ผมไม่มีความรู้ตรงที่ท่านว่ามาหรอก ต้องทำเองและทำจริงๆ ถึงจะรู้ ในหลักการและทฤษฎีมันตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ก็อย่างที่ผมว่าแหละครับ ไม่ออกงานกลางแจ้งไม่รู้หรกครับ ลองออกกลางแจ้งดูนะครับ
จริงครับ ในทางปฏิบัติ ผมออกงานเครื่องเสียง PA มาตั้งแต่เรียน ปวช.2 ครับ ปวช.3 มีโอกาสได้ฝึกงานกับทีมงานระบบเสียง-แสง ในงานสะพานข้ามแม่น้ำแคว กาญจนบุรีครับ หลังจากนั้นก็มีโอกาสได้มิกซ์ดาวน์ให้วงดนตรีร๊อกอีกหลายเวที พอจะมีประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังบ้างเล็กน้อยครับ
สำหรับเส้นเสียงอนาลอกของฟิล์ม 35 ปัญหาใหญ่ๆ อยู่ที่ ไดนามิกเร้นจ์ มันแคบ
น่าจะแค่ 30-40 dB เท่าๆกับเทปคาสเซ็ท ต่างกับ ดิจิตอลที่มี 90 กว่า dB
การที่ไดนามิกเร้นจ์มีแค่ 30 dB หมายความว่า ถ้าเราเร่งเสียงให้ดัง 90 dB
พวกเสียงที่เบาที่สุด รวมถึงน๊อยส์เสียงรบกวนต่างๆ จากคราบน้ำมัน หรือ เศษผุ่น
รอยขีดข่วนต่างๆ จะถูกยกระดับขึ้นมาด้วยที่ความดัง คำนวนจาก
ระดับเสียงดังที่สุด 90 ลบด้วย ไดนามิคเร้นจ์ 30 ก็จะเท่ากับ
ความดังของเสียงรบกวนจะอยู่ที่ 60 dB ซึ่งดังมากกกกกกก
หายสงสัยกันละว่าทำไม เสียงในหนังเส้นอนาลอกทำไมแต่ละเสียงดังแทบจะเท่ากันหมด
เสียงรบกวนก็ดัง ดังๆๆๆ ต่างจากเสียงดิจิตอล ที่ความดัง 90 เท่ากัน
ลบไดนามิกเร้นจ์ 90 ก็เท่ากับ 0 คือ เสียงที่ดังน้อยสุด 0 กับเสียงรบกวนที่แทบไม่ได้ยินเลย
เพราะไม่โดนยกขึ้นมา แต่กรณีที่เร่งความดังขึ้นไปที่ 100dB
เสียงเอฟเฟ็คที่เบาที่สุดจะถูกยกขึ้นมาดัง 10-11 dB เสียงรบกวน
ก็มีแค่ ฮิสน๊อยส์ซ่าส์นิดๆ พวกคราบน้ำมันกับรอยขีดข่วนถ้ามีนิดหน่อย
มันทำอะไรไม่ได้ นอกจากมีเยอะจนอ่านข้อมูลบาร์โค๊ด2มิติ (Two different 2D barcodes)
ระหว่างรูหนามเตยไม่ได้ เสียงก็จะถูก Mute บอดเงียบไป แล้วเอาเสียงจากเส้นอนาลอกมาใช้แทน