ยินดีต้อนรับคุณ,
บุคคลทั่วไป
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
1 ชั่วโมง
1 วัน
1 สัปดาห์
1 เดือน
ตลอดกาล
เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
ข่าวประกาศ:
ครั้งแรกของ มิตร ชัยบัญชา ตำนานพระเอกตลอดกาลบนจอ
Netflix
‘มนต์รักนักพากย์’
เตรียมออกเดินทางไล่ล่าหาความฝันไปกับรถเร่ขายยาคันนี้ได้ใน
มนต์รักนักพากย์ วันที่ 11 ตุลาคมนี้ พร้อมกันบน Netflix
กว่า 190 ประเทศทั่วโลก
•
กำกับโดย:
นนทรีย์ นิมิบุตร
•
นำแสดงโดย:
ศุกลวัฒน์ คณารศ (รับบท มานิตย์), หนึ่งธิดา โสภณ (รับบท เรืองแข), จิรายุ ละอองมณี (รับบท เก่า), สามารถ พยัคฆ์อรุณ (รับบท ลุงหมาน)
หน้าแรก
เว็บบอร์ด
ช่วยเหลือ
ปฏิทิน
เข้าสู่ระบบ
สมัครสมาชิก
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 677 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา)
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ลงล่าง
ผู้เขียน
หัวข้อ: บทที่ 677 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา) (อ่าน 559 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
นายเค
Thaicine Movie Team
Moderator
พี่น้อง thaicine Gold member
กระทู้: 3814
พลังใจที่มี 616
เพศ:
บทที่ 677 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา)
«
เมื่อ:
12 มิถุนายน 2015, 03:26:36 »
บทที่ 677
ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ
จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา)
โดย มนัส กิ่งจันทร์
(facebook 8 มิถุนายน 2558)
สวัสดีครับทุกท่าน.. สมัยที่
คุณโต๊ะ พันธมิตร
ยังตระเวนหาฟิล์มหนังตามต่างจังหวัด ก็มีเรื่องมาเล่าให้ผมฟังเรื่อยๆ บางครั้งหากเวลาว่างตรงกัน ผมก็จะติดรถไปช่วยหาฟิล์มหนังกับเขาด้วย.. มีอยู่ครั้งหนึ่งประมาณปี 2548 ที่คุณโต๊ะบอกว่า จะไปหาฟิล์มหนังแถวพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง ครั้งนั้นผมไม่ได้ไปด้วย พอคุณโต๊ะกลับมาก็โทรศัพท์มาหาผม บอกว่า ไม่ได้หนังมิตรสักเรื่องเลยเพราะแหล่งข่าวคลาดเคลื่อนตลอด คุณโต๊ะบอกผมแต่เพียงว่าได้ฟิล์มหนังเขมรเรื่อง
งูเก็งกอง ภาค 2
ที่ อรัญญา นามวงศ์ ร่วมแสดงมาด้วย ผมก็คิดในใจว่า ไม่ได้หนังมิตร แต่ได้หนังเขมรที่อรัญญาเล่นด้วยมาก็ดีแล้ว คุณโต๊ะบอกว่า ว่างเมื่อไร ค่อยมาเอาฟิล์มไปฉายนะ
จากก็ทราบว่า คุณโต๊ะลองฉายฟิล์มหนังที่ว่าเป็น
งูเก็งกอง ภาค 2
ดู แต่พอเห็นหนังเท่านั้น คุณโต๊ะก็ดีใจใหญ่เลยเพราะกระเป๋าหนังเขมรที่ว่านั้นข้างในกลับกลายเป็นหนังไทย แกรีบโทรบอกผมทันทีว่า ไม่ใช่หนังเขมร แต่เป็นหนังไทยที่อรัญญาเล่น.. ดูไปสักพักก็เห็น
มิตร ชัยบัญชา
ออกมา จึงรู้ว่าเป็นเรื่อง
จำปาทอง
ที่แกเคยดูตอนอยู่ภาคใต้นั่นเอง แกไม่พูดพร่ำทำเพลง รีบเอาฟิล์มม้วนที่ 3 มาฉายดูก่อน ดูไปจนจบม้วนแล้วจึงรู้ว่า จำปาทอง ที่ได้มานั้น ไม่จบเรื่อง หนังหายไปม้วนหนึ่ง อาการดีใจก็เปลี่ยนเป็นเศร้าใจนิดๆ แต่แกก็ยังให้ผมช่วยค้นหาเรื่องย่อหนังไว้ด้วยเพื่อจะดูว่าหนังขาดหายไปเยอะหรือไม่
จากนั้นเมื่อทำความสะอาดฟิล์มเสร็จสรรพ คุณโต๊ะก็นัดเอาฟิล์มหนังไปเทเลซีน
(แปลงสัญญาณลงเทปมาสเตอร์)
ซึ่งผมก็ตามไปดูด้วย วันนั้นผมติดเรื่องย่อ
จำปาทอง
จากหนังสือดาราไปด้วย เมื่อเริ่มฉาย เริ่มเทเลซีน ก็เช็คภาพและเรื่องย่อไปเรื่อยๆ ก็เห็นว่า ฉากที่ร้องเพลงขาดหายไปหลายเพลง แต่ฉากอื่นๆ ก็ได้ดูตามปกติ พวกเรานั่งดูจำปาทองแบบใบ้ๆ จนจบม้วนที่ 3 ซึ่งเป็นฉากที่มิตช่วยนางเอกจากนางไม้ให้กลายเป็นคนธรรมดาได้สำเร็จแล้วก็พานางเอกกลับไปกรุงเทพฯ เห็นแค่นี้ ผมก็ว่า หนังพอดูรู้เรื่องแล้ว น่าจะทำเป็นวีซีดีได้ แต่คุณโต๊ะก็ยังลังเลใจเพราะถ้าอ่านจากเรื่องย่อแล้ว หนังยังหายไปอีกเยอะเมื่อกัน แกก็บอกว่า พักเรื่องนี้ไว้ก่อนเผื่อว่า จะตามหาหนังม้วนที่ 4 ได้.. จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ยังหาไม่เจอ กระทั่งปัจจุบันคุณโต๊ะเลิกทำหนังมิตรขายแล้ว จำปาทอง ก็ยังคงเป็นนางไม้ที่ซ่อนตัวอยู่ในตลับเทปเช่นเดิม
จำปาทอง นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา-อรัญญา นามวงศ์-ฉัตร มงคลชัย-ขวัญจิต ศรีประจันต์-ผ่องศรี วรนุช-วาสนา ชลากร-อนุชา รัตนมาลย์-พูนสวัสดิ์ ธีมากร-สีเผือก-ศรีสุริยา เป็นหนัง 16 มม.พากย์สดๆ สร้างโดย พิษณุภาพยนตร์ โดยวิจารณ์ ภักดีวิจิตร เป็นผู้อำนวยการสร้างและกำกับการแสดง ฉายครั้งแรกวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2514 ที่โรงหนังคาเธ่ย์
ตัวละครหลักๆ ก็จะมี มิตร ชัยบัญชา แสดงเป็น “วีระเทพ” พระเอกของเรื่อง ส่วนนางเอกนั้นก็คือ อรัญญา นามวงศ์ แสดงเป็น “จำปาทอง” และตัวอิจฉาก็คือ วาสนา ชลากร แสดงเป็น “โสรยา” นอกนั้นก็เป็นตลกตามพระ-ตามนางและพ่อแม่พระเอก พ่อแม่ของตัวอิจฉา
หนังเริ่มเรื่อง เมื่อมิตรถูกคุณแม่ซึ่งเป็นคุณหญิงเจ้าของปางไม้ที่ร่ำรวยบังคับให้แต่งงานกับวาสนา ซึ่งแม่มิตรเข้าใจว่า เป็นลูกเศรษฐีเช่นกัน
(จริงๆ กำลังถังแตก)
.. แต่มิตรที่เป็นถึงนักเรียนนอก จบวิชาศิลปะวาดรูปมา ก็ไม่ยอม ก็หนีออกจากบ้าน ไปพักอยู่ที่ปางไม้ของคุณแม่ มิตรชอบวาดรูปวิวทิวทัศน์ต่างๆ ขณะวาดรูปอยู่นั้นก็ได้ยินเสียงผู้หญิงร้องเพลง
“จำปาทอง”
มิตรเกิดความสนใจ เข้าไปพูดคุยด้วยและทาบทามให้จำปาทองมาเป็นแบบในการวาดรูป
เมื่อมิตรหายตัวไป แม่ก็ไปบอกว่าที่ลูกสะใภ้ให้ช่วยตามหา ก็มาพบมิตรที่ปางไม้ มิตรก็รับปากส่งเดชไปว่าจะกลับไปแต่งงานด้วยเพราะไม่อยากให้แม่รู้ว่ามีจำปาทอง อยู่ใกล้ๆ เมื่อทุกคนกลับไปกรุงเทพฯ มิตรวาดภาพจำปาทอง แล้วต่อมาก็เกิดเป็นความรักซึ่งกันและกัน เมื่อมิตรสารภาพรักต่อจำปาทองแล้ว จำปาทองจึงเผยความจริงว่า ตนไม่ได้เป็นคน แต่เป็นนางไม้ที่สิงสถิตอยู่ในปางไม้พร้อมกับเล่าความหลังให้ฟังว่า ในชาติก่อนเมื่อประมาณ 200 ปีล่วงมาแล้ว มิตรก็คือ ขุนกล้าสงคราม นายทหารเอกแห่งกรุงศรีอยุธยาที่ต่อสู้กับทหารพม่าจนเสียชีวิตลง ณ ทุ่งแห่งนี้ ทำให้จำปาทองซึ่งเป็นคนรักต้องฆ่าตัวตายตาม วิญญาณของจำปาทองจึงเป็นนางไม้สิงสถิตรอวันที่คนรักจะกลับมาหา เมื่อเห็นมิตรกลับมาจึงเผยตนให้เห็นและดีใจที่มิตรยังคงรักตนไม่เปลี่ยนแปลง มิตรก็สัญญาว่า จะหาทางช่วยจำปาทองให้กลายเป็นคนให้ได้
ฝ่ายแม่มิตรก็ได้แต่รอ เมื่อไม่เห็นมิตรมาสักที ก็ให้ว่าที่ลูกสะใภ้ไปตามหาอีกครั้ง คราวนี้วาสนาก็ได้พบกับจำปาทองและรู้ว่ามิตรรักหลงรักจำปาทอง จึงไม่ยอมกลับกรุงเทพฯ วาสนาไม่รู้ว่า จำปาทองเป็นนางไม้ ก็เลยหาทางกลั่นแกล้งต่างๆ นานา แต่ตัวเองกลับเป็นฝ่ายโดยกระทำเสียเอง ครั้นเมื่อรู้ว่าจำปาทองเป็นผีนางไม้ ก็เลยไปจ้างหมอผีเอาของปลุกเสกเลขยันต์มาทำพิธีที่บ้านและที่ต้นไม้ซึ่งจำปาทองสิงสถิตอยู่ ก็ทำให้จำปาทองเข้าสิงต้นไม้ไม่ได้ ครั้นจะเข้ามาอยู่ในบ้านมิตรก็ไม่ได้อีกเพราะมียันต์ติดไว้ เมื่อมิตรรู้เรื่องก็ไปตามหาอาจารย์ของจำปาทอง มาช่วยแก้ไขได้ จำปาทองจึงได้กลายร่างเป็นคนธรรมดาสำเร็จ ส่วนวาสนาก็รีบหนีกลับกรุงเทพฯเพราะเจอพรรคพวกผีนางไม้ของจำปาทองกลั่นแกล้งจนทนไม่ได้
เล่าถึงมาแค่นี้ ฟิล์มหนังที่คุณโต๊ะได้มา ก็หมดลงตรงนี้แหละครับ.. ที่ผมบอกว่า เนื้อหาค่อนข้างสมบูรณ์เพราะมิตรช่วยจำปาทองให้กลายเป็นคนได้แล้ว แต่ในเรื่องย่อยังไม่จบครับ..ยังมีต่ออีกว่า พอจำปาทองกลายเป็นคนแล้ว มิตรก็พาไปไหว้แม่ที่กรุงเทพฯ ฝ่ายวาสนาตัวอิจฉา ก็อิจฉาไม่เลิก ยิ่งรู้ว่าจำปาทองกลายเป็นคนแล้ว ก็ยิ่งหาทางกลั่นแกล้งอีก จำปาทองก็ได้แต่ทนๆๆ ตามธรรมเนียมนางเอกหนังไทย จนสุดท้ายวาสนาก็พาคนรักตัวจริงมาฉุดจำปาทองไปเพื่อเรียกค่าไถ่ มิตรก็เลยตามไปช่วยและเกิดต่อสู้กัน แล้วกรรมใดใครก่อ ก็ต้องได้รับกรรม ทั้งแม่ของวาสนาและตัววาสนาพร้อมด้วยคนรักต่างก็จบชีวิตลงในการต่อสู้กัน ส่วนมิตรและจำปาทองก็ได้แต่งงานกัน อวสาน..
คลิกดู..
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.353750254714614.84716.306170839472556&type=3&hc_location=ufi
---------------------------------------------
ตอนนี้ ฟิล์มหนังเรื่องนี้ถูกปล่อยไปที่อื่นแล้ว คงเหลือแต่ไฟล์หนังที่ทำไว้เท่านั้น ไม่มีเสียงพากย์ ความที่เพลงในหนังก็เหลือไม่กี่เพลง บทพากย์ก็ยังไม่ได้แกะ ก็เลยทำอะไรจากหนังไม่ได้ ก็มีแต่วันที่พวกเรานัดกันไปดู มนต์รักมิตร ชัยบัญชา นั่นแหละครับที่ผมนำส่วนหนึ่งของหนังเรื่องนี้ไปฉายประกอบเพลง จำปาทอง นะครับ
..
Regis Madec
ขอบคุณครับคุณ มนัส กิ่งจันทร์ ชุมทางหนังไทยในอดีต ที่ได้เขียนเกี่ยวกับ จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา)ครับ. อีกหนังหนึ่งเรื่องที่เหลือกับมิตรครับ. ฟิล์ม งูเก็งกอง ภาค 2 ยังอยู่ครับแต่dvdยังไม่เคยออกครับ.
ครับ ก็เขียนๆ ไปเพื่อไม่ให้ถูกลืม.. หนังบางเรื่องไม่เหลืออะไรไว้ให้ดูเลย คนก็เริ่มลืมๆๆ แต่หนังเรื่องเหลือฟิล์มบ้าง แต่พอไม่มีใครทำออกมาให้เผยแพร่ สักพักก็ลืมๆ กันอีกแหละครับ..
ขอบคุณครับ
คุณ Thammalak Intharadet
สำหรับแผ่นโชว์การ์ด จำปาทอง.. แผ่นแบบนี้สมัยเด็กๆ แถวบ้านจะนิยมเรียกว่า "โปรแกรมหนัง" เวลาเราไปยืนดูที่โรงหนังเขาติดแผ่นนี้ไว้ในตู้กระจกหรือบอร์ดไม้อัด ก็จะเรียกว่า ไปดูโปรแกรมหนัง.. จำปาทอง นั้นเกือบต้องเรียกว่า เป็นหนังสูญพันธุ์ไปอีกเรื่องหนึ่งเพราะเท่าๆ ที่ตามหามา ก็ไม่เคยมีข่าวคราวอะไรว่า จะมีฟิล์มเหลืออยู่แล้ว นี่ ถ้าคุณโต๊ะไม่ตัดสินใจเอากระเป๋าฟิล์มที่ข้างๆ กระเป๋าเขียนว่า งูเก็งกอง 2 กลับมา... ก็จะไม่มีใครได้เห็น
จำปาทอง
อีกเลยเพราะจำปาทอง ดันไปซ่อนอยู่ในกระเป๋างูเก็งกอง (อันที่จริง จำปาทอง ก็เป็นผีนางไม้ ต้องซ่อนอยู่ในต้นไม้นะครับ)..
แต่นั่นแหละ แม้จะได้
จำปาทอง
กลับมา แต่จนวันนี้ ก็ไม่มีใครชุบชีวิต จำปาทอง ให้มีเสียงพูด เสียงพากย์ได้เลย.. แรกๆ ก็คิดว่า งานมิตรปีนี้ เราจะได้เห็น จำปาทอง กลับมาฉายอีกเพราะแรกๆ ก็ตั้งไว้ใจเช่นนั้น แต่เหตุการณ์ก็พลิกผัน ทุกอย่างจึงหยุดนิ่ง..จำปาทอง ก็ยังคงเป็นผีนางไม้ สิงอยู่ในต้นไม้ต่อไป ลืมบอกไปว่า ภาพที่เห็นๆ ตามแผ่นโชว์การ์ดที่คุณThammalak Intharadet นำมาฝากนั้น ยังมีอยู่ในฟิล์มที่ฉายๆ นะครับ..
Araya Pamonprawat
ความจริง เท่าที่เล่ามาก็น่าสนุกพอแล้วนะคะ น่าจะเอามาฉายพากย์สดในงานมิตร หรืออะไรบ้าง จะเรียกว่าจำปาทองภาคแรก หรือภาคที่ 1 ก็น่าจะได้ โดยส่วนตัวคิดว่าเนื้อหาหลังจากเป็นคนแล้วไม่น่าสนใจเลย ทำให้หนังเสียโรแมนติกปล่าวๆ แค่ช่วยให้เป็นคนแล้วจบก็น่าซึ้งใจ สมบูรณ์ในตัวพอแล้ว
ใช่ครับ
คุณ Araya Pamonprawat
ผมนั่งดูหนัง
จำปาทอง
จนจบฟิล์มที่ได้มา 3 ม้วน ก็ยังบอกคุณโต๊ะเลยว่า ยาวตั้ง 1.30 ชม.และนางไม้จำปาทอง ก็กลายเป็นคน มิตรก็พาไปไหว้แม่แล้ว ก็จบได้แล้ว ไม่ต้องรอคนมาแกล้งผี แล้วรอให้ผีมาช่วยนางเอกอีกหรอก..ทำขายได้แล้ว แต่ตอนนั้นเกี่ยงกันว่า ใครจะแกะบทพากย์.. แล้วเผอิญมีหนังเรื่องอื่นๆ ต้องทำอีก ก็เลยไม่ได้สนใจเรื่องนี้.. มาปีนี้ ตอนแรกก็คิดว่า จะเอา จำปาทอง มาฉายงานรำลึกมิตร ชัยบัญชา แต่ก็มีเหตุให้ต้องยุติไว้ก่อนครับ..
ภาพที่
คุณThammalak Intharadet
นำมาลงให้ดูนี้ ยังมีอยู่เหลืออยู่ในฟิล์มครับ แต่ว่าหนังค่อนข้างโดดมาก จะเริ่มจาก อรัญญา เล่าให้มิตรฟังว่า เมื่อชาติก่อน มิตรเคยเป็นทหาร จากนั้นภาพในอดีตก็หวนคืนกลับมา มีฉากมิตรรบกับพม่าและถูกจับตัวได้..แล้วมิตรก็ถูกประหารชีวิตที่สนามรบ..เมื่อมิตรในชาติภพใหม่รู้ดั่งนั้น จึงหาทางช่วยนางเอก... หนังเก่าๆ หากมีเรื่องเล่า เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาบอกกล่าวเล่าเสริม ก็ทำให้ความสนใจจะดูหนังเพิ่มมากขึ้นนะครับ.. เรื่องนี้ก็เช่นกัน คิดว่าสักวันหนึ่งจะได้ดูกัน..หากดูแบบมีเสียงไม่ได้ ก็ดูแบบใบ้ ดูไป เล่าเรื่องไปก็ไดครับ..
Ingkasak Gathom
วันที่ 6 เนื่องจากถ่ายกลางแดดทั้งวัน
พอค่ำๆ คุณมิตรก็มาถ่ายทำ อินทรีทอง
ในโรงถ่ายที่กรุงเทพ.. พอเดินทางมาถึงก็ขอ
อาบน้ำให้สบายตัวหน่อย อาบเสร็จก็นุ่งผ้าขาวม้า
ออกมายืนเช็ดตัวท่ามกลางบรรดาทีมงาน
ที่กำลังเซ็ทฉากกันอยู่ ... จะมีภาพหนึ่งที่ถ่าย
เบื้องหลังไว้ คุณมิตรยืนนุ่งผ้าขาวม้า มีผ้าเช็ดตัว
พาดไว้บนบ่า ในมือถือบท มีลูกน้องยืนอยู่รอบๆ
หากมองมาที่ขา จะเป็นรอยไหม้แดดดำเป็นรูปกางเกง
และรูปรองเท้า เพราะว่าพึ่งกลับมาจากถ่ายกลางแดด
ในเรื่อง จำปาทอง ทั้งวัน เพื่อให้หมดคิวฉากรบกับพม่า
Ingkasak Gathom
คืนวันที่ 6 ตุลาคม 2513
อาบน้ำอาบท่าเสร็จยังไม่ทันแแต่งตัว
ก็ลุยงานต่อทันที อันเป็นที่มาของ
ชื่อที่ผู้ร่วมงานในกองถ่ายหนัง
เรียกเป็นนิคเนมว่า " สุริยาบ้าเลือด. "
ผู้ชายสวมแว่นที่ยืนคุยงานอยู่กับคุณมิตร
ในภาพนี้คือ คุณสังเเวียน หาญบุญตรง
เป็นคนสำคัญที่ผมใช้เวลานานมากกว่า
จะได้พบได้คุยได้บันทึกเปิดใจกกันไว้
คุณมิตรเรียกท่านว่า พี่สังเวียน
และมอบหน้าที่สำคัญให้ กำกับบท
และท่านเป็นผู้เปิดความลับคับอก
ออกจากปากของท่านต่อหน้าภรรยา
ให้ผมและภรรยาของท่านได้ฟังเป็น
ครั้งแรกในชีวิตพร้อมๆกันว่า
"" ในกล้องถ่ายหนังไม่มีฟิล์ม ฟิล์มหมด "".
ข้อมูลเก่าที่พรรณาความไว้ว่า
คุณมิตรพักผ่อนไม่พอ
เวลาอ่านเจอทีไรทำให้ผมสะเทือนใจ
และเสียใจที่เหนื่อยหาข้อมูลแท้จริง
แทบตาย..ก็ยังไม่อาจเปลี่ยนความเชื่อ
เดิมๆๆๆๆ ที่ถูกพ่นออกมาหลอกลวง
บิดเเบือนสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ
เพื่อเอาตัวรอดของคนทำความผิด!!!!
หากผมมีคำถามว่า
" ผมถูกรถชนตาย เพราะว่าผมพักผ่อนไม่พอ "
ตอบผมด้วยว่าใครผิด???
ในภาพที่คุณมิตรนุ่งผ้าขาวม้านี้
มองไปที่คอจะพบสร้อยคอทองคำ
หนัก3บาท ห้อยหลวงพ่อทวดรุ่น1
ซึ่งในคืนวันที่7 คือคืนถัดมา
ไปถ่ายนางฟ้าชาตรี ในโรงถ่าย
เป็นฉากต่อยรุมกัน มีกอดรัดฟัดสู้กัน
ก็ห่วงว่าสร้อยจะขาด ก็ถอดออก
ฝากไว้กับลูกชายผู้กำกับฯ
พอฟ้าสว่างรีบกลับ เช้าวันที่ 8 ตุลาคม
ต้องไปพัทยา กองถ่ายอินทรีทอง รอคอยอยู่
ลืมขอพระคืน... อาจจะนึกได้ระหว่างทาง
เพราะว่าเป็นของติดกาย นึกได้ว่าลืมไว้กับใคร
แต่คิดว่ามีคิวถ่ายหนังต้องพบกันอยู่แล้ว
ซึ่ง...ก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น. เพราะว่าคุณมิตรยัง
ไม่ได้กลับมาอีกเลย.
แน่นอนว่าเมื่อผมได้นั่งอยู่ตรงหน้า
คุณตาสังเวียน หาญบุตรง
ผมได้ถามท่านตามรูปที่พวกเราได้
เห็นกันนี้ว่า ยังจำได้มั้ยครับว่ายืนคุยอะไรกัน?
ท่านตอบว่าไม่เคยลืมเชษฐ์ได้เลยแม้แต่วันเดัยว
ยังจำได้้ดี เราลำดับงานถ่ายคืนนี้กันว่าต้องทำอะไร
กันบ้าง ต้องเข้าใจก่อนว่าเชษฐ์เขาคิวทองนะ
ในสมองเขาสาระพัดเรื่อง เวลาของเขามีค่ากับ
ทุกฝ่าย ทุกคน มากๆ ดังนั้น อินทรีทอง ซึ่งเจ้าของหนัง
มอบให้เชษฐ์ กำกับฯเองอีกด้วย จึงเป็นไปไม่ได้
ที่เชษฐ์จะลงมาทำงานด้วยตัวเอง แค่รับแสดงหนัง
อย่างเดียวทั้งไทยทั้งจีน ก็บินเป็นนกแล้ว
เดี๋ยวไปเดี๋ยวกลับ นี่กำลังจะซื้ออพาทเม้นไว้
เขามีความสุขมากที่ฮ่องกง
ดังนั้นงานใน อินทรีทอง จึงถูกแจกจ่ายออกไป
ให้กับผู้ช่วยในแต่ละแผนก แบ่งกันรับผิดชอบ
อยากบอกว่ากองถ่ายอินทรีทอง พร้อมๆๆมากๆๆๆ
เรายกกองไปปักหลักที่พัทยา2วัน 7และ8 นี่ชาวบ้าน
รู้กันทั่ว เอาของมาขายกันยังกะงานวัด คนมาดูถ่าย
หนังเป็นร้อยๆ เรียกว่าโด่งดังตั้งแต่หนังยังถ่ายไม่เสร็จ
วันที่เชษฐ์ตกลงมา มันเกิดขึ้นต่อหน้าแฟนๆของเขา
นับร้อยๆๆ....
เคยมีนักสร้างหนังรุ่นใหม่ๆ
มานั่งคุยกับผมว่า อยากทำหนังไทย
หนังทุนสูงที่เกี่ยวกับคุณมิตร
ย้อนกลับไป10วันสุดท้ายก่อนตาย
แล้วส่งคนในยุคปัจจุบันเข้าไปขัดขวาง
ไม่ให้คุณมิตรโหนบัดไดฯ...ซึ่งก็น่าสนุกนะครับ
ลงมือทำงานให้คุณมิตรตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
จึงมีเรื่องให้คุยให้เล่าถึงอีกมากมายครับ
และแม้ว่าผมจะทุ่มเทอีกมากมายเพียงใด
ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของ มิตร ชัยบัญชา นั้น
ไม่ได้อยู่ที่งานของผมเลย...
แต่ปรากฏอยู่ในใจคนไทยที่
มีใจให้กับเขาแต่เพียงผู้เดียว
มาอย่างเนิ่นนานแล้ว..
งานของผมเป็นแค่กระจกเงาเท่านั้นเอง.
ขอย้ำตรงนี้นะครับว่า
คนรักมิตรอย่างแท้จริงนั้น
เขารักสุดใจ รักคนเดียว
รักจนหมดหัวใจทุกห้อง
ไม่เคยมีใครมาแทนที่ได้
เป็นแบบนั้นจริงๆครับ.
ถ้าเมื่อใดพี่เอ็มเล่าเรื่อง
มิตร..
ก็เล่ายาวแบบนี้แหละครับ..เรียกว่า คุยไม่รู้เบื่อ..
Ingkasak Gathom
ลงมือทำงานให้คุณมิตรตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา
จนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์
จึงมีเรื่องให้คุยให้เล่าถึงอีกมากมายครับ
และแม้ว่าผมจะทุ่มเทอีกมากมายเพียงใด
ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของ มิตร ชัยบัญชา นั้น
ไม่ได้อยู่ที่งานของผมเลย...
แต่ปรากฏอยู่ในใจคนไทยที่
มีใจให้กับเขาแต่เพียงผู้เดียว
มาอย่างเนิ่นนานแล้ว..
งานของผมเป็นแค่กระจกเงาเท่านั้นเอง.
ขอย้ำตรงนี้นะครับว่า
คนรักมิตรอย่างแท้จริงนั้น
เขารักสุดใจ รักคนเดียว
รักจนหมดหัวใจทุกห้อง
ไม่เคยมีใครมาแทนที่ได้
เป็นแบบนั้นจริงๆครับ.
คุณ Regis Madec
ถามว่า ตอนที่หนังเรื่อง จำปาทอง ออกฉายในปี 2514 หลังจากมิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตไปแล้วนั้น เป็นหนังดังหรือเปล่า.. ตอบตามความรู้สึกประสาเด็กๆ ตอนนั้นนะครับ.. พอมิตร ชัยบัญชา ตายใหม่ๆ ก็เห็นโรงหนังเขาหาหนังมิตร ชัยบัญชา กลับมาฉายกันอีก ใครที่ยังพอมีฟิล์มหนังมิตรอยู่ในมือ เขาก็นำมาฉายเพื่อเป็นการรำลึกถึงกัน..แต่หนังที่ชาวบ้านตั้งหน้าตั้งตารอจะมีอยู่ 2 เรื่องนั่นคือ อินทรีทอง กับ มนต์รักลูกทุ่ง โดยเฉพาะมนต์รักลูกทุ่งนั้น มีเสียงเล่าลือมาจากจังหวัดอื่นๆ ว่าเป็นหนังดีหนังสนุก กว่าฟิล์มจะเดินทางไปถึงจังหวัดอื่นๆ ก็รอกันนานเพราะสมัยนั้นจะพิมพ์ฟิล์มไม่ค่อยมาก..ประกอบช่วงนั้น โรงหนังเขาเริ่มจะเปลี่ยนการฉายจากหนัง 16 มม.พากย์สดๆ เป็นหนัง 35 มม.เสียงในฟิล์มแล้ว
(บางที่ยังเป็น 16 มม. สโคป)
ซึ่งก็รองรับแต่หนังมีเสียงในฟิล์มอย่าง อินทรีทองหรือมนต์รักลูกทุ่ง..กระแสความต้องการดู อินทรีทอง กับ มนต์รักลูกทุ่ง ก็กลบกระแสหนังมิตรที่สร้างตกค้างไว้เหมือนกันครับ..
«
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มิถุนายน 2015, 01:09:27 โดย มนัส กิ่งจันทร์
»
บันทึกการเข้า
สรพงษ์ ลิ้มทองคำ
5 หมู่ 7 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม ราชบุรี 70120 E-Mail
soraphol@hotmail.com
ธ.กรุงเทพ ออมทรัพย์ สาขา อาคารยาคูลท์ สนามเป้า หมายเลขบัญชี 210-036236-3
ธ.ไทยพาณิชย์ ออมทรัพย์ สาขา บางเขน หมายเลขบัญชี 041-273435-0
ติดต่อ 0909040355
ชมรมรักหนังกางแปลง โพธาราม ราชบุรี เรามาคุยกันได
พิมพ์
หน้า: [
1
]
ขึ้นบน
« หน้าที่แล้ว
ต่อไป »
เวบบอร์ดสำหรับผู้ชื่นชอบระบบการฉายภาพเคลื่อนไหว
»
ภาพยนตร์ของเรา...การฉายภาพด้วยแผ่นฟิล์ม
»
ชุมทางหนังไทยในอดีต โดย มนัส กิ่งจันทร์
(ผู้ดูแล:
นายเค
,
ฉัตรชัยฟิล์มshop
,
มนัส กิ่งจันทร์
) »
บทที่ 677 ชุมทางหนังไทยในอดีต เสนอ จำปาทอง (2514 มิตร-อรัญญา)