ผู้เขียน หัวข้อ: ทำความรู้จัก Dolby Atmos มาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางใหม่ เพื่อการรับชมภาพยนตร์  (อ่าน 4009 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
ทำความรู้จัก Dolby Atmos
มาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางใหม่ เพื่อการรับชมภาพยนตร์
 

Dolby Atmos "Hear The Whole Picture"

       เทคโนโลยีความบันเทิงด้านภาพและเสียงในปัจจุบัน ก้าวสู่ยุคที่ข้ามขีดจำกัดเดิม สู่มาตรฐานใหม่ที่ตอบสนองความต้องการได้ดียิ่งขึ้นกว่าอดีต ในส่วนของภาพ เป็นที่แน่ชัดว่าเราจะได้สัมผัสกับรายละเอียดความคมชัดสูงระดับ 4K/UHD กันแน่นอน แล้วในส่วนของเสียงล่ะ คงไม่มีสิ่งใดเรียกความสนใจได้มากไปกว่าระบบเสียง “Dolby Atmos” !!

       การรับชมภาพยนตร์ “เสียง” มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าภาพ หากยกระดับประสิทธิภาพการถ่ายทอดเสียงของภาพยนตร์ได้ อรรถรสของการรับชมย่อมเพิ่มสูงขึ้น ในจุดนี้ ท่านที่ใช้งานซิสเต็มโฮมเธียเตอร์ล้วนมีเป้าหมายเพื่ออรรถรสจากการรับชมภาพยนตร์สูงสุด ซึ่งเป้าหมายนี้ก็ไม่ต่างจาก “พันธกิจ” ของ Dolby ที่ต้องการสร้างมาตรฐานการรับชมภาพยนตร์ด้วยระบบเสียงที่สมจริงกว่าเคย พิสูจน์ได้จากการมุ่งมั่นพัฒนามาตรฐานระบบเสียงใหม่ Dolby Atmos และเปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในต่างประเทศเมื่อเดือนเมษายน ปี 2012... สำหรับประเทศไทย ช่วงเวลา 1 – 2 ปีที่ผ่านมาหลายท่านน่าจะได้สัมผัสระบบเสียงใหม่นี้ในโรงภาพยนตร์กันบ้างแล้ว (1)  และขณะที่ท่านกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ระบบเสียง Dolby Atmos Home Theater พร้อมสำหรับใช้งานในบ้านพักอาศัยแล้วเช่นกัน เพื่อมิให้เสียเวลา เราจะมาทำความรู้จักกับ Dolby Atmos ว่าจะให้ประสบการณ์รับชมภาพยนตร์ที่ดีขึ้นอย่างไรบ้าง

Welcome To A New World Of Sound

       คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก Dolby กับบทบาทผู้กำหนดมาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางในโรงภาพยนตร์ที่เราๆ ท่านๆ รับชมกันอยู่ทุกวันนี้ ถึงแม้ในแวดวงโฮมเธียเตอร์ที่ผ่านมา รัศมีของ Dolby ถูกบดบังลงไปมาก เนื่องด้วยมาตรฐานการรับชมภาพยนตร์ในบ้านพักอาศัยผ่านระบบเสียง HD ที่บันทึกมากับฟอร์แม็ตบลูเรย์ มักจะเป็นระบบเสียงจากทางฝั่งของ DTS (Digital Theater Systems) เสียมาก (2)  แต่ถึงกระนั้นบทบาทของ Dolby ในแวดวงการผลิตภาพยนตร์ตั้งแต่ต้นน้ำ ในขั้นตอน Post Production ในสตูดิโอบันทึกเสียง ไปจนถึงปลายน้ำอย่างการนำเสนอมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์นั้น มิได้ลดลงเลย

 


       นับจากวันเปิดตัว Dolby Atmos ถูกคาดหวังให้เป็นมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ยุคใหม่ ที่จะส่งมอบประสบการณ์รับชมภาพยนตร์สมจริงยิ่งกว่าเคย จากประสิทธิภาพถ่ายทอดสนามเสียงรายล้อมที่จะปฏิวัติระบบเสียงในอดีตไปอย่างสิ้นเชิง… อะไรที่ทำให้ Dolby Atmos แตกต่างจากระบบเสียงเซอร์ราวด์ของโรงภาพยนตร์ทั่วไป? คำตอบคงต้องย้อนกลับไปดูมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ทั่วไปในปัจจุบันก่อนว่าเป็นเช่นไร
 
-- Dolby Atmos in The Cinema --

       เป็นที่ทราบกันว่า ระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ซับซ้อนแตกต่างจากระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้งานในบ้านพักอาศัยอยู่หลายประการ ที่เห็นได้ชัด คือ ขนาดสเกลของระบบที่ใหญ่กว่ามาก อย่างไรก็ดีในแง่การถ่ายทอดเสียงรอบทิศทางนั้น โรงภาพยนตร์และโฮมเธียเตอร์หาได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงไม่ โดยพื้นฐานยังคงอิงการถ่ายทอด “ช่องสัญญาณเสียง” ตามมาตรฐาน 5.1 หรือ 7.1 แชนเนล เหมือนกัน
 

       ระบบเสียงโรงภาพยนตร์ทั่วไปในปัจจุบัน ที่ยังไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นระบบ Dolby Atmos จะอิงมาตรฐานการถ่ายทอด "ช่องสัญญาณเสียง" แบบหยาบๆ ตามระบบ 7.1 (หรือ 5.1) ประกอบไปด้วยลำโพงคู่หน้า (L/R), เซ็นเตอร์ (C), ซับวูฟเฟอร์ (LFE), เซอร์ราวด์ (Lss/Rss) และเซอร์ราวด์แบ็ค (Lrs/Rrs) ดังนี้ถึงแม้จำนวนลำโพงในโรงภาพยนตร์จะมีมากกว่า แต่โดยพื้นฐานก็ไม่ต่างจากระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้ลำโพง 7.1 (หรือ 5.1 แชนเนล) [/center]

       ด้วยขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่กว่า ความท้าทายของระบบเสียงในโรงภาพยนตร์นั้นอยู่ที่ จะดำเนินการอย่างไรให้สามารถถ่ายทอดเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศทางจากช่องสัญญาณเสียงเพียง 5.1/7.1 แชนเนล ได้ครอบคลุมทุกพื้นที่รับชม (ที่มีมากมายนับร้อยที่นั่ง) เหตุนี้จำนวนลำโพงเซอร์ราวด์ด้านข้างและด้านหลังจำนวนมาก จึงถูกติดตั้งจัดวางเรียงรายต่อเนื่องโอบล้อมเป็นพื้นที่กว้าง เพื่อขยายขอบเขตสนามเสียงจากช่องสัญญาณเสียงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็คนี้ให้ครอบคลุมทุกตำแหน่งแถวที่นั่งนั่นเอง ลำโพงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็คที่ถูกเสริมเข้ามาเป็นจำนวนมากในโรงภาพยนตร์ จึงมิได้ให้ผลลัพธ์ในแง่แจกแจงรายละเอียดตำแหน่งทิศทางเสียงที่ชัดเจนมากกว่าระบบโฮมเธียเตอร์ที่ใช้งานลำโพงเซอร์ราวด์ และเซอร์ราวด์แบ็คเพียงอย่างละคู่

       จากรายละเอียดข้างต้น แม้จำนวนลำโพงในโรงภาพยนตร์จะมีมาก แต่ด้วยช่องสัญญาณเสียงที่จำกัดเพียง 5.1 หรือ 7.1 แชนเนล การจะถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์โอบล้อมรอบทิศทางอันละเอียดลออจากภาพยนตร์ ยังห่างไกลกับคำว่า “สมจริง” อยู่มากนัก และข้อจำกัดอีกประการของระบบ 5.1/7.1 เดิม คือ ลำโพงเซอร์ราวด์และเซอร์ราวด์แบ็ค ยังต้องทำหน้าที่ควบรวมการถ่ายทอดบรรยากาศด้านสูง (Upper Hemisphere) ด้วย (3)  นอกเหนือจากหน้าที่หลักคือสร้างสนามเสียงโอบล้อมด้านหลัง แต่ด้วยตำแหน่งลำโพงที่ไม่ได้อยู่เหนือศีรษะผู้ฟังตรงๆ ก็แน่นอนว่าผลลัพธ์การถ่ายทอดมิติด้านสูงของลำโพงเซอร์ราวด์ และลำโพงเซอร์ราวด์แบ็ค ยังไม่ลงตัวดีนัก ช่องว่างของการถ่ายทอดมิติเสียงด้านสูงนี้เอง จึงเป็น "โอกาส" ให้ Dolby สร้างสรรค์ระบบเสียงใหม่ขึ้นมา คือ Dolby Atmos!


อ้างอิง
(1) โรงภาพยนตร์ในประเทศไทยเริ่มให้บริการระบบเสียง Dolby Atmos มาได้สักระยะหนึ่ง แต่ยังจำกัดโรงฯ อยู่
(2) ที่คุ้นเคยกันดี คือ DTS-HD Master Audio ซึ่งจำนวนคอนเทนต์ในตลาดมีมากกว่า Dolby TrueHD อยู่หลายเท่าตัว
(3) นี่คือเหตุผลว่าทำไม Dolby จึงแนะนำให้ติดตั้งลำโพงเซอร์ราวด์ในระบบ 5.1/7.1 สูงกว่าระดับหูของผู้ฟัง



Overhead Sound

       ด้วยข้อจำกัดด้านการถ่ายทอดมิติเสียงด้านสูงของระบบ 5.1/7.1 เดิม ทาง Dolby จึงพัฒนาระบบ Atmos ขึ้น โดยเสริมลำโพงด้านสูง หรือ Top Surround Speakers ติดตั้งไว้ 2 แถว ฝั่งซ้ายซ้ายและขวาเหนือศีรษะ เพื่อทำหน้าที่เฉพาะการถ่ายเสียงเอฟเฟ็กต์ที่มาจากด้านบน

       หมายเหตุ: ที่ผ่านมา เคยมีระบบเสียงเสริมสำหรับโฮมเธียเตอร์ (Upmix Surround) ที่ (เสมือน) เพิ่มเติมลำโพงด้านสูงเข้ามา ซึ่งหลายท่านน่าจะเคยทดลองใช้งานกันมาบ้าง อาทิ Dolby Prologic IIz และ Audyssey DSX โดยทั้ง 2 ระบบ จะใช้การประมวลผลทางดิจิทัล (DSP - Digital Signal Processing) จำลองช่องสัญญาณเสียงสำหรับลำโพงด้านสูง (Front Height และอาจรวมถึง Front Wide สำหรับระบบ Audyssey DSX) เพิ่มเติมจากสัญญาณเสียงรอบทิศทางปกติ พูดไปแล้วก็เหมือนระบบฯ "มโน" ช่องสัญญาณเสียงด้านสูงขึ้นมาเอง หากเปรียบเทียบกับมาตรฐาน Dolby Atmos ที่มาจากกระบวนการมิกซ์เสียงในสตูดิโอแท้ๆ ก็เรียกได้ว่า Atmos เป็นหนังคนละม้วนเลยครับ 

Multidimensional Sound

       ถึงแม้จุดเด่นชัดของ Dolby Atmos คือ Top Surround ทว่ารากฐานสำคัญที่ทำให้ Dolby Atmos เป็นระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ที่มีศักยภาพสูง เหนือกว่ามาตรฐานอื่นใดในอดีต คือ “ความยืดหยุ่น” อันมีส่วนช่วยให้บริหารจัดการระบบเสียงรอบทิศทางในโรงภาพยนตร์ที่มีลำโพงมากมาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 


ศักยภาพของ Dolby Atmos ในโรงภาพยนตร์ รองรับจำนวนลำโพงสูงสุดถึง 64 แชนเนล ทั้งหมดทำหน้าที่อิสระ ทั้ง Screen Channel, Surround Channel และที่ขาดไม่ได้ คือ Top Surround Channel (เส้นประสีฟ้าในรูป) บวกกับลำโพงเสริมอื่นๆ อาทิ Left/Right Center (สีขียว), Side Surround (สีน้ำเงิน) และ Surround Subwoofer (สีม่วง)การเติมเต็มประสบการณ์รับฟังเสียงรอบทิศทางของ Atmos จึงสมบูรณ์แบบยื่งขึ้น


       หากเปรียบเทียบระบบเสียงในอดีตที่อาศัยเทคนิคตายตัวแบบ Channel-based Audio นอกจากจำนวนแชนเนลลำโพงมีจำกัดและไม่ยืดหยุ่นแล้ว ระบบ Dolby Atmos ที่อาศัยเทคนิคใหม่ที่เรียกว่า Object-based Audio สามารถแจกแจงทิศทางเสียงจากแชนเนลลำโพงที่มีมากกว่า ได้ละเอียดลออกว่าเดิมมาก (ดังรูปขวา)



สรุปข้อเปรียบเทียบ Dolby Atmos กับระบบเสียง 5.1/7.1 รูปแบบเก่า
ผลลัพธ์ในแง่ของคุณภาพเสียงที่ดีขึ้นเป็นผลจากระบบจัดการลำโพงที่ดีกว่าเดิม
[/i]

       จำนวนแชนเนลลำโพงในอดีตที่แบ่งได้หยาบๆ แค่ 5.1/7.1 แชนเนล การมาของ Dolby Atmos จึงปฏิวัติมาตรฐานระบบเสียงในโรงภาพยนตร์ด้วยจำนวนแชนเนลลำโพงรอบทิศทาง แยกหน้าที่อิสระถึง 64 แชนเนล

       การกำหนดหน้าที่ของแชนเนลลำโพงจำนวนมากที่ยืดหยุ่นไม่ตายตัวนี้ นอกจากการแจกแจงทิศทางเสียงได้ละเอียดลออขึ้นแล้ว ยังส่งผลให้การติดตั้ง ทั้งจำนวนและตำแหน่งหน้าที่ของลำโพงสามารถปรับเปลี่ยน ขยับขยายเพิ่มเติม หรือลดทอนให้สัมพันธ์กับขนาดของโรงภาพยนตร์ (ที่ไม่ตายตัว) ได้ง่าย อันจะเป็นผลดีอย่างมากสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงภาพยนตร์

       ประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม อาทิ โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ติดตั้งจอฉายขนาดความกว้างมากกว่า 12 ม. สามารถเพิ่มเติมลำโพง Left Center และ Right Center เพื่ออุดช่องโหว่จากระยะห่างระหว่างลำโพงหน้าซ้าย-ขวา และเซ็นเตอร์ ที่อาจห่างกันมากเกินไปได้ด้วย

       นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเติม Side Surround ที่ผนังด้านข้างส่วนหน้า ช่วงระหว่าง Screen Channels และ Surround Channels เพื่อช่วยให้การแพนเสียงจากด้านหน้าไปยังด้านหลังได้รับการเติมเต็ม เพิ่มความต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น หรือแม้แต่เสริมลำโพงซับวูฟเฟอร์ให้กับลำโพงเซอร์ราวด์ (Surround Subwoofer) จากเดิมที่ลำโพงซับวูฟเฟอร์จะติดตั้งไว้เพียงจุดเดียวที่ส่วนล่างของจอฉายเท่านั้น การเติมเต็มเสียงย่านความถี่ต่ำให้กับเสียงเอฟเฟ็กต์เซอร์ราวด์จึงสมจริงยิ่งขึ้น


       ในขณะที่หากเป็นการใช้งานในโรงภาพยนตร์ขนาดเล็ก หรือเป็นการใช้งานในบ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่จำกัด (จะกล่าวถึงต่อไป ช่วง Dolby Atmos at Home) ด้วยศักยภาพของ Dolby Atmos สามารถลดทอนจำนวนลำโพงลงได้ตามความเหมาะสม โดยที่ประสิทธิภาพการถ่ายทอดเสียงยังคงครบถ้วนทุกหน้าที่ อันเป็นผลจากการผสมผสานเทคนิค Object-oriented mixing layers ในขั้นตอนบันทึกเสียง เข้ากับกระบวนการเล่นกลับโดยอาศัยโปรเซสเซอร์ถอดรหัสและประมวลผลข้อมูลเสียงให้สัมพันธ์กับจำนวน และลักษณะการติดตั้งลำโพงในขณะนั้น

อะไรคือ Object-based Audio?


       กระบวนการสร้างสรรค์ระบบเสียงรอบทิศทางของ Dolby Atmos ที่มีศักยภาพสูง มีพื้นฐานเริ่มจากเทคนิคในขั้นตอนมิกซ์เสียงเอฟเฟ็กต์ภาพยนตร์แบบใหม่ ที่เรียกว่า Object-oriented mixing layers


       พัฒนาการทางเทคนโลยีที่ก้าวหน้า การบันทึกเสียงรอบทิศทางจึงได้รับการปฏิวัติด้วยระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์อันซับซ้อน ทว่าควบคุมดำเนินการได้อย่างง่ายดาย หลักการของ Object-base audio คือ เสียงเอฟเฟ็กต์ที่ใช้ประกอบในภาพยนตร์ อาทิ เสียงปืน เสียงสนทนา ฯลฯ ที่ถูกบันทึกเสียงแยกมานั้น จะถูกกำหนดให้เป็น "วัตถุ" (ดูรูปประกอบด้านล่าง Object แทนด้วยวงกลมสีเหลืองในภาพ รองรับการมิกซ์พร้อมๆ กันได้มากสุดถึง 128 objects)


       จากนั้นด้วยโปรแกรมมิกซ์เสียงของ Dolby สามารถปรับแต่งวัตถุเสียงเหล่านั้นได้อย่างอิสระ และประยุกต์เอฟเฟ็กต์ได้หลากหลาย อันรวมไปถึงการกำหนดทิศทางที่ดำเนินไปในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างยืดหยุ่น ซึ่งทิศทางที่กำหนดให้กับวัตถุเสียงเหล่านี้ เป็นแบบ "3 มิติ" กล่าวคือ นอกจากทิศทางในแนวระนาบแล้ว ยังรวมถึงการกำหนดระดับความสูงด้วย


       เมื่อกระบวนการมิกซ์เสร็จสิ้น ข้อมูลทางเสียงทั้งหมดจะถูกเข้ารหัสไปพร้อมกับคอนเทนต์ จากนั้นในขั้นตอนเล่นกลับ โปรเซสเซอร์ (เช่น CP850) จะทำการถอดรหัส และเรนเดอร์ประมวลผลข้อมูลเสียงไปยังลำโพง แต่ในระหว่างการประมวลผลนั้น ระบบฯ จะนำข้อมูลการติดตั้งอย่างจำนวนและลักษณะของลำโพงที่ใช้ ไปจนถึงการชดเชย Bass Management และสภาพอะคูสติกไปอ้างอิง เพื่อให้การถ่ายทอดสนามเสียงสัมพันธ์กับลำโพงที่ติดตั้งใช้งานในสภาพแวดล้อมขณะนั้น


       ศักยภาพที่ยืดหยุ่นจาก Object-oriented mixing layers นี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งลำโพงจำนวนมาก หรือบ้านพักอาศัยขนาดเล็ก จำนวนลำโพงน้อย จึงยังคงได้รับประสบการณ์จากระบบ Dolby Atmos อย่างเท่าเทียม


Object-based Audio หัวใจหลักของ Dolby Atmos โดยในกระบวนการมิกซ์จะอ้างอิงเสียงเอฟเฟ็กต์เหมือนเป็นวัตถุที่สามารถกำหนดทิศทางได้อิสระแบบ 3 มิติ ช่วยสร้างสรรค์การถ่ายทอดเสียงรอบทิศทางของภาพยนตร์[/b]ให้มีความสมจริง ใกล้เคียงอุดมคติยิ่งขึ้น



Dolby Atmos System Flow


Dolby Atmos Cinema Processor CP850อุปกรณ์สำคัญสำหรับโรงภาพยนตร์ระบบเสียง Dolby Atmos ที่มิได้มีหน้าที่เพียงแค่ถอดรหัสเสียง แต่ยังรวมถึงฟังก์ชั่นการปรับแต่งที่ยืดหยุ่น อาทิ การกำหนดหน้าที่ของลำโพงรอบทิศทางที่มีมากมาย สูงสุด 64 แชนเนล จำนวนนี้รวมถึง Top Surround และลำโพงเสริมอื่นๆ อีกทั้งยังสามารถปรับแต่งชดเชยเสียงของลำโพงแต่ละตัว เพื่อแก้ไขปัญหาทางอะคูสติก และกำหนดจุดตัดความถี่เสียง สำหรับ Bass Management ที่เที่ยงตรง เป็นต้น[/color]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2015, 01:05:03 โดย นายเค »


สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
        หลังจากสร้างความฮือฮาในโรงภาพยนตร์มาแล้วพักหนึ่ง ถึงเวลาที่ Dolby Atmos จะเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับการรับชมภาพยนตร์ในบ้านพักอาศัยกันบ้าง แน่นอนว่าหน้าที่นี้เป็นของ Dolby Atmos Home Theater

Dolby Atmos สำหรับโฮมเธียเตอร์ กับในโรงภาพยนตร์แตกต่างกันอย่างไร?

        โดยพื้นฐานทั้ง 2 ระบบไม่ต่างกัน เพราะเป็น Dolby Atmos เหมือนกัน ทว่าด้วยลักษณะพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน กล่าวคือ ห้องหับในบ้านพักอาศัยมีขนาดที่เล็กกว่าโรงภาพยนตร์มาก ดังนั้นขนาดของซิสเต็มที่ใช้ในบ้านจึงย่อมลงกว่ามาก และนั่นรวมถึงความต้องการจำนวนลำโพงที่ใช้ก็น้อยกว่าด้วย

        จำนวนลำโพงอิสระสำหรับ Dolby Atmos ในโรงภาพยนตร์ คือ 64 แชนเนล ในขณะที่จำนวนลำโพงสูงสุดสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ คือ 34 แชนเนล โฮมเธียเตอร์จึงมีจำนวนลำโพงน้อยกว่าเกือบเท่าตัว อย่างไรก็ดีตัวเลข 34 แชนเนลนี้ หลายท่านเห็นแล้วอาจจะถอดใจ เพราะห้องเล็กๆ จะยัดลำโพงเข้าไปได้อย่างไรตั้ง 34 ตัว นี่ยังไม่รวมถึงงบประมาณบานปลายจากค่าลำโพงอีก...

        ก็ขอเรียนให้ทราบตรงนี้ว่า ในการใช้งานจริง หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ลำโพงมากถึง 34 แชนเนล และด้วยความยืดหยุ่นของ Dolby Atmos ดังที่เรียนไปก่อนหน้านี้ สามารถลดทอนจำนวนลำโพงลงได้ตามความเหมาะสมครับ
 


เปรียบเทียบจำนวนลำโพงสูงสุดของ Dolby Atmos Home Theater คือ 34 แชนเนล (24 Floor + 10 Overhead) ในขณะที่ความต้องการต่ำสุด เพียง 8 แชนเนล (5.1.2) เท่านั้น บ่งบอกถึงความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี
 
        ทั้งนี้จำนวนลำโพงที่ต้องการต่ำสุดสำหรับ Dolby Atmos Home Theater เริ่มต้น 5.1.2 แชนเนล ก็สามารถสัมผัสระบบเสียงใหม่นี้ได้แล้ว ซึ่งจำนวนเพียงเท่านี้ไม่ต่างจากจำนวนลำโพงโฮมเธียเตอร์ 7.1 แชนเนล ที่ใช้งานกันในปัจจุบันเลย ความต่างมีเพียงตำแหน่งติดตั้งลำโพงบางจุดเท่านั้น

จะเข้าใจ Dolby Atmos Home Theater ต้องเข้าใจ Dolby Atmos Speaker Configurations ก่อน

        จำนวนลำโพงและลักษณะการติดตั้งตามมาตรฐาน หรือ Dolby Atmos Speaker Configurations จะใช้วิธิอ้างอิงตัวเลข 3 ชุด ประกอบไปด้วย ตัวเลขชุดหน้า คือ ลำโพงรอบทิศทางในแนวระนาบ ซึ่งติดตั้งบริเวณด้านหน้าและด้านหลังจุดนั่งฟัง ดังที่ทุกท่านคุ้นเคยกันดีกับการใช้งานลำโพงในระบบโฮมเธียเตอร์ที่ผ่านมา

ส่วนตัวเลขชุดที่ 2 คือ LFE Channel หรือจำนวนลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ใช้งานในระบบ เพราะเสียงย่านความถี่ต่ำลึกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อรับชมภาพยนตร์
และตัวเลขชุดสุดท้าย คือ จำนวนลำโพงที่ทำหน้าที่สร้างสนามเสียงที่มีทิศทางมาจากด้านบน หรือ Top Surround Speakers นั่นเอง

 




Speaker Configurations หรือจำนวนลำโพง และลักษณะการติดตั้ง
ตามมาตรฐานของ Dolby Atmos Home Theater

อยากสัมผัสระบบเสียง Dolby Atmos ที่บ้าน ต้องมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับ Dolby Atmos Home Theater ประกอบไปด้วย


1. A/V Receiver หรือ Pre Processor ที่มีภาคถอดรหัสเสียง Dolby Atmos
2. ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ พร้อม Top Surround Speakers (ลำโพงฝังฝ้า/ลำโพงแขวนฝ้า) หรือ Dolby Atmos Enabled Speakers
3. เครื่องเล่น เช่น Blu-ray Player สำหรับเล่น Dolby Atmos content




1. Dolby Atmos A/V Receiver/Processor

        หากโรงภาพยนตร์อาศัย CP850 Dolby Atmos Cinema Processor เป็นหัวใจหลักของการถ่ายทอดระบบเสียง Dolby Atmos ในบ้านพักอาศัยจะขาด Dolby Atmos A/V Receiver/Processor ไปมิได้ เพราะนอกจากต้องอาศัยภาคถอดรหัสเสียงพิเศษนี้แล้ว ระบบปรับตั้งลำโพงรอบทิศทางอันยืดหยุ่น ก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน


        สถานการณ์ล่าสุด 2 ผู้นำเข้า AVR แบรนด์หลักในประเทศไทยอย่าง Denon และ Onkyo เพิ่งเปิดตัว AVR รุ่นใหม่ที่พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Atmos แล้วในวันเดียวกัน (อ่านรายละเอียดคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง) ถือเป็นสัญญาณดี ที่บ่งบอกว่าคนไทยกำลังจะได้รับฟังระบบเสียงรอบทิศทางยุคใหม่นี้ที่บ้านกันแล้ว


        และยังมีอีกหลายผู้ผลิตที่กำลังทยอยผลิต Dolby Atmos AVR/Processor หลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งานกันตามขนาดของซิสเต็มและกำลังทรัพย์ ดังต่อไปนี้


2014 - 2015 Dolby Atmos A/V Receiver/Processor


        จากข้อมูล AVR ข้างต้น จะพบว่า ข้อได้เปรียบของรุ่นใหญ่ที่ชัดเจน คือ ความสามารถรองรับจำนวนลำโพงที่มากกว่า จึงให้ความยืดหยุ่นในเรื่องของการกำหนด Speaker Configurations ที่ครอบคลุมกว้างขวางกว่า เช่น AVR รุ่นเล็ก รองรับแค่ 5.1.2 จะสามารถใช้งานลำโพงรอบทิศทางในแนวระนาบหน้า-หลัง ได้แค่ 5 แชนเนล บวก Top Surround อีก 2 แชนเนล จึงเหมาะกับห้องหับเล็กๆ

        ในขณะที่ AVR รุ่นใหญ่ สามารถขยับขยายระบบลำโพงให้เป็น 5.1.4, 7.1.2, 7.1.4 และ 9.1.2 เพิ่มเติมได้ ซึ่งจะให้รายละเอียดทิศทางเสียงที่ละเอียดลออจากจำนวนลำโพงที่มากกว่า และรองรับพื้นที่ห้องฟังขนาดใหญ่กว่าได้



สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ นายเค

  • Thaicine Movie Team
  • PublicCoreTeam
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • ****
  • กระทู้: 3814
  • พลังใจที่มี 616
  • เพศ: ชาย
        หลังจากสร้างความฮือฮาในโรงภาพยนตร์มาแล้วพักหนึ่ง ถึงเวลาที่ Dolby Atmos จะเข้ามาสร้างประสบการณ์ใหม่สำหรับการรับชมภาพยนตร์ในบ้านพักอาศัยกันบ้าง แน่นอนว่าหน้าที่นี้เป็นของ Dolby Atmos Home Theater

Dolby Atmos สำหรับโฮมเธียเตอร์ กับในโรงภาพยนตร์แตกต่างกันอย่างไร?

        โดยพื้นฐานทั้ง 2 ระบบไม่ต่างกัน เพราะเป็น Dolby Atmos เหมือนกัน ทว่าด้วยลักษณะพื้นที่ใช้งานที่ต่างกัน กล่าวคือ ห้องหับในบ้านพักอาศัยมีขนาดที่เล็กกว่าโรงภาพยนตร์มาก ดังนั้นขนาดของซิสเต็มที่ใช้ในบ้านจึงย่อมลงกว่ามาก และนั่นรวมถึงความต้องการจำนวนลำโพงที่ใช้ก็น้อยกว่าด้วย

        จำนวนลำโพงอิสระสำหรับ Dolby Atmos ในโรงภาพยนตร์ คือ 64 แชนเนล ในขณะที่จำนวนลำโพงสูงสุดสำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ คือ 34 แชนเนล โฮมเธียเตอร์จึงมีจำนวนลำโพงน้อยกว่าเกือบเท่าตัว อย่างไรก็ดีตัวเลข 34 แชนเนลนี้ หลายท่านเห็นแล้วอาจจะถอดใจ เพราะห้องเล็กๆ จะยัดลำโพงเข้าไปได้อย่างไรตั้ง 34 ตัว นี่ยังไม่รวมถึงงบประมาณบานปลายจากค่าลำโพงอีก...

        ก็ขอเรียนให้ทราบตรงนี้ว่า ในการใช้งานจริง หากไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใช้ลำโพงมากถึง 34 แชนเนล และด้วยความยืดหยุ่นของ Dolby Atmos ดังที่เรียนไปก่อนหน้านี้ สามารถลดทอนจำนวนลำโพงลงได้ตามความเหมาะสมครับ
 


เปรียบเทียบจำนวนลำโพงสูงสุดของ Dolby Atmos Home Theater คือ 34 แชนเนล (24 Floor + 10 Overhead) ในขณะที่ความต้องการต่ำสุด เพียง 8 แชนเนล (5.1.2) เท่านั้น บ่งบอกถึงความยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี
 
        ทั้งนี้จำนวนลำโพงที่ต้องการต่ำสุดสำหรับ Dolby Atmos Home Theater เริ่มต้น 5.1.2 แชนเนล ก็สามารถสัมผัสระบบเสียงใหม่นี้ได้แล้ว ซึ่งจำนวนเพียงเท่านี้ไม่ต่างจากจำนวนลำโพงโฮมเธียเตอร์ 7.1 แชนเนล ที่ใช้งานกันในปัจจุบันเลย ความต่างมีเพียงตำแหน่งติดตั้งลำโพงบางจุดเท่านั้น

จะเข้าใจ Dolby Atmos Home Theater ต้องเข้าใจ Dolby Atmos Speaker Configurations ก่อน

        จำนวนลำโพงและลักษณะการติดตั้งตามมาตรฐาน หรือ Dolby Atmos Speaker Configurations จะใช้วิธิอ้างอิงตัวเลข 3 ชุด ประกอบไปด้วย ตัวเลขชุดหน้า คือ ลำโพงรอบทิศทางในแนวระนาบ ซึ่งติดตั้งบริเวณด้านหน้าและด้านหลังจุดนั่งฟัง ดังที่ทุกท่านคุ้นเคยกันดีกับการใช้งานลำโพงในระบบโฮมเธียเตอร์ที่ผ่านมา

ส่วนตัวเลขชุดที่ 2 คือ LFE Channel หรือจำนวนลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่ใช้งานในระบบ เพราะเสียงย่านความถี่ต่ำลึกเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อรับชมภาพยนตร์
และตัวเลขชุดสุดท้าย คือ จำนวนลำโพงที่ทำหน้าที่สร้างสนามเสียงที่มีทิศทางมาจากด้านบน หรือ Top Surround Speakers นั่นเอง

 




Speaker Configurations หรือจำนวนลำโพง และลักษณะการติดตั้ง
ตามมาตรฐานของ Dolby Atmos Home Theater

อยากสัมผัสระบบเสียง Dolby Atmos ที่บ้าน ต้องมีอะไรบ้าง?

อุปกรณ์ที่จำเป็น สำหรับ Dolby Atmos Home Theater ประกอบไปด้วย

1. A/V Receiver หรือ Pre Processor ที่มีภาคถอดรหัสเสียง Dolby Atmos
2. ชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ พร้อม Top Surround Speakers (ลำโพงฝังฝ้า/ลำโพงแขวนฝ้า) หรือ Dolby Atmos Enabled Speakers
3. เครื่องเล่น เช่น Blu-ray Player สำหรับเล่น Dolby Atmos content



1. Dolby Atmos A/V Receiver/Processor

        หากโรงภาพยนตร์อาศัย CP850 Dolby Atmos Cinema Processor เป็นหัวใจหลักของการถ่ายทอดระบบเสียง Dolby Atmos ในบ้านพักอาศัยจะขาด Dolby Atmos A/V Receiver/Processor ไปมิได้ เพราะนอกจากต้องอาศัยภาคถอดรหัสเสียงพิเศษนี้แล้ว ระบบปรับตั้งลำโพงรอบทิศทางอันยืดหยุ่น ก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน

        สถานการณ์ล่าสุด 2 ผู้นำเข้า AVR แบรนด์หลักในประเทศไทยอย่าง Denon และ Onkyo เพิ่งเปิดตัว AVR รุ่นใหม่ที่พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Atmos แล้วในวันเดียวกัน (อ่านรายละเอียดคลิกที่ลิงค์ด้านล่าง) ถือเป็นสัญญาณดี ที่บ่งบอกว่าคนไทยกำลังจะได้รับฟังระบบเสียงรอบทิศทางยุคใหม่นี้ที่บ้านกันแล้ว


        และยังมีอีกหลายผู้ผลิตที่กำลังทยอยผลิต Dolby Atmos AVR/Processor หลากหลายรุ่นให้เลือกใช้งานกันตามขนาดของซิสเต็มและกำลังทรัพย์ ดังต่อไปนี้

2014 - 2015 Dolby Atmos A/V Receiver/Processor


        จากข้อมูล AVR ข้างต้น จะพบว่า ข้อได้เปรียบของรุ่นใหญ่ที่ชัดเจน คือ ความสามารถรองรับจำนวนลำโพงที่มากกว่า จึงให้ความยืดหยุ่นในเรื่องของการกำหนด Speaker Configurations ที่ครอบคลุมกว้างขวางกว่า เช่น AVR รุ่นเล็ก รองรับแค่ 5.1.2 จะสามารถใช้งานลำโพงรอบทิศทางในแนวระนาบหน้า-หลัง ได้แค่ 5 แชนเนล บวก Top Surround อีก 2 แชนเนล จึงเหมาะกับห้องหับเล็กๆ

        ในขณะที่ AVR รุ่นใหญ่ สามารถขยับขยายระบบลำโพงให้เป็น 5.1.4, 7.1.2, 7.1.4 และ 9.1.2 เพิ่มเติมได้ ซึ่งจะให้รายละเอียดทิศทางเสียงที่ละเอียดลออจากจำนวนลำโพงที่มากกว่า และรองรับพื้นที่ห้องฟังขนาดใหญ่กว่าได้


2. Top Surround Speakers and Dolby Atmos Enabled Speakers

        จุดเด่นของ Dolby Atmos คือ การเพิ่มเติมสนามเสียงรายล้อม ควบรวมถึงมิติเสียงด้านสูงจาก Top Surround Speakers รับหน้าที่ถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์ที่มีทิศทางมาจากด้านบน ดังนั้นการจะได้รับประสบการณ์ระบบเสียงรอบทิศจาก Dolby Atmos ที่ดี ลำโพง Top Surround นี้ จึงมีความสำคัญมาก


        โดยหน้าที่การถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์ที่มีทิศทางมาจากด้านบน ตำแหน่งติดตั้งลำโพง Top Surround จึงควรอยู่เหนือศีรษะของผู้ฟัง ตามอุดมคติต้องอยู่บนฝ้าเพดาน จึงมักเป็นแบบฝังฝ้า (In-ceiling) หรือห้อยลำโพงลงมาโดยยึดกับฝ้า (Ceiling-mount) แต่เนื่องจากการติดตั้งลำโพงกับฝ้าเพดานนั้นมีวิธีดำเนินการค่อนข้างวุ่นวาย เพราะหลีกเลี่ยงการเจาะ คว้าน หรือเสริมโครงฝ้าเพดานไปไม่ได้ หากโครงสร้างฝ้าเพดานไม่แข็งแรง ยึดลำโพงได้ไม่มั่นคงจะหวังให้เสียงดีคงยาก แย่กว่านั้นหากดำเนินการติดตั้งผิดวิธีอาจถึงขั้นก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงหากลำโพงร่วงหล่นลงมา



ลำโพง Top Surround ตามอุดมคติ ควรติดตั้งบนฝ้าเพดานเหนือศีรษะผู้ฟัง(ดังรูปซ้าย)
แต่หากเห็นว่าการติดตั้งลำโพงบนฝ้าเป็นเรื่องลำบาก

สามารถใช้งาน Dolby Atmos Enabled Speakers แทนได้[/b]
(ดังรูปขวา)[/b] [/i]

        ทาง Dolby เข้าใจความยุ่งยากที่อาจประสบในขั้นตอนติดตั้งลำโพง Top Surround บนฝ้าเพดานดี จึงนำเสนอลำโพงทางเลือกใหม่ "Dolby Atmos Enabled Speakers" ที่สามารถทำหน้าที่ถ่ายทอดเสียงเอฟเฟ็กต์ด้านสูงโดยไม่จำเป็นต้องยกขึ้นไปติดตั้งไว้บนฝ้าเพดานแต่อย่างใด มี 2 ลักษณะ คือ Dolby Atmos “Integrated” (Built-in) Speakers และ Dolby Atmos “Add-on” Speakers


Dolby Atmos “Integrated” (Built-in) Speakers โดยลักษณะภายนอกคล้ายกับลำโพงโฮมเธียเตอร์ปกติที่เราๆ ท่านๆ เคยใช้งานกันมาก่อน มีทั้งแบบลำโพงตั้งพื้น และลำโพงวางหิ้ง


        โดยหน้าที่ของลำโพงลักษณะนี้จะยังทำหน้าที่ลำโพงหลักที่ให้เสียงรอบทิศทางในแนวระนาบเหมือนเดิม คือเป็นทั้งลำโพงหน้า (FL/FR) และลำโพงเซอร์ราวด์ (SL/SR/SBL/SBR) แต่จะพิเศษกว่าตรงที่ได้รับการเพิ่มเติม “ตัวขับเสียงอิสระอีกชุด ที่ด้านบนตู้ลำโพง” ตัวขับเสียงพิเศษนี้จะทำหน้าที่เสมือนเป็น Top Surround โดยใช้เทคนิคยิงเสียงขึ้นไปด้านบน และสะท้อนเพดานกลับลงมา รูปแบบนี้เหมาะกับผู้ที่กำลังมองหาลำโพงโฮมเธียเตอร์ชุดใหม่ที่พร้อมรองรับระบบเสียง Dolby Atmos โดยเฉพาะ


ตัวอย่าง Dolby Atmos Enabled Speakers รูปแบบที่เรียกว่า "Integrated" หรือ "Built-in" เช่น ลำโพงแบบตั้งพื้น SP-EFS73 และวางหิ้ง SP-EBS73-LR จาก Pioneer ออกแบบโดย Mr. Andrew Jones ความพิเศษอยู่ที่ Top-firing Concentric Driver ที่ติดตั้งอยู่ด้านบนตัวตู้ลำโพงเพื่อสร้างสนามเสียงด้านสูง นอกจากนี้ยังมี Onkyo อีกรุ่น คือ SKS-HT693 เป็นต้น

        Dolby Atmos “Add-on” Speakers ติดตั้งตัวขับเสียงมีทิศทางยิงเสียงขึ้นไปสะท้อนฝ้าเพดานเหมือนกับ Dolby Atmos Integrated Speakers แต่ต่างกันตรงที่ "Add-on" เป็นตู้ลำโพงแยกอิสระ ออกแบบมาให้ใช้งานร่วมกับชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์ทั่วไป จึงเหมาะสำหรับท่านที่มีชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์เดิมอยู่แล้วแต่ต้องการเพิ่มเติมลำโพงที่ทำหน้าที่เสริมสนามเสียงด้านสูงโดยเฉพาะ

 
ตัวอย่าง Dolby Atmos Enabled Speakers รูปแบบที่เรียกว่า "Add-on" เช่น KEF Reference R50 ด้วยลักษณะตู้ลำโพงขนาดกะทัดรัด สามารถนำไปวางซ้อนบนลำโพงคู่หน้า และ/หรือลำโพงเซอร์ราวด์ในชุดลำโพงโฮมเธียเตอร์เดิมได้ทันที นอกจากนี้ยังมีของ Atlantic Technology 44-DA, Definitive Technology A60, Onkyo SKH-410 ซึ่งมีระดับราคาย่อมเยากว่าให้เลือกใช้งานด้วย เป็นต้น


Home Theater in a Box (HTiB) แบบรวมเซ็ต AVR + Speakers 
ที่พร้อมรองรับ Dolby Atmos (5.1.2) ก็มีเช่นกัน อาทิ Onkyo HT-S7705/7700


3. Dolby Atmos Home Theater Content

        จะไม่มีประโยชน์อันใดเลย หากมีระบบเสียงเหนือล้ำ แต่ไม่มีภาพยนตร์ดีๆ ที่ดึงศักยภาพของระบบฯ ออกมาได้อย่างแท้จริง ซึ่งในช่วงที่เขียนบทความอยู่นี้ มีเพียงแผ่นบลูเรย์ Dolby Atmos Demonstration Disc เพียงไตเติลเดียวเท่านั้นที่มีระบบเสียงใหม่นี้ ซึ่งมักจะถูกใช้เป็นตัวอย่างในการเดโมร่วมกับซิสเต็ม Dolby Atmos Home Theater อย่างไรก็ดี อีกไม่เกินอึดใจ จะมีบลูเรย์ภาพยนตร์ที่บันทึกระบบเสียง Dolby Atmos ตามออกมาให้สัมผัสกันจริงๆ จังๆ เสียที
 
 
        ทั้งนี้หากอ้างอิงจำนวนภาพยนตร์ที่ออกฉายในโรงฯ ช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่ามีหลายเรื่องที่บันทึกเสียงมาในระบบ Dolby Atmos (ดูรายชื่อ >>คลิก<<) ตรงนี้พอจะยืนยันได้ว่า อนาคตเมื่อกลายมาเป็นฟอร์แม็ตบลูเรย์ เราจะได้สัมผัสประสบการณ์เสียงรอบทิศทางใหม่นี้ในบ้านพักอาศัยเช่นกัน และภาพยนตร์บลูเรย์ที่มาพร้อมระบบเสียง Dolby Atmos เรื่องแรก ที่ออกมาประเดิมก่อนใคร คือ Transformer Age of Extinction
 

การรับชมภาพยนตร์บลูเรย์ที่บันทึกระบบเสียง Dolby Atmos จำเป็นต้องเล่นกับบลูเรย์เพลเยอร์รุ่นใหม่เท่านั้นหรือไม่?

         การรับชมคอนเทนต์ Dolby Atmos Blu-ray เล่นได้กับบลูเรย์เพลเยอร์ทุกเครื่องที่สามารถ Bitstream Dolby TrueHD ทาง HDMI ได้ ซึ่งความสามารถนี้จะรวมถึงเพลเยอร์รุ่นเก่าที่วางตลาดก่อนหน้านี้สักหลายปี จึงไม่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องเล่นบลูเรย์ใหม่ สิ่งสำคัญคือ ผู้ใช้จะต้องมี AVR ที่มีภาคถอดรหัส Dolby Atmos 
 
 
หาก AVR ไม่มีภาคถอดรหัสเสียง Dolby Atmos จะเล่นกับแผ่นบลูเรย์ภาพยนตร์ที่บันทึกเสียง Dolby Atmos ได้หรือไม่?[/color][/glow] 
 
         ทาง Dolby ใช้วิธีการ "ฝัง" (Embed) ข้อมูลเสียงของ Dolby Atmos เพิ่มเติมเข้าไปในระบบเสียง Dolby TrueHD/Dolby Digital Plus พูดง่ายๆ ว่า Dolby Atmos ก็คือ Dolby TrueHD/Dolby Digital Plus ที่เพิ่มข้อมูลในส่วนของ Audio object เข้าไปนั่นเอง ถึงแม้ AVR จะไม่มีภาคถอดรหัส Dolby Atmos ก็จะนำข้อมูล Dolby TrueHD หรือ Dolby Digital Plus ไปถอดรหัสแทน จึงยังคงรับชมพร้อมกับเสียงรอบทิศทางได้ แต่จะขาดในส่วนรายละเอียดมิติเสียงที่เพิ่มเติมจาก Dolby Atmos ไป


Dolby Atmos ในฟอร์แม็ตอื่น นอกเหนือจากแผ่นบลูเรย์มีหรือไม่?

         นอกเหนือจากฟอร์แม็ตบลูเรย์ ทาง Dolby ได้วางมาตรฐานการเผยแพร่ระบบเสียงใหม่นี้ในวงกว้าง โดยจะควบรวมในส่วนของการออกอากาศผ่านเคเบิลทีวี/ดาวเทียม และการสตรีมมิ่งผ่านระบบอินเทอร์เน็ตด้วย ซึ่งน่าจะได้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ช้าก็เร็ว


ทุกสรรพเสียง กลายเป็น Dolby Atmos ได้ด้วย Dolby Atmos Upmixer!


         ในช่วงแรก Dolby Atmos Content อาจหายาก ทว่าก็ยังมีอีกทางเลือกในการรับฟังระบบเสียงใหม่นี้ ด้วยฟีเจอร์ Upmixer ซึ่งจะมาพร้อมกับ Dolby Atmos AVR/Processor ทุกเครื่อง โดยใช้ DSP ประมวลผลสร้างบรรยากาศรายล้อมเสมือน เพิ่มเติมมิติเสียงด้านสูงเข้ามา สามารถใช้งานได้กับทุกแหล่งโปรแกรมเสียง และไม่ว่าต้นฉบับจะเป็นระบบเสียงสเตริโอ หรือมัลติแชนเนล



 
References
- Dolby Laboratories. (2014). Dolby Atmos Next-Generation Audio for Cinema White Paper. from dolby.com
- Dolby Laboratories. (2014, September). Dolby Atmos for the Home Theater. from dolby.com
- Dolby Laboratories. (2014, September). Dolby Atmos Enabled Speaker Technology. from dolby.com
- Masaaki Fushiki. (2013, June 9th). Latest Trends of Digital Cinema Sound - What I See in the Steps of Digital Cinema Sound [ Special Report ]. Retrieved September 29th, 2014, from 5.1 Surround Terakoya Lab: http://51terakoya.blogspot.com/2013/06/special-reportlatest-trends-of-digital.html
- ทำความรู้จัก Dolby Atmos มาตรฐานระบบเสียงรอบทิศทางใหม่ เพื่อการรับชมภาพยนตร์ http://www.hdplayerthailand.com/
[/color]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2015, 02:10:42 โดย นายเค »
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120    E-Mail soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า   หมายเลขบัญชี  210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์  ออมทรัพย์ สาขา บางเขน   หมายเลขบัญชี  041-273435-0
ติดต่อ 0909040355

ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได

ออฟไลน์ วู้ดดี้ ไทยชีเน

  • Thaicine Movie Team
  • พี่น้อง thaicine Gold member
  • *
  • กระทู้: 795
  • พลังใจที่มี 54
  • เพศ: ชาย
 :yoyocici100: ชัดเจนครับท่านเค
วุฒิภัทร ฟิล์ม ภาพยนตร์ 78/ม12 ต.นาป่า. อ.เมือง จ.ชลบุรี Email : wuttipatsupa@hotmail.com Tel +213770961319