ผู้เขียน หัวข้อ: บทที่ 518 เสนอฉาย ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย  (อ่าน 454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย

บทที่ 518
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 28 เมษายน 2557)



             สวัสดีครับทุกท่าน.. วันนี้ มาแปลกนิดหน่อยเพราะภาพที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่ใช่หนังไทย..แต่เป็นหนังจีนเก่าๆ ของบริษัทชอว์บราเดอร์.. บางท่านเห็นภาพจากฟิล์มก็จะนึกออกว่า เป็นหนังเรื่องอะไร ใครแสดง.. สำหรับผมแล้ว พอเห็นภาพจากฟิล์มหนังแบบนี้ก็จะนึกถึงโรงหนังใกล้ๆ บ้านสมัยเด็กๆ ที่อยู่จังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ โรงหนังกรุงชัยรามาหรือโรงหนังคาเธ่ย์เพราะจำได้ว่า หนังจีนชอว์บราเดอร์ที่มาเข้ามาฉายที่โรงหนังแห่งนี้นั้นมักจะต้องมีตัวหนังสือภาษาไทย (ซับไตเติ้ล) ให้เห็นอยู่บนจอแทบทุกเรื่องทั้งๆ ที่หนังเรื่องนั้นเขาก็มีนักพากย์อาชีพมาพากย์ให้ฟังอยู่แล้ว..


             หากลองมองย้อนกลับไป ในสมัยที่เป็นหนังไทยยังเป็นระบบ 16 มม. เขาก็จะมีการพากย์และวางแบ็กกราวน์หนังกันสดๆ อาจจะเป็นการพากย์คนเดียวที่เรียกว่า ชายจริงหญิงกะเทย (ชายจริงหญิงมีหนวด) หรือจะเป็นการพากย์คู่ชาย-หญิงก็ได้ หนังไทยเหล่านั้นจะมีการตอกซับไตเติ้ลแต่อย่างไร.. แต่ถ้าเป็นหนังต่างประเทศที่ถูกแปลงฟิล์มให้เป็นขนาด 16 มม. ก็จะมีเสียงพากย์ติดมาในฟิล์มด้วย เหล่านักพากย์ต่างๆ ก็จะใช้วิธีสต๊อบซาวด์หรือตัดเสียงหนังออก แล้วก็พากย์เสียงตัวเองทับลงไปแทน..และการทำเช่นนี้เองจึงเกิดเป็นตำนานการพากย์หนังขึ้นมา..มีนักพากย์เกิดขึ้นทั่วประเทส ส่วนจะเด่นจะดังหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและพรสวรรค์เฉพาะตัวครับ


             คนไทยในยุคนั้นจึงได้ดูหนังพากย์ไทยกันมาตลอด..ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือหนังต่างประเทศ ถ้าขืนโรงหนังหรือจอไหนปล่อยเสียงในฟิล์มเมื่อไร ก็ต้องม้วนเสื่อ..เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านอาจสงสัยว่า แล้วทำไมจึงเกิดกรณีมีการตอกซับไตเติ้ลลงบนเนื้อฟิล์มอย่างภาพที่ผมนำมาให้ดูด้วยล่ะครับ.. นั่นซิครับ เพราะกรรมวิธีการทำและการตอกซับไตเติ้ลงบนเนื้อฟิล์มนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เรียกว่า ยุ่งยากมากๆ แต่จะเล่าย่อๆ ให้ฟังนะครับ เขาจะริ่มต้นจากการแกะสลักตัวหนังสือภาษาไทยเป็นโลหะคล้ายการแกะตัวหนังสือสำหรับใช้ในโรงพิมพ์สมัยก่อนหรือแกะทำนามบัตร..จัดวางเรียงเป็นประโยคคำพูดตามบทพากย์หนังที่ส่งมาให้..ได้ตัวหนังสือมาก็จะต้องวัดเฟรมหนังด้วยว่า จะต้องตอกระหว่างฉากไหนถึงฉากไหน แล้วก็นำฟิล์มหนังเข้าเครื่องที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ กรอฟิล์มไป ตอกฟิล์มไปทีละเฟรม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดฉากและจบม้วน..กว่าจะเสร็จหนึ่งเรื่องก็เหนื่อยละครับ..เห็นแบบนี้แล้ว หลายท่านจะบอกว่า ใช้นักพากย์พากย์จะง่ายกว่า..จึงทำให้ระยะหลังๆ ไม่นิยมการตอกซับไตเติ้ล


             ว่ากันว่า หนังต่างประเทศที่ต้องตอกซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทยนั้น ก็เพื่อจะใช้ฉายยังโรงหนังที่ต้องการเปิดเสียงพากย์ในฟิล์มให้คนดูฟัง โรงนั้นจะไม่ฉายหนังพากย์ไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อหนังออกจากโรงไปแล้ว ฟิล์มก็ยังฉายได้อีกนาน จะเก็บไว้เฉยๆ ก็ดูกระไร ก็เลยมีการปล่อยฟิล์มไปฉายยังโรงอื่นๆ อีก ได้ยินมาว่า ถ้าเป็นฟิล์มหนังจีนที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยนั้น ฟิล์มปล่อยขายจะราคาจะถูกกว่าฟิล์มทั่วไปครับ..


             จริงๆ แล้ว บทพากย์หนังกับซับไตเติ้ลภาษาไทยจะต้องตรงกันเพราะการทำซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มมีเนื้อที่จำกัดในการตอกตัวหนังสือ บางครั้งจึงต้องพยายามรวบคำให้สั้นๆ จึงดูห้วนๆ เวลาอ่าน แต่ถ้าเป็นสำเนียงลีลาการพากย์หนังแล้ว นักพากย์เขาจะดูปากของดาราแล้วใส่เสียงพากย์ลงไปให้พอเหมาะ หากจะเล่นมุขบ้างก็ได้ขึ้นของกับความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ นักพากย์อาชีพนั้นใครๆ ก็รู้ว่า มีกลเม็ดขนาดได้ เขาจะพากย์สอดแทรกมุขต่างๆ ใส่เข้าไปตลอดเวลา ก็เลยทำให้ไอ้ตัวซับไตเติ้ลไทยนี่แหละเป็นตัวขวางความรู้สึกและอารมณ์ของคนดูหนังได้เหมือนกัน

             อย่างไรก็ตาม ที่พูดมานี้ มิใช่จะตำหนิว่า การมีซับไตเติ้ลเป็นสิ่งไม่ดีนะครับ แต่พูดเพื่อให้เห็นภาพเห็นความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องในสมัยนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถึง ณ วันนี้ การตอกซับไตเติ้ลยังมีการทำอยู่ แต่ใช้วิธีผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ผ่านเครื่องมืออย่างสมัยก่อน การตอกซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มสดๆ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การฉายหนังในประเทศไทยไปแล้วครับ


             เผอิญผมไปพบกากฟิล์มหนังจีนเรื่องหนึ่ง ฟิล์มสีเฟดๆ แดงๆ มี 5 ม้วนจบ แต่หนังก็ขาดไปบางส่วน บางช่วงฟิล์มก็บิดเบี้ยว เวลาฉายจะได้กลิ่นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชูโชยมาตลอดเวลา เจ้าของกากฟิล์มคือ สำนักงานศักดิ์ชาย สนั่นเมือง ราชบุรี ผมไปเจอเห็นคุณศักดิ์บอกว่า ฟิล์มชุดนี้ไม่ได้ฉายกลางแปลงแล้ว กำลังจะเอาไปทิ้ง พอผมรู้ว่า เป็นฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลไว้ ผมก็เลยขอเขามาทำภาพไว้ก่อนเพราะฟิล์มเก่าลักษณะนี้ หาได้ยากแล้วครับ ผมฉายจนจบเรื่องได้ความยาวมาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่วันนี้ตัดมาให้ดูสั้นๆ นะครับ..


คลิกดูได้เลยครับ..
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย



<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/WJGNkCzBjDQ?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
............

ดูภาพนิ่งจากฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยกันอีกนะครับ..


บทที่ 518
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 28 เมษายน 2557)



             สวัสดีครับทุกท่าน.. วันนี้ มาแปลกนิดหน่อยเพราะภาพที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่ใช่หนังไทย..แต่เป็นหนังจีนเก่าๆ ของบริษัทชอว์บราเดอร์.. บางท่านเห็นภาพจากฟิล์มก็จะนึกออกว่า เป็นหนังเรื่องอะไร ใครแสดง.. สำหรับผมแล้ว พอเห็นภาพจากฟิล์มหนังแบบนี้ก็จะนึกถึงโรงหนังใกล้ๆ บ้านสมัยเด็กๆ ที่อยู่จังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ โรงหนังกรุงชัยรามาหรือโรงหนังคาเธ่ย์เพราะจำได้ว่า หนังจีนชอว์บราเดอร์ที่มาเข้ามาฉายที่โรงหนังแห่งนี้นั้นมักจะต้องมีตัวหนังสือภาษาไทย (ซับไตเติ้ล) ให้เห็นอยู่บนจอแทบทุกเรื่องทั้งๆ ที่หนังเรื่องนั้นเขาก็มีนักพากย์อาชีพมาพากย์ให้ฟังอยู่แล้ว..


             หากลองมองย้อนกลับไป ในสมัยที่เป็นหนังไทยยังเป็นระบบ 16 มม. เขาก็จะมีการพากย์และวางแบ็กกราวน์หนังกันสดๆ อาจจะเป็นการพากย์คนเดียวที่เรียกว่า ชายจริงหญิงกะเทย (ชายจริงหญิงมีหนวด) หรือจะเป็นการพากย์คู่ชาย-หญิงก็ได้ หนังไทยเหล่านั้นจะมีการตอกซับไตเติ้ลแต่อย่างไร.. แต่ถ้าเป็นหนังต่างประเทศที่ถูกแปลงฟิล์มให้เป็นขนาด 16 มม. ก็จะมีเสียงพากย์ติดมาในฟิล์มด้วย เหล่านักพากย์ต่างๆ ก็จะใช้วิธีสต๊อบซาวด์หรือตัดเสียงหนังออก แล้วก็พากย์เสียงตัวเองทับลงไปแทน..และการทำเช่นนี้เองจึงเกิดเป็นตำนานการพากย์หนังขึ้นมา..มีนักพากย์เกิดขึ้นทั่วประเทส ส่วนจะเด่นจะดังหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและพรสวรรค์เฉพาะตัวครับ


             คนไทยในยุคนั้นจึงได้ดูหนังพากย์ไทยกันมาตลอด..ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือหนังต่างประเทศ ถ้าขืนโรงหนังหรือจอไหนปล่อยเสียงในฟิล์มเมื่อไร ก็ต้องม้วนเสื่อ..เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านอาจสงสัยว่า แล้วทำไมจึงเกิดกรณีมีการตอกซับไตเติ้ลลงบนเนื้อฟิล์มอย่างภาพที่ผมนำมาให้ดูด้วยล่ะครับ.. นั่นซิครับ เพราะกรรมวิธีการทำและการตอกซับไตเติ้ลงบนเนื้อฟิล์มนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เรียกว่า ยุ่งยากมากๆ แต่จะเล่าย่อๆ ให้ฟังนะครับ เขาจะริ่มต้นจากการแกะสลักตัวหนังสือภาษาไทยเป็นโลหะคล้ายการแกะตัวหนังสือสำหรับใช้ในโรงพิมพ์สมัยก่อนหรือแกะทำนามบัตร..จัดวางเรียงเป็นประโยคคำพูดตามบทพากย์หนังที่ส่งมาให้..ได้ตัวหนังสือมาก็จะต้องวัดเฟรมหนังด้วยว่า จะต้องตอกระหว่างฉากไหนถึงฉากไหน แล้วก็นำฟิล์มหนังเข้าเครื่องที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ กรอฟิล์มไป ตอกฟิล์มไปทีละเฟรม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดฉากและจบม้วน..กว่าจะเสร็จหนึ่งเรื่องก็เหนื่อยละครับ..เห็นแบบนี้แล้ว หลายท่านจะบอกว่า ใช้นักพากย์พากย์จะง่ายกว่า..จึงทำให้ระยะหลังๆ ไม่นิยมการตอกซับไตเติ้ล


             ว่ากันว่า หนังต่างประเทศที่ต้องตอกซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทยนั้น ก็เพื่อจะใช้ฉายยังโรงหนังที่ต้องการเปิดเสียงพากย์ในฟิล์มให้คนดูฟัง โรงนั้นจะไม่ฉายหนังพากย์ไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อหนังออกจากโรงไปแล้ว ฟิล์มก็ยังฉายได้อีกนาน จะเก็บไว้เฉยๆ ก็ดูกระไร ก็เลยมีการปล่อยฟิล์มไปฉายยังโรงอื่นๆ อีก ได้ยินมาว่า ถ้าเป็นฟิล์มหนังจีนที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยนั้น ฟิล์มปล่อยขายจะราคาจะถูกกว่าฟิล์มทั่วไปครับ..


             จริงๆ แล้ว บทพากย์หนังกับซับไตเติ้ลภาษาไทยจะต้องตรงกันเพราะการทำซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มมีเนื้อที่จำกัดในการตอกตัวหนังสือ บางครั้งจึงต้องพยายามรวบคำให้สั้นๆ จึงดูห้วนๆ เวลาอ่าน แต่ถ้าเป็นสำเนียงลีลาการพากย์หนังแล้ว นักพากย์เขาจะดูปากของดาราแล้วใส่เสียงพากย์ลงไปให้พอเหมาะ หากจะเล่นมุขบ้างก็ได้ขึ้นของกับความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ นักพากย์อาชีพนั้นใครๆ ก็รู้ว่า มีกลเม็ดขนาดได้ เขาจะพากย์สอดแทรกมุขต่างๆ ใส่เข้าไปตลอดเวลา ก็เลยทำให้ไอ้ตัวซับไตเติ้ลไทยนี่แหละเป็นตัวขวางความรู้สึกและอารมณ์ของคนดูหนังได้เหมือนกัน

             อย่างไรก็ตาม ที่พูดมานี้ มิใช่จะตำหนิว่า การมีซับไตเติ้ลเป็นสิ่งไม่ดีนะครับ แต่พูดเพื่อให้เห็นภาพเห็นความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องในสมัยนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถึง ณ วันนี้ การตอกซับไตเติ้ลยังมีการทำอยู่ แต่ใช้วิธีผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ผ่านเครื่องมืออย่างสมัยก่อน การตอกซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มสดๆ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การฉายหนังในประเทศไทยไปแล้วครับ


             เผอิญผมไปพบกากฟิล์มหนังจีนเรื่องหนึ่ง ฟิล์มสีเฟดๆ แดงๆ มี 5 ม้วนจบ แต่หนังก็ขาดไปบางส่วน บางช่วงฟิล์มก็บิดเบี้ยว เวลาฉายจะได้กลิ่นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชูโชยมาตลอดเวลา เจ้าของกากฟิล์มคือ สำนักงานศักดิ์ชาย สนั่นเมือง ราชบุรี ผมไปเจอเห็นคุณศักดิ์บอกว่า ฟิล์มชุดนี้ไม่ได้ฉายกลางแปลงแล้ว กำลังจะเอาไปทิ้ง พอผมรู้ว่า เป็นฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลไว้ ผมก็เลยขอเขามาทำภาพไว้ก่อนเพราะฟิล์มเก่าลักษณะนี้ หาได้ยากแล้วครับ ผมฉายจนจบเรื่องได้ความยาวมาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่วันนี้ตัดมาให้ดูสั้นๆ นะครับ..


คลิกดูได้เลยครับ..
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย



<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/WJGNkCzBjDQ?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
............

ดูภาพนิ่งจากฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยกันอีกนะครับ..


บทที่ 518
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอฉาย
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย
โดย มนัส กิ่งจันทร์

(facebook 28 เมษายน 2557)



             สวัสดีครับทุกท่าน.. วันนี้ มาแปลกนิดหน่อยเพราะภาพที่เกี่ยวข้องนั้น ไม่ใช่หนังไทย..แต่เป็นหนังจีนเก่าๆ ของบริษัทชอว์บราเดอร์.. บางท่านเห็นภาพจากฟิล์มก็จะนึกออกว่า เป็นหนังเรื่องอะไร ใครแสดง.. สำหรับผมแล้ว พอเห็นภาพจากฟิล์มหนังแบบนี้ก็จะนึกถึงโรงหนังใกล้ๆ บ้านสมัยเด็กๆ ที่อยู่จังหวัดสุรินทร์ นั่นคือ โรงหนังกรุงชัยรามาหรือโรงหนังคาเธ่ย์เพราะจำได้ว่า หนังจีนชอว์บราเดอร์ที่มาเข้ามาฉายที่โรงหนังแห่งนี้นั้นมักจะต้องมีตัวหนังสือภาษาไทย (ซับไตเติ้ล) ให้เห็นอยู่บนจอแทบทุกเรื่องทั้งๆ ที่หนังเรื่องนั้นเขาก็มีนักพากย์อาชีพมาพากย์ให้ฟังอยู่แล้ว..


             หากลองมองย้อนกลับไป ในสมัยที่เป็นหนังไทยยังเป็นระบบ 16 มม. เขาก็จะมีการพากย์และวางแบ็กกราวน์หนังกันสดๆ อาจจะเป็นการพากย์คนเดียวที่เรียกว่า ชายจริงหญิงกะเทย (ชายจริงหญิงมีหนวด) หรือจะเป็นการพากย์คู่ชาย-หญิงก็ได้ หนังไทยเหล่านั้นจะมีการตอกซับไตเติ้ลแต่อย่างไร.. แต่ถ้าเป็นหนังต่างประเทศที่ถูกแปลงฟิล์มให้เป็นขนาด 16 มม. ก็จะมีเสียงพากย์ติดมาในฟิล์มด้วย เหล่านักพากย์ต่างๆ ก็จะใช้วิธีสต๊อบซาวด์หรือตัดเสียงหนังออก แล้วก็พากย์เสียงตัวเองทับลงไปแทน..และการทำเช่นนี้เองจึงเกิดเป็นตำนานการพากย์หนังขึ้นมา..มีนักพากย์เกิดขึ้นทั่วประเทส ส่วนจะเด่นจะดังหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและพรสวรรค์เฉพาะตัวครับ


             คนไทยในยุคนั้นจึงได้ดูหนังพากย์ไทยกันมาตลอด..ไม่ว่าจะเป็นหนังไทยหรือหนังต่างประเทศ ถ้าขืนโรงหนังหรือจอไหนปล่อยเสียงในฟิล์มเมื่อไร ก็ต้องม้วนเสื่อ..เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว ท่านอาจสงสัยว่า แล้วทำไมจึงเกิดกรณีมีการตอกซับไตเติ้ลลงบนเนื้อฟิล์มอย่างภาพที่ผมนำมาให้ดูด้วยล่ะครับ.. นั่นซิครับ เพราะกรรมวิธีการทำและการตอกซับไตเติ้ลงบนเนื้อฟิล์มนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เรียกว่า ยุ่งยากมากๆ แต่จะเล่าย่อๆ ให้ฟังนะครับ เขาจะริ่มต้นจากการแกะสลักตัวหนังสือภาษาไทยเป็นโลหะคล้ายการแกะตัวหนังสือสำหรับใช้ในโรงพิมพ์สมัยก่อนหรือแกะทำนามบัตร..จัดวางเรียงเป็นประโยคคำพูดตามบทพากย์หนังที่ส่งมาให้..ได้ตัวหนังสือมาก็จะต้องวัดเฟรมหนังด้วยว่า จะต้องตอกระหว่างฉากไหนถึงฉากไหน แล้วก็นำฟิล์มหนังเข้าเครื่องที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ กรอฟิล์มไป ตอกฟิล์มไปทีละเฟรม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหมดฉากและจบม้วน..กว่าจะเสร็จหนึ่งเรื่องก็เหนื่อยละครับ..เห็นแบบนี้แล้ว หลายท่านจะบอกว่า ใช้นักพากย์พากย์จะง่ายกว่า..จึงทำให้ระยะหลังๆ ไม่นิยมการตอกซับไตเติ้ล


             ว่ากันว่า หนังต่างประเทศที่ต้องตอกซับไตเติ้ลเป็นภาษาไทยนั้น ก็เพื่อจะใช้ฉายยังโรงหนังที่ต้องการเปิดเสียงพากย์ในฟิล์มให้คนดูฟัง โรงนั้นจะไม่ฉายหนังพากย์ไทย อย่างไรก็ตาม เมื่อหนังออกจากโรงไปแล้ว ฟิล์มก็ยังฉายได้อีกนาน จะเก็บไว้เฉยๆ ก็ดูกระไร ก็เลยมีการปล่อยฟิล์มไปฉายยังโรงอื่นๆ อีก ได้ยินมาว่า ถ้าเป็นฟิล์มหนังจีนที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยนั้น ฟิล์มปล่อยขายจะราคาจะถูกกว่าฟิล์มทั่วไปครับ..


             จริงๆ แล้ว บทพากย์หนังกับซับไตเติ้ลภาษาไทยจะต้องตรงกันเพราะการทำซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มมีเนื้อที่จำกัดในการตอกตัวหนังสือ บางครั้งจึงต้องพยายามรวบคำให้สั้นๆ จึงดูห้วนๆ เวลาอ่าน แต่ถ้าเป็นสำเนียงลีลาการพากย์หนังแล้ว นักพากย์เขาจะดูปากของดาราแล้วใส่เสียงพากย์ลงไปให้พอเหมาะ หากจะเล่นมุขบ้างก็ได้ขึ้นของกับความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ นักพากย์อาชีพนั้นใครๆ ก็รู้ว่า มีกลเม็ดขนาดได้ เขาจะพากย์สอดแทรกมุขต่างๆ ใส่เข้าไปตลอดเวลา ก็เลยทำให้ไอ้ตัวซับไตเติ้ลไทยนี่แหละเป็นตัวขวางความรู้สึกและอารมณ์ของคนดูหนังได้เหมือนกัน

             อย่างไรก็ตาม ที่พูดมานี้ มิใช่จะตำหนิว่า การมีซับไตเติ้ลเป็นสิ่งไม่ดีนะครับ แต่พูดเพื่อให้เห็นภาพเห็นความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องในสมัยนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ถึง ณ วันนี้ การตอกซับไตเติ้ลยังมีการทำอยู่ แต่ใช้วิธีผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่ผ่านเครื่องมืออย่างสมัยก่อน การตอกซับไตเติ้ลลงบนฟิล์มสดๆ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์การฉายหนังในประเทศไทยไปแล้วครับ


             เผอิญผมไปพบกากฟิล์มหนังจีนเรื่องหนึ่ง ฟิล์มสีเฟดๆ แดงๆ มี 5 ม้วนจบ แต่หนังก็ขาดไปบางส่วน บางช่วงฟิล์มก็บิดเบี้ยว เวลาฉายจะได้กลิ่นเปรี้ยวเหมือนน้ำส้มสายชูโชยมาตลอดเวลา เจ้าของกากฟิล์มคือ สำนักงานศักดิ์ชาย สนั่นเมือง ราชบุรี ผมไปเจอเห็นคุณศักดิ์บอกว่า ฟิล์มชุดนี้ไม่ได้ฉายกลางแปลงแล้ว กำลังจะเอาไปทิ้ง พอผมรู้ว่า เป็นฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลไว้ ผมก็เลยขอเขามาทำภาพไว้ก่อนเพราะฟิล์มเก่าลักษณะนี้ หาได้ยากแล้วครับ ผมฉายจนจบเรื่องได้ความยาวมาประมาณ 1 ชั่วโมง แต่วันนี้ตัดมาให้ดูสั้นๆ นะครับ..


คลิกดูได้เลยครับ..
ตัวอย่าง การตอกซับไตเติ้ลบนฟิล์มหนังจีนที่ฉายในเมืองไทย



<iframe width="560" height="315" src="//www.youtube.com/embed/WJGNkCzBjDQ?fs=1&start=" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
............

ดูภาพนิ่งจากฟิล์มที่มีการตอกซับไตเติ้ลภาษาไทยกันอีกนะครับ..



            ครับ..  นี่ถ้าเขาไม่บอกว่า กำลังจะทิ้งฟิล์มเพราะเป็นสีแดงๆ มีกลิ่นเปรี้ยวแล้ว ผมคงไม่ขอเขามาทำภาพไว้ก่อนหรอกครับ เฉพาะคิวหนังไทยก็แน่นเอี๊ยดแล้วครับ แต่นีเห็นว่า หนังที่ตอกซับไตเติ้ลก็เคยเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการดูหนังของคนไทย ก็เกรงว่า วันหน้าลูกหลานจะงงๆ กับคำพูดที่ว่า ตอกซับไตเติ้ล ก็เลยขอเขามาทำภาพเก็บไว้นะครับ..

            สำหรับหนังจีนเรื่องนี้นั้น ผมทำภาพไว้เพราะเห็นว่า ฟิล์มหนังที่มีการตอกซับไตเติ้ลแบบนี้ หาได้ยากแล้ว ก็เลยขอเขามา เขากำลังจะทิ้งครับเพราะฟิล์มมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวแล้ว ตอนนี้ยังเหลืออีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่ได้ฉาย สภาพคล้ายๆ กับเรื่องนี้แหละครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 พฤษภาคม 2014, 23:47:05 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ สถิตย์ บุตรน้อย

  • Thaicine Movie Team
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 1989
  • พลังใจที่มี 32
  • สถิตย์ บุตรน็อย
สมัยเป็นเด็กนะ......อ่านไป มองคนพากย์ไป..
สถืตย์ บุตรน้อย
ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
18/18 กม.18 ถนนบางนา-ตราด ต.บางโฉลง
อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ 10540 
089-9263878
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
บัญชีออมทรัพย์ สาขา ม.หัวเฉียว
เลขที่บัญชี 596-104-9754

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
สมัยเป็นเด็กนะ......อ่านไป มองคนพากย์ไป..


สมัยเด็กๆ เช่นกัน พอเห็นหนังจีนมีตัวหนังสือขี้นมาแบบนี้ ก็ชอบคิดว่า นักพากย์พากย์ไม่ตรงกับบท..
แต่ที่ไหนได้ พอมีโอกาสได้เห็นบทพากย์หนังบางเรื่อง ก็เห็นว่า บางครั้งก็ใช้ถ้อยคำไม่ตรงกับซับไตเติ้ลเหมือนกัน
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..

ออฟไลน์ นักพากย์ภูธรย้อนยุค

  • ThaiCineStaff
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • **
  • กระทู้: 1887
  • พลังใจที่มี 159
  • เพศ: ชาย
  • นักพากย์ย้อนยุค
    • Manoon Movie
  ภาพสวยกว่า....ในฟิล์มเสียอีก.....สุดยอดเลย....น่าจะฝีมือ....ตากล้อง  คุณประเดิม..ใช่ไหม.....ขอบคุณครับ.
มนูญ  สุภาพ 
364 หมู่ 13  ต. สวนกล้วย  ถนนหลังวัดดอนตูม
อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี  70110  โทร  089 - 7648423 อีเมล์ manoonmovie99[at]hotmail.com

:+: Manoon Movie | รักหนังย้อนยุค :+:
http://manoonmovie.com

ออฟไลน์ มนัส กิ่งจันทร์

  • มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต
  • Moderator
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ***
  • กระทู้: 2837
  • พลังใจที่มี 35
  • เพศ: ชาย
    • มนัส ชุมทางหนังไทยในอดีต
  ภาพสวยกว่า....ในฟิล์มเสียอีก.....สุดยอดเลย....น่าจะฝีมือ....ตากล้อง  คุณประเดิม..ใช่ไหม.....ขอบคุณครับ.

ใช่ครับ อาจารย์..
"มนัส กิ่งจันทร์ ภาคสอง ชุมทางหนังไทยในอดีต" โดยเติมคำว่า "ภาคสอง" คั่นกลางไว้..
อดีตจากฟิล์มภาพยนตร์ ไม่มีวันตาย..