกว่า สีธรรมชาติ การสร้างด้วยฟิล์ม16 มิลลิเมตร ครั้งแรกของหม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล ใครๆที่ทราบเรื่องก็พากันหัวเราะเยาะ เพราะสมัยนั้นมีแต่ 25 มิลลิเมตรไม่เคยมีใครสักคนทำภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร เพื่อการค้าเลย แต่พอสร้างเสร็จนำออกฉาย ที่ศาลาเฉลิมกรุง สามารถทำลายสถิติ "ทาร์ซานกับมนุษย์วานร" เมื่อพ.ศ. 2482 หนังเรื่อง "สามปอยหลวง" ทำรายได้สูงสุดไว้ถึง 34,000 บาทใช้เวลาฉายนาน 21 วัน เลยเกิดการตื่นเต้นกันขนาดใหญ่ หนังเรื่องนี้เป็นหนังพากย์ พากย์โดย ทิดเขียว บรมครูแห่งนักพากย์ไทย ในปลายปี พ.ศ. 2481

           วันที่ 16 ธันวาคม พันเอกหลวงพิบูลย์สงคราม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีแทนพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีที่ลาออก ปีพ.ศ. 2483 นายปรีดี พนมยงค์ ได้สร้างภาพยนตร์ไทยเรื่อง "พระเจ้าช้างเผือก" เป็นภาพยนตร์ขาว-ดำ 35 มิลลิเมตร พูดภาษาอังกฤษ เพื่อสะท้อนความคิดทางการเมือง ที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิทหารฟาสซิสต์ที่กำลังเฟื่องฟูทั้งในเยอรมันนี ญี่ปุ่น และ ไทย และเรียกร้องสันติภาพ โดยให้เห็นความหมายของสันติภาพ

นอกจากจะฉายให้คนไทยดูแล้ว ปรีดี พนมยงค์ ยังได้ส่งประกวด รางวัลสันติภาพโนเบิลไพรซ์ จึงเป็นเหตุให้ผุ้แสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้พูดภาษาอังกฤษ แทนที่จะพูดภาษาไทย นำแสดงโดย เรนู กฤตยากร ไพริน เนียลเซน ประดับ รบิลวงศ์ กำกับการแสดงโดย สันห์ วสุธาร หนังเรื่องนี้ยิ่งใหญ่มโหฬารด้วยฉากการชนช้าง การถ่ายภาพที่สวยและมุมกล้องที่เด่นของ ประสาท สุขุม หนังไม่ประสบผลสำเร็จในรายได้เมื่อฉายในเมืองไทย ปรีดี พนมยงค์ นำไปฉายโชว์ที่อเมริกาและสิงคโปร์


           ในกลางปี พ.ศ. 2483 กองทัพอากาศได้ตั้งกองภาพยนตร์ขึ้น และได้ซื้อโรงถ่ายทุ่งมหาเมฆของบริษัทไทยฟิล์ม มาดำเนินงานต่อ โดยมอบหมายให้อยุ่ในความควบคุมของนาวาอากาศเอกสวัสดิ์ ทิฆัมพร มีครูเนรมิต เป็นผู้กำกับการแสดง ภาพยนตร์ของโรงถ่ายทหารอากาศ ได้ติดต่อเชิญพระเจนดุริยางค์ย้ายจากกรมศิลปากร ให้มารับราชการที่กองทัพอากาศ ตั้งวงดนตรีคลาสสิค และโรงเรียนสอนวิชาดนตรีให้ชื่อว่า โรงเรียนดุริยางค์ทหารอากาศ เพื่อผลิตนักดนตรีขึ้นมาให้เก่งทั้งด้านทฤษฏีและในด้านปฏิบัติ และจำเป็นต้องมีดนตรีใช้บรรเลงประกอบภาพยนตร์ มีนักดนตรีที่ทำดนตรีประกอบภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงคือ พรเจนดุริยางค์ สง่า อารัมภีร์ และสุรพล แสงเอก

           ในวันที่ 8 ธันวาคม 2484 ญี่ปุ่นบุกเมืองไทย ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุคที่ 3 ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พอเกิดสงครามโลก การสร้างภาพยนตร์ก็หยุดชะงักเพราะขาดแคลนฟิล์มที่ใช้ในการถ่ายทำ การขนฟิล์มทางเรือที่นำมาเมืองไทยถูกบอมบ์และโดยเฉพาะไทยเข้าอยู่ฝ่ายอักษะด้วย ทำให้รัฐบาลสมัยนั้นประกาศตน เป็นคู่สงครามกับประเทศที่ผลิตภาพยนตร์เป็นสินค้าออกสูงกว่าทุกประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส นอกจากจะขาดแคลนฟิล์มดิบที่ใช้ในการถ่ายทำแล้ว โรงภาพยนตร์ต่างขาดแคลนภาพยนตร์ที่จะฉาย ทำให้โรงภาพยนตร์ชั้นนำในสมัยนั้น ได้แก่ ศาลาเฉลิมกรุง โอเดี้ยน และพัฒนากร เมื่อขาดแคลนภาพยนตร์เรื่องใหม่ๆ จึงมีการนำภาพยนตร์เรื่องเก่าๆที่สนุกสนานชั้นดีมาฉายพากย์ไทย โดยมีนักพากย์ปากดีๆ เช่นทิดเขียวกับคณะปัญญพล มาพากย์ สลับกับดนตรีของวงดนตรีคณะต่างๆเล่นสลับฉาก มีละครตลกเรื่องสั้นๆฉากเดียวจบเล่ม เช่นคณะลูกไทย ของจอก ดอกจันทร์ บางครั้งจะมีภาพยนตร์ญี่ปุ่นมาฉายให้ดูบ้างแต่ก็ไม่พอเพียง

           สมัยนั้นความบันเทิงของคนกรุงเทพฯก็คือ ละครเวที หลังจากศิลปะการละครที่เคยซบเซามานานกลับฟื้นขึ้นมาใหม่ ในระยะก่อนหน้าเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงวิจิตรวาทการ เมื่อยังดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากร ได้รื้อฟื้นศิลปะการละครที่มีเนื้อหาหนักไปทางชาตินิยม สร้างความตื่นเต้น เกียวกราวให้บรรดาผู้ชมละครทั้งหลายเพียงช่วงระยะเวลาไม่กี่ปีก็เงียบหายไป พอเกิดสงครามโลก ศิลปินทั้งหลายก็ก่อหวอดจับเป็นกลุ่มเป็นก้อนพัฒนาเป็นคณะละครใหญ่ๆเช่น คณะนิยมไทย คณะเทพศิลป์ และคณะละครวิจิตรเกษม เป็นต้น


จอมพล แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของประเทศไทย คนที่ 3

การที่ละครเฟื่องฟูในยุคนี้ ทำให้เกิดศิลปินที่เกิดจากละครเวทีเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลังจากสิ้นสุดสมัยของละครเวที ศิลปินเหล่านี้ก็เป็นกำลังสำคัญในการหันเหมาแสดงภาพยนตร์ต่อไป กองภาพยนตร์ทหารอากาศในช่วงสงครามได้สร้างภาพยนตร์เรื่อง "บ้านไร่-นาเรา" เมื่อ พ.ศ.2485 ทั้งนี้เนื่องจาก จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม มีความประสงค์จะยกฐานะของชาวนา ให้สูงขึ้นตามแบบอย่างต่างประเทศให้ฐานะอาชีพชาวนา มีฐานะดีเท่าเทียมอาชีพอื่นๆ โดยมอบหมายให้ กาญจนาคพันธ์ เป็นผู้แต่งเรื่อง กำกับการแสดงโดย เนรมิต ถ่ายภาพโดย หม่อมราชวงศ์อนุศักดิ์ หัสดินทร์ เป็นหนัง 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ เสียงในฟิล์ม นำแสดงโดย เรืออากาศเอก ทวี จุลทรัพย์ และนางสาวอารี ปิ่นแสง ในเรื่องนี้ มีการแต่งกายเป็นชาวนาสมัยใหม่คือใส่รองเท้าบู๊ด และทุกคนยังจำได้ดีถึงเพลง "บ้านไร่-นาเรา" ที่พระเจนดุริยางค์ แต่งทำนอง ขุนวิจิตรมาตรา แต่งเนื้อร้อง ออกฉายที่ ศาลาเฉลิมกรุง โอเดี้ยน ได้รับความสำเร็จอย่างสูง


ขุนวิจิตรมาตรา  (สง่า กาญจนาคพันธุ์)

           ในปีเดียวกัน พ.ศ. 2485 ได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ จอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ได้ให้บริษัทศรีกรุงสร้างภาพยนตร์ ขึ้นมาเรื่องหนึ่งเพื่อปลอบใจประชาชน ตามนโยบายของท่านผู้นำ เรื่อง "น้ำท่วมดีกว่าฝนแล้ง" นำแสดงโดยจำรัส สุวคนธ์ และนางสาวนรา นภาพันธุ์ ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายของ ศรีกรุง หนังเรื่องต่อมาของกองภาพยนตร์ทหารอากาศ คือเรื่อง สงครามเขตหลัง เป็นหนัง ซาว ออน ฟิล์ม และในปีต่อมา พ.ศ. 2486 ฟิล์ม 35 มิลลิเมตร สำหรับถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องต่อไปก็ยังมีเหลืออยู่อีกจำนวนหนึ่ง ทางฝ่ายผู้บังคับบัญชาจึงเจรจาขอซื้อฟิล์มจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อเอามาสร้างหนังเรื่องต่อไป ทางฝ่ายญี่ปุ่นก็ยินดีขายให้เพราะญี่ปุ่นและไทยเป็นมิตรกัน ทางโรงหนังในเมืองไทยในช่วงสงครามก็มีหนังสงครามของเยอรมัน และญี่ปุ่นมาฉายให้เห็นชัยชนะในสงครามของฝ่ายอักษะ ให้ชมอยู่เสมอๆในระยะนั้น เมื่อติดต่อซื้อฟิล์มไปแล้ว ก็ตกลงจะสร้างเรื่อง "นักบินกลางคืน" แสดงถึงวีรกรรมของฝูงบินสกัดกั้นฝูงหนึ่งของไทย มีหน้าที่คุ้มครองกรุงเทพฯและธนบุรีให้ปลอดภัย แต่น่าเสียดายฟิล์มภาพยนตร์ทั้ง 3 เรื่องไฟไหม้ไม่เหลือให้ชนรุ่นหลังได้ชมกัน


หม่อมเจ้าศุกรวรรณดิศ เมื่อ พ.ศ. 2492

           ยุคที่ 4 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ภายหลังสงครามโลกสงบ ละครเวทียังได้รับความนิยมในช่วงปี พ.ศ.2490-2495 เป็นยุคละครเวทีรุ่งเรือง ก่อนที่จะเสื่อมความนิยมปิดโรงละคร ภาพยนตร์ในช่วงนี้ที่ดังมาก คือเรื่อง "สุภาพบุรุษเสือไทย" ออกฉายเมื่อปี พ.ศ.2492 เป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร ที่ทำให้ผู้สร้างหนังไทย หันมานิยมสร้าง ด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง

           หลังจากหนังเรื่อง "สุภาพบุรุษเสือไทย" ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร เรื่องนี้เข้าฉายที่โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมกรุง ต่อมาย้ายจากโรงภาพยนตร์เฉลิมกรุงไปเข้าเฉลิมบุรี ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย


           ในระยะก่อนสงความโลก ครั้งที่ 2 ประชาชนไทยส่วนมาก ยังไม่ใคร่รู้จักและคุ้นเคยกับภาพยนตร์16 มิลลิเมตรกันนัก ด้วยเป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ในต่างประเทศ สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่ส่งเข้ามาฉายในระยะนั้น จากที่เป็นประเภท16 มิลลิเมตรยังไม่มีเลย ล้วนแต่เป็นฟิล์มขนาด 35 มิลลิเมตร ทั้งสิ้น ด้วยเครื่องฉายประจำที่มีอยู่ตามโรงภาพยนตร์ล้วนแต่เป็นเครื่องฉายภาพยนตร์ขนาดใหญ่ เครื่องฉายขนาดเล็กยังมีเพียงไม่กี่เครื่องที่จะทำให้ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร แพร่หลายได้ และผู้ที่มีเครื่องฉายอยู่ส่วนมากก็ใช้สำหรับฉายภาพยนตร์ที่ถ่ายเล่นภายในครอบครัวเท่านั้น กิจการภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร ก่อนสงครามเท่าที่เรียกว่าเป็นภาพยนตร์เรื่อง ที่จำหน่ายฉายหาเงินอย่งแท้จริง ก็เป็นภาพยนตร์ไทยบางเรื่อง เช่น เรื่อง "สามปอยหลวง" ซึ่ง หม่อมเจ้าศุภวรรณดิศ ดิศกุล เป็นผู้ริเริ่มทำการถ่ายภาพยนตร์ประเภทนี้ขึ้น


สุภาพบุรุษเสือไทย (2492)

           ครั้นเมื่อสงครามโลกครั้งที่ สอง สงบแล้ว ประชาชนจึงทราบว่าได้มีภาพยนตร์16 มิลลิเมตร เกิดขึ้นอย่างจริงจังโดยสำนักข่าวสารอเมริกัน (USIS) เป็นผู้เริ่มนำภาพยนตร์ขนาดนี้ เข้ามาเผยแพร่ซึ่งส่วนมากเป็นจำพวกภาพยนตร์ข่าวสงครามขนาดสั้น มีความยาวเรื่องละประมาณ 20-30 นาที ที่เป็นข่าวสงครามขนาดยาวมีเพียงเรื่องเดียว คือเรื่อง THE FIGHTING LADY ระบายสี เทคนิค นอกนั้นก็เป็นพวกข่าวความรู้เบ็ดเตล็ดชีวิตชนชาวอเมริกัน การ์ตูนเกี่ยวกับโรคาพยาธิและป้องกันเชื้อโรคซึ่งสร้างโดย วอล์ทดีสนี่ย์ นักสร้างภาพยนตร์การ์ตูนลือนาม สำนักข่าวสารอเมริกัน ได้จัดรถพิเศษพร้อมทั้งเครื่องฉายนำภาพยนตร์ศึกษาเหล่านี้ ตระเวนออกฉายโดยไม่หวังผลทางการค้า ซึ่งก็ได้รับความนิยมจากประชาชนมาก

           พอภาพยนตร์เรื่อง "สุภาพบุรุษเสือไทย" ออกฉายด้วยฟิล์ม16 มิลลิเมตร ก็แพร่หลาย ปี พ.ศ. 2493 อัศวินภาพยนตร์สร้างเรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" ของพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล หลังจากในยุคที่ละครเวทีเฟื่องฟู พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล ขายกิจการไทยฟิล์มให้กองภาพยนตร์ทหารอากาศ แล้วตั้งคณะละครชื่อ อัศวินการละคร และเมื่อละครเวทีหมดความนิยม พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล ก็หันกลับมาสร้างภาพยนตร์อีกครั้งหนึ่ง ในนาม อัศวินภาพยนตร์



           เรื่อง "พันท้ายนรสิงห์" เคยถูกสร้างเป็นละครเวที ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด จากอมตะนิยายของพระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ ยุคล สร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับการแสดงโดย มารุต ถ่ายภาพโดย รัตน์ เปสตันยี สร้างเป็นฟิล์ม 16 มิลลิเมตร พากย์ นำแสดงโดย ชูชัย พระขรรค์ชัย สุพรรณ บูรณะพิมพ์ ชั้น แสงเพ็ญ ถนอม อัครเศรณี


พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

           หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จในด้านรายได้อย่างงดงาม และมีเพลงอยู่เพลงหนึ่ง ในภาพยนตร์เรื่องนี้ที่มีความไพเราะ ที่ทุกคนยังจำได้ดีคือ "เพลงน้ำตาแสงใต้" ที่แต่งทำนองโดย สง่า อารัมภีร์ แต่งคำร้องโดย มารุต ซึ่งเป็นเพลงอมตะเพลงหนึ่ง ผลงานของอัศวินภาพยนตร์ที่เด่นๆมีเรื่อง "นเรศวรมหาราช" "เป็ดน้อย" "ละครเร่" และ "จำปูน"

           อีกบริษัทหนึ่งในช่วงหลังสงครามคือ บริษัทสถาพรภาพยนตร์ ภายหลังกองภาพยนตร์ทหารอากาศ ถูกยุบตามนโยบายทางราชการ กลายเป็นกองดุริยางค์ทหารอากาศ คณะละครศิวารมณ์หันเห มาสร้างภาพยนตร์ด้วยการก่อตั้งขึ้นเป็น "สถาพรภาพยนตร" โดยมี จอมพลอากาศฟื้น ฤทธาคนี เป็นประธานกรรมการบริษัท ร่วมด้วยบุคคลชั้นสูงในวงราชการ อาทิเช่น พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ และพล.ท. ม.ล.ขาบ กุญชร โดยมีความมุ่งหมายในการสร้างภาพยนตร์ต่อต้านคอมมิวนิสต์ มีเจ้าหน้าที่ผุ้ดำเนินงานและศิลปินของศิวารมณ์ เข้าทำงานเป็นแกนสำคัญของบริษัทนี้ บริษัทสถาพรภาพยนตร์เป็น บริษัทใหญ่แห่งแรกในยุคหลังสงครามที่มีเครื่องมือทันสมัยและใหญ่โตที่สุด และได้อาศัยโรงถ่ายของกองภาพยนตร์ทหารอากาศมาเป็นโรงถ่ายต่อไป ในระยะแรกสร้างภาพยนตร์มาได้ 4 เรื่อง คือ "เสียงสาป" "มาตุภุมิ" "นางนกป่า" "ชะตารัก" ทุกเรื่องฉายที่โรงภาพยนตร์เฉลิมกรุง ซึ่งเป็นโรงภาพยนตร์ชั้นหนึ่งในสมัยนั้น ยกเว้นเรื่อง "นางนกป่า" ฉายที่โรงภาพยนตร์ ควีนส์




สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ MECHAICINEMA49

  • ถ้าทุกอย่างที่อยู่ในมือ มันหนักไป หาที่มันพอดี แล้วเดินต่อไปนะครับ
  • Thaicine Explorer
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 4724
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
Re: ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน4)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 06 กุมภาพันธ์ 2014, 13:58:24 »
ขอบคุณมากครับ
รังสฤษฎ์ บุญเขียว
1624 / 5-6 หมู่ 5(สุดถนนสี่เลนส์) ถ.ดอนเจดีย์-สระกระโจม ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี  ติดต่อไลน์ mechaicinema49 หรือ ไลน์ mechaicinema50
ชื่อบัญชี อรอุษา บุญเขียว ธ.กสิกรไทย สาขาโรบินสัน สุพรรณบุรี หมายเลขบัญชี 783-2-03759-6
อีเมลล์:mcs_cinema@hotmail.com

ออฟไลน์ somsrina9

  • มือใหม่ ปรับชั้นต้องโพสรวม 30 กระทู้
  • *
  • กระทู้: 1
  • พลังใจที่มี 0
Re: ประวัติภาพยนตร์ไทย...(ตอน4)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 22 กุมภาพันธ์ 2018, 09:37:26 »
ไม่ทราบว่าประวัติมันจบตอนที่ 4 หรือเปล่าครับ อยากจะรู้มากจริงๆ